โดย มานิตย์ ธีระเวชชกุล
ลงใน พยากรณ์สาร ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กุมภาพันธ์ 2529 หน้า 26 - 31
หมายเหตุ
- ภายหลังผู้เขียนใช้นามสกุลว่า ธีระเวชชโรกุล โปรดดูประวัติผู้เขียนจากบทความเรื่อง คำไว้อาลัยของสมาคมโหรฯ ต่อการเสียชีวิตของ อาจารย์ มานิตย์ ธีระเวชชโรกุล และ อาจารย์ มานิตย์ ที่ผมรู้จัก
- สมผุสดาวและราศีที่ปรากฏในบทความเป็นสมผุสและราศีในระบบนิรายนะตัดอยนางศแบบลาหิรี
- ขออภัยหากข้อมูลในภาพที่สแกนไว้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร โดยเฉพาะในส่วนของกราฟ ขอให้ท่านใช้การคำนวณของโปรแกรมสมัยใหม่เข้ามาประกอบ
Webmaster@rojn-info.com
ปีพุทธศักราช 2529 นี้มีปรากฏการณ์สำคัญที่ดาวหางฮัลเล่ย์จะกลับมาให้เห็นด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่งประมาณเดือนเมษายนเหมือนเมื่อ พ.ศ.2453 ในรัชกาลสมเด็จพระปิยมหาราชและเป็นผลให้พระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคมปีนั้นเอง ผู้เขียนได้สร้างกร๊าฟแสดงวิถีโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงและดาวหางฮัลเล่ย์ไว้ทั้งสองคราวเพื่อนำมาศึกษาประกอบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งผู้เขียนจะขอชี้แจงโดยสังเขปดังต่อไปนี้
1. อุปราคา จุดอมาวสีและปูรณมี ในปีพ.ศ.2529 มีอมาวสีหรือจันทร์ดับเกิดขึ้นรวม 13 ครั้ง และมีจันทร์เพ็ญหรือปูรณมีอีก 12 ครั้ง เป็นสุริยุปราคาไม่เต็มดวง 1 ครั้ง สุริยุปราคาเต็มดวง 1 ครั้ง และจันทรุปราคาเต็มดวง 2 ครั้ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
สำหรบปี พ.ศ.2453 ถึง พ.ศ.2529 นี้เป็นเวลาห่างกัน 76 ปี เป็นจำนวนปีอธิกมาสเต็ม 4 รอบด้วยกัน (1 รอบปีอธิกมาส = 19 ปี) ดังนั้นจุดอมาวสีและปูรณมีในแต่ละช่วงเวลาจึงใกล้กันมากดังต่อไปนี้
จะเห็นว่าสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคม 2453 นั้น จุดคราสที่ 25 องศา 06 ลิบดา ราศีเมษ ทับลัคนาของดวงเมืองพอดี และจันทรุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นในวันที่ 24 พฤษภาคม 2453 นั้น จุดคราสที่ 9 องศา 34 ลิบดา ราศีพิจิก องศาใกล้อาทิตย์เดิมในภพมรณะ (เป็น 8) ของดวงเมือง จึงเป็นเหตุให้ต้องสูญเสียประมุขของประเทศ (ดาวหางฮัลเล่ย์จรทับอาทิตย์เดิมในวันที่ทรงเสด็จสวรรคต 23 ตุลาคม 2453)
นอกจากนี้ จุดคราสของสุริยุปราคาบางส่วนที่เกิดขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2453 นั้น เกิดที่ 26 องศา 10 ลิบดา ราศีตุลย์ มีองศาเท่ากันและเป็นภพมรณะกับลัคนาเดิมของรัชกาลที่ 5 (ราศีมีน)
เมื่อเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์ของอุปราคาในปี พ.ศ.2529 นี้อิทธิพลจะเกิดจากจันทรุปราคา เต็มดวงในวันที่ 24 เมษายน 2529 มีจุดคราสที่ 10 องศา 23 ลิบดา ราศีตุลย์ และเมื่อย้อนหลังไปเกือบ 6 เดือน คือเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2528 เวลา 21.23 น. ที่ผ่านมาได้เกิดสุริยุปราคาบางส่วนที่ 26 องศา 29 ลิบดา ราศีตุลย์ ซึ่งเป็นราศีของสถาบันบริหารสูงสุดของประเทศ อันได้แก่รัฐบาลและรัฐสภา ประกอบข่าวล่าสุดที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ลาออกจากหัวหน้าพรรคกิจสังคมเพราะแพ้เสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 1 จึงทำให้รัฐบาลอยู่ในภาวะที่จำเป็นต้องมีการผ่าตัดใหญ่
