
ประธานชมรมวิจัยโหราศาสตร์ประยุกต์
ลงใน "พยากรณ์สาร" ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 มีนาคม 2528 หน้า 63-67
หมายเหตุ
- ประธานชมรมวิจัยโหราศาสตร์ประยุกต์ นั้นคือ มานิตย์ ธีระเวชชกุล หรือที่ภายหลังใช้ว่า ธีระเวชชโรกุล โปรดดูประวัติผู้เขียนจากบทความเรื่อง คำไว้อาลัยของสมาคมโหรฯ ต่อการเสียชีวิตของ อาจารย์ มานิตย์ ธีระเวชชโรกุล และ อาจารย์ มานิตย์ ที่ผมรู้จัก
- สมผุสดาวและราศีที่ปรากฏในบทความเป็นสมผุสและราศีในระบบนิรายนะตัดอยนางศแบบลาหิรี
- ขออภัยหากข้อมูลในภาพที่สแกนไว้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
Webmaster@rojn-info.com
ผู้เขียนต้องขออภัยในความสับสนของคำจำกัดความตอนท้ายของบทความในฉบับที่แล้วที่กล่าวว่า "ดวงทินวรรตของทุก 19 ปี จะมีตำแหน่งของดวงจันทร์เดิมในดวงชะตาอย่างสนิท มีระยะห่างจากดวงเดิมไม่เกิน 1 องศา ซึ่งหมายความว่า ดวงจันทร์จะมีการโคจรมาอยู่ที่ตำแหน่งเดิมห่างกันไม่เกิน 1 องศาในทุก 19 ปี ในขณะที่ดวงอาทิตย์ทินวรรตมาทับตำแหน่งของดวงอาทิตย์เดิมในปีที่ 19" นั้น ขอแก้เป็นจุดอมวสีและปูรณมีของดวงจันทร์จะโคจรมาซ้ำที่เดิมทุก 19 ปี หมายความว่า จุดอมาวสีและปูรณมีของดวงจันทร์ในปีที่ 20 จะห่างจากตำแหน่งเดิมในระยะวังกะไม่เกิน 1 องศา จึงสัมพันธ์กับรอบการโคจรของดาวหางฮัลเล่ย์โดยตรง ดังนั้นการผูกดวงทินวรรต (โซล่าร์รีเทอน) ขึ้นมาทุกๆ 19 ปีจึงเป็นวิธีการที่แยบคายวิธีหนึ่งที่จะนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาแนวโน้มหรือวิถีชีวิตของบุคคล เพราะจะแบ่งวิถีชีวิตออกเป็นช่วงๆ ช่วงละ 19 ปี คล้ายกับการพิจารณาตรีวัย ข้อมูลที่นำมาแสดงในหน้าต่อไปจะเป็นตัวอย่างสำหรับการศึกษาในขั้นต่อไป
จากดวงพระราชสมภพและดวงทินวรรตอีก 3 ดวงจะเห็นว่าเมื่อเรากำหนดให้พิกัดของดวงอาทิตย์คงที่ๆจุดๆหนึ่ง คือ เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาทับตำแหน่งของอาทิตย์กำเนิด (อาทิตย์ทินวรรต) ของทุก 19 ปี จะปรากฏว่าปัจจัยอื่นๆ แต่ละปัจจัยจะมีการเคลื่อนที่ห่างจากพื้นดวงเดิมในอัตราส่วนที่เคลื่อนที่เดินหน้าหรือถอยหลังอย่างมีระบบ และสม่ำเสมอกัน (จึงเป็นข้อสังเกตที่จะเป็นการแสดงเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลออกมาได้อย่างเด่นชัด และจะสามารถนำมาสร้างเป็นสถิติอนเป็นวงจรชีวิตบนพื้นฐานของดาวจร (ทรานซิส) ได้อย่างละเอียด ความคับขันของชีวิตจะแสดงออกมาในรูปของมุมสัมพันธ์ของปัจจัยในแต่ละช่วงอายุนั้นๆ ถ้ายังไม่เพียงพอก็สามารถนำมาขยายหรือซอยออก ออกไปอีกทุกปี หรือทุกเดือน จากนั้นจึงนำมากระทบกับดวงจรหรือทรานซิสประจำวัน และจากดวงจรที่ทรงเสด็จสวรรคตนั้น จะเห็นได้ว่าทุกปัจจัยที่มีวงเล็บกำกับไว้นั้นมีมุมสัมพันธ์กับพื้นชะตาเดิม คือโคจรไปทับปัจจัยในดวงเดิมอย่างสนิทองศากัน โดยเฉพาะดาวหางฮัลเล่ย์ได้โคจรไปทับอาทิตย์เดิมของรัชกาลที่ 5 ในเวลาที่ทรงเสด็จสวรรคตพอดี


นอกจากนี้ที่จะละเว้นไม่นำมากล่าวเสียได้ก็คือเรื่องคราส เพราะเป็นหลักใหญ่ที่ผู้เขียนยึดถือปฏิบัติอยู่เสมอก่อนหน้าที่จะมาค้นคว้าเรื่องดาวหางจนได้หลักเกณฑ์และข้อยุติเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเรื่องคราสนี้แต่เดิมมักจะดูว่าจุดคราสจะไปทับอาทิตย์ จันทร์ หรือลัคนาในดวงเดิมเป็นประการสำคัญ ไปทับปัจจัยหรือจุดอิทธิพลอื่นเป็นประการถัดไป แต่บางครั้งก็ไม่พสาเหตุจากคราสโดยตรงในลักษณะที่ทับหรือเล็งกัน เช่น ในดวงของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราชนี้ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2453 หลังจากที่ทรงเสด็จสวรรคตได้เพียง 10 วัน มีสุริยุปราคาบางส่วน จุดคราสที่ 16 องศาราศีตุลย์ เป็น 6 กับลัคนาในราศีมีนพอดี แต่ที่แน่นอนที่สุดตามหลักโหราศาสตร์ไทยก็คือ เกตุไทยได้จรเข้าทับลัค เสาร์และราหูจรเข้าทับจันทร์เดิม ส่วนจันทร์จรเข้าสู่มุมอับคือกุมดาวพลูโตในตำแหน่งที่เป็นเกณฑ์ (ภพที่ 10) กับอาทิตย์เดิม ดังนั้นการที่ดาวหางฮัลเล่ย์เข้าทับอาทิตย์เดิมจึงเป็นการเสริมความวิบัติให้เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
