
ประธานชมรมวิจัยโหราศาสตร์ประยุกต์
ลงใน พยากรณ์สาร ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กันยายน 2529 หน้า 48-53
หมายเหตุ
1. ประธานชมรมวิจัยโหราศาสตร์ประยุกต์ นั้นคือ มานิตย์ ธีระเวชชกุล หรือที่ภายหลังใช้ว่า ธีระเวชชโรกุล โปรดดูประวัติผู้เขียนจากบทความเรื่อง คำไว้อาลัยของสมาคมโหรฯ ต่อการเสียชีวิตของ อาจารย์ มานิตย์ ธีระเวชชโรกุล และ อาจารย์ มานิตย์ ที่ผมรู้จัก
2. สมผุสดาวและราศีที่ปรากฏในบทความเป็นสมผุสและราศีในระบบนิรายนะตัดอยนางศแบบลาหิรี
3. ขออภัยหากข้อมูลในภาพที่สแกนไว้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
Webmaster@rojn-info.com
"ข้อมูลทางดาราศาสตร์ต่อไปนี้ได้คำนวณตามหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ DR-70 ซึ่งได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดจากเทปบันทึกข้อมูลของ U.S. Naval Observatory ใน วอชิงตัน ดี.ซี. สมผุสดาวและข้อมูลในช่วง ค.ศ.1800-ค.ศ.2000 โดยเฉพาะดวงอาทิตย์จะมีความแม่นยำถึงช่วง 2 พิลิบดา ดวงจันทร์มีความแม่นยำในช่วง 40 พิลิบดา ส่วนดาวเคราะห์อื่นๆ ยกเว้นดาวพลูโตมีความแม่ยำในช่วง 2 ลิบดา ถ้าย้อนหลังถึง ค.ศ.300 สมผุสของอาทิตย์และจันทร์มีความแม่นยำในช่วง 1 ลิบดา ถ้าย้อนหลังถึงก่อนคริสตศักราช 100 สมผุสอาทิตย์มีความแม่นยำในช่วง 2 ลิบดา และสมผุสดาวอื่นๆ จะมีความแม่นยำน้อยลงโดยเฉลี่ยตามลำดับ สำหรับดาวพลูดตนั้น ได้สมผุสขึ้นโดยการคำนวณทางคณิตศาสตร์"
วิกฤตการณ์ของโลกในช่วงเวลาที่ดาวหางฮัลเล่ย์เยือนโลกที่ทำให้ชาวโลกต้องผิดหวังในการเฝ้าคอยดูดาวหางที่โด่งดังที่สุดดวงนี้มานานถึง 76 ปี ทำให้ยังคงเป็นดาวหางที่มีความลึกลับอยู่ต่อไปเพราะยานซาเลนเจอร์ที่จะนำเครื่องมือสำหรับสำรวจดาวหางดวงนี้เกิดอับปางเสียก่อน ต่อมาก็มีการระเบิดของจรวดไทตันตามมาอีก สหรัฐต้องสูญเสียเครื่องมือสำหรับบุกเบิดอวกาศไปเป็นจำนวนมากและทำให้โครงการอวกาศของสหรัฐต้องล่าช้าออกไไปจนกว่าจะถึงยุคของดาวมฤตยูกุมดาวเนปจูน เป็นการรักษาสมดุลย์ไม่ให้ไปไกลเกินกว่ากำหนดของฟ้าดิน
สถิติของอุบัติภัยและวินาศภัยต่างๆ ได้เพิ่มสูงขึ้นจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในขณะที่ดาวหางดวงนี้วิ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ จนกระทั่งสหรัฐต้องส่งฝูงบินเข้าถล่มลิเบียเพื่อยับยั้งการก่อการร้ายซึ่งก็ได้ผลและเป็นช่วงที่ดาวหางดวงนี้โคจรกลับออกมาแล้ว ผู้เขียนเคยวิเคราะห์ไว้ว่าดาวหางฮัลเล่ย์เป็นเพียงปัจจัยเสริมที่เพิ่มอานุภาพให้กับเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านดีหรือร้ายเท่านั้น และที่ทำให้ดาวหางดวงนี้โด่งดังจนเป็นที่กลัวเกรงของชาวโลกก็คือลักษณะพิเศษของรอบการโคจรของดาวหางดวงนี้มีกำหนดรอบละ 76 ปี ซึ่งเป็น 4 รอบของ 18 ปีอันเป็นกำหนดซ้ำที่เดิมของจุดเพ็ญและจุดดับของดวงจันทร์
สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้นทางโหราศาสตร์ยังคงต้องอธิบายกันด้วยเรื่องของคราสเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศไทยนั้นมีการเจ็บป่วยและตายเกิดขึ้นกับรัฐมนตรีมากกว่ารัฐบาลทุกสมัย ความสกปรกของส.ส.บางคนในรัฐสภามีปรากฏให้ประชาชนเจ้าของประเทศเห็นอย่างเด่นชัด เสถียรภาพของรัฐบาลเริ่มสั่นคลอนจนต้องมีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรีโกศล ไกรฤกษ์ต้องลาออกหลังจากที่ดวงเมืองต้องจันทรคราสเต็มดวงเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2529 เวลา 00.39.10 น. ที่จุดคราส 11 องศา 33 ลิบดา 55 พิลิบดา ราศีเมษ หลังจากนั้นอีก 1 ปักษ์ คือวันที่ 12 พฤศจิกายน เวลา 21.21.41 น. เกิดสุริยคราสเต็มดวงที่ 26 องศา 27 ลิบดา 56 พิลิบดา เป็นจุดคราสที่เล็งทำมุม 180 องศากับลัคนาของดวงเมือง และเมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2529 ที่ผ่านมา เวลา 19.47.29 น. ที่จุดคราส 10 องศา 21 ลิบดา 29 พิลิบดา ราศีตุลย์เล็งสนิท 180 องศากับอาทิตย์เดิมในดวงเมือง นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลต้องประกาศยุบรัฐสภาในวันที่ 1 พฤษภาคม และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 กรกฎาคม
ที่กล่าวมานี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วตามอิทธิพลของดวงดาวอย่างเด่นชัดซึ่งเป็นข้อมูลที่จะนำมาใช้ศึกษาวิชาโหราศาสตร์ได้อย่างดียิ่ง ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างการวิจัยตามหลักสากล
1. ผูกดวงชะตากำเนิดเพื่อดูสถานภาพต่างๆ ในพื้นดวงเดิม
ดวงเมือง (นิรายนะ)
จันทรคติกาล วันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จ.ศ. 1144 เวลารุ่งแล้วเก้าบาท
สุริยคติกาล ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 06.58.57 น. (ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.04.57 น.) หรือเวลา 23.58.57 น. มาตรฐานกรีนีชของวันที่ 20 เมษายน

2. ทำดวงทินวรรษ (ขณะที่อาทิตย์จรทับอาทิตย์เดิม) เป็นดวงจรหรือทรานสิตเพื่อดูการกระทบของดาวจรปัจจุบันซึ่งมีขอบเขตการทำนายจรได้ 1 ปี ในที่นี้ดวงทินวรรษของกรุงเทพฯ ปี พ.ศ.2529 ตรงกับวันที่ 24 เมษายน เวลา 14.14.23 น. ดวงอาทิตย์จรทับอาทิตย์เดิมพอดี จะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่กำลังจะเกิดคราส ดวงจันทร์มีสมผุส 06 องศา 55 ลิบดา ราศีตุลย์ ห่างจุดคราส 3 องศาครึ่ง แสดงว่าถูกอิทธิพลของคราสซึ่งจะเกิดเหตุการณ์ภายหลังจากเกิดจันทรคราสแล้วแน่นอน
ดวงทินวรรษของดวงเมือง พ.ศ.2529
จันทรคติกาล วันพฤหัสบดี แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จ.ศ.1348
สุริยคติกาล วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ.2529 เวลา 14.14.23 น. กทม.