การเกิดอุปราคาขึ้นแต่ละครั้งจำเป็นต้องมีอิทธิพลของราหูเข้าเกี่ยวข้องด้วยเสมอ อุปราคาที่เกิดขึ้นใน พ.ศ.2453 นั้นเป็นช่วงที่ราหูกำลังยกจากราศีพฤษภเข้าราศีเมษ ประชาชนจึงต้องอยู่ในภาวะเศร้าโศกด้วยพิษของราหูถึง 1 ปีครึ่ง แต่ในช่วงปี พ.ศ.2529 ที่จะพึงนี้ ราหูยังคงอยู่ในราศีเมษกับดวงเมืองอยู่อีกเพียง 7 เดือนเศษเท่านั้น (1 รอบปีราหู = 18.6 ปี และราหูจะยกจากราศีเมษเข้าราศีมีนกลางเดือนสิงหาคม 2529)
2. การโคจรของดาวพฤหัสบดี ขอให้ดูที่กราฟของปี พ.ศ.2453 ที่ช่องหมายเลข 5 (ราศีกันย์) จะเห็นว่าเส้นทางโคจรของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) อยู่ในราศีกันย์ (เล็งลัคนาของ ร.5) จนถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2453 จึงยกเข้าราศีตุลย์ซึ่งเป็นภพมรณะของลัคนาราศีมีน และที่สำคัญที่สุดก็คือดาวพฤหัสบดีเป็นดาวตนุลัคหรือเจ้าเรือนลัคนาได้เข้าสู่จุดดับในวันที่ 19 ตุลาคม 2453 เวลา 12 น. ที่จุด 2 องศา 19 ลิบดา ราศีตุลย์ ก่อนสวรรคต ไม่ถึง 4 วัน จึงไม่สามารถคุ้มครองเจ้าชะตาได้ (จุดหมายเลข 3)
นอกจากนี้ถ้าดูจากกราฟ จะเห็นว่าในวันที่ 22 เมษายน 2453 ดวงจันทร์ได้เข้ากุมดาวพฤหัสบดี (เข้าวงพระจันทร์ป เวลา 14.40 น. ที่ตำแหน่ง 14 องศา 22 ลิบดา ราศีกันย์ ร่วมกับดาวหางฮัลเล่ย์อย่างสนิทและเป็นตำแหน่งที่เล็งตรงข้ามกับลัคนาพอดีอีกด้วย (ในกราฟจะเห็นเส้นทางของดาวทั้ง 3 ตัดกันอย่างชัดเจน ที่จุดหมายเลข 1) ถ้าจะถือเอาเป็นจุดวิกฤตหรือจุดบ่งชี้เพื่อนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ใน พ.ศ.2529 ก็ขอให้ดูกราฟของปี 2529 ที่จุดหมายเลข 2 ตรงกับวันที่ 2 เมษายน 2529 จะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายกัน แต่จุดตัดเกิดขึ้นในช่องที่ 8 (ราศีธนู) และดาวที่ทำมุมตัดกนคือดาวหางฮัลเล่ย์ ดาวเนปจูน และดวงจันทร์ นอกจากนี้ยังมีดาวอังคารอยู่ในระยะประชิดองศา ดาวมฤตยูและดาวเสาร์มีองศาห่างกันตามลำดับในราศีพิจิก เป็นสัญญาณบ่งถึงการสูญเสียเนื่องจากการใช้กำลัง และถ้าหากว่าเมื่อ พ.ศ.2453 นั้น จุดรับเคราะห์คือราศีมีน ฉนั้น ในพ.ศ.2529 นี้ จุดรับเคราะห์ก็ควรเป็นราศีเมถุน
สำหรับปรากฏการณ์ของดวงดาวอื่นที่จะเป็นตัวสนับสนุนเหตุอันไม่พึ่งประสงค์ใดๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ก็คือ
3. ดาวพฤหัสบดีจะเข้าสู่จุดดับในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ 6 องศา ราศีกุมภ์ (จุดหมายเลข 4)
4. ดาวอังคารจะยกจากราศีตุลย์เข้าราศีพิจิกในวันที่ 22 มกราคม จะอยู่ในราศีพิจิกร่วมกับดาวเสาร์และดาวมฤตยูจนถึงวันที่ 16 มีนาคม จึงยกเข้าราศีธนูและจะโคจรวิปริตในราศีธนูจนถึงวันที่ 27 กันยายน
5. องศาสูงสุดที่ดาวหยุดนิ่ง (มณฑ์) ก่อนที่จะวิปริตถอยหลัง (พักร) สูงถึง 29 องศา มีด้วยกันถึง 3 ดวง คือ ดาวมฤตยูในราศีพิจิก ดาวอังคารในราศีธนู และดาวพฤหัสบดีในราศีกุมภ์
6. หลังเดือนตุลาคมไปแล้ว ดาวศุกร์จะโคจรวิปริตในราศีตุลย์ เรือนของตัวเอง จึงคาดว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาไปในทางที่ดี (การจัดระเบียบให้เข้าที่)
กล่าวโดยสรุปคือ ในช่วงที่ดาวอังคารมีองศาเล็งลัคนาของดวงเมืองจนถึงวันที่ 22 มกราคม จะมีความคับขันทางการเมืองเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นเมื่อดาวอังคารยกเข้าราศีพิจิกเข้าร่วมราศีกับดาวเสาร์และดาวมฤตยูแล้วผนวกกับได้อิทธิพลหนุนจากดาวหางฮัลเล่ย์ การตายหมู่อันเนื่องจากวินาศภัยและภัยพิบัติอันเกิดจากธรรมชาติต่างๆ จะอยู่ในเกณฑ์สูงมาก การล้างแค้นของยิวต่อขบวนการผู้ก่อการร้าย พี.แอล.โอ. จะมีขึ้นอย่างรุนแรงที่สุดและจะไม่ยุติลงง่ายๆ จนกว่าดาวอังคารจะโคจรเป็นปกติในราศีธนู และดาวศุกร์โคจรเป็นปกติในราศีตุลย