3. ใช้หลักเอาวันเป็นปีหรือเซ็คกันดารีโปรเกรสชั่นของดวงทินวรรณนี้ เพื่อกำหนดเวลาที่แน่นอนของวิกฤตการณ์ที่เกิดจากผลของจุดคราส เพราะดวงจันทร์ยังห่างจากจุดคราส 3 องศาครึ่งซึ่งจะเท่ากับ 3 เดือนโดยประมาณ เพราะเป็นช่วงที่พระจันทร์เดินเร็วมากกว่าวันละ 12 องศา ในที่นี้ได้กำหนดวันเลือกตั้งอย่างแน่นอนแล้ว จึงกำหนดให้ใช้ดวงทินวรรณเป็นดวงเดิม แล้วทำการโปรเกรสถึงวันที่ 27 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งเพื่อดูผลของการโปรเกรสดังปรากฏเป็นดวงโปรเกรสต่อไปนี้
ดวงโปรเกรสจากดวงทินวรรษ
กำหนดดวงทินวรรษ พ.ศ.2529 เป็นดวงเดิมโปรเกรสถึงเที่ยงวันที่ 27 กรกฎาคม ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ.2529 เวลา 20.24.06 น. (ห่างจากดวงทินวรรษ 6 ชั่วโมง 9 นาที 43 วินาที) ดวงจันทร์กำลังออกพ้นคราส ซึ่งกึ่งกลางคราสตรงกับเวลา 19.47.29 น. โค้งสุริยะหรือโซล่าร์อาร์ค นิรายนะเท่ากับ 15 ลิบดา 01 พิลิบดา

4. เราจะทำการทดสอบโดยใช้ดวงเมืองเป็นหลักแล้วโปรเกรสถึงดวงทินวรรษ พ.ศ.2529 จะตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2325 เวลา 07.04.50 น. เป็นเวลาที่ได้สถาปนาดวงเมืองมาได้ 204.004 วัน หรือ 204 วัน 5 นาที 53 วินาที ได้ค่าโค้งสุริยะหรือโซล่าร์อาร์ค นิรายนะเท่ากับ 197 องศา 48 ลิบดา 01 พิลิบดา ในช่วงเวลาที่สร้างกรุงเทพฯมานาน 204 ปี
ดวงโปรเกรสของดวงเมืองถึงจุดทินวรรษ พ.ศ.2529
ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2325 เวลา 07.04.50 น. กทม. อายุ 204 ปี โค้งโซล่าร์อาร์ไซเดอร์เรียล 197.48.01 องศา

จะเห็นว่าปัจจัยที่มีมุมสัมพันธ์กันที่ประมาณ 15 องศา (แอสเปค) นั้นมีอยู่ถึง 6 ดวงด้วยกันคือ ดาวศุกร์ จันทร์ พลูโต เกตุไทย ราหู และมฤตยู จึงเป็นการบ่งชี้ว่าจะต้องมีวิกฤตการณ์เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และโดยปกติเราจะพิจารณาที่ดวงจันทร์เมื่อโคจรไปสัมพันธ์กับดาวดวงอื่นเป็นหลัก แต่ในดวงโปรเกรสนี้แสดงให้เห็นว่าดวงจันทร์กำลังจะเข้ากุมกับดาวพลูโตและยังทำมุมเกณฑ์ 90 องศา กับดาวศุกร์เจ้าเรือนราศีตุลย์ โดยมีราหูและเกตุไทยเข้าร่วมด้วย จึงมีความหมายว่า การพัฒนาทางการเมืองจากชนหมู่มาก การพิจารณาจากดวงโปรเกรสนี้ส่วนมากเราจะไม่ได้คำทำนายที่ชี้ชัดเจนลงไปว่าจะมีเหตุอะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่การกำหนดเวลาของเหตุการณ์ค่อนข้างจะแม่นยำ ส่วนมากเมื่อได้เวลาที่แน่ชัดแล้วจะต้องมาพิจารณาจากดวงจรหรือทรานสิต จากเวลาที่บ่งไว้ในดวงโปรเกรสจึงจะทราบว่าเป็นเรื่องอะไร แต่เราสามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่าดวงดาวหรือปัจจัยที่มุมสัมพันธ์กันในดวงโปรเกรสจะเป็นสาเหตุในดวงเดิมด้วยเสมอ เช่นในดวงโปรเกรสนี้ ดาวศุกร์ซึ่งเป็นดาวเจ้าเรือนราศีตุลย์ อันหมายถึงรัฐสภาได้ถูกดาวอื่นบีบอัดอย่างแรง แต่ในดวงทินวรรษนั้นดาวศุกร์ได้จรไปทับเกตุไทยในดวงเดิม และเกตุไทยนั้นมักจะเกิดผลอย่างแม่นยำในเรื่องเกี่ยวกับความตาย เป็นต้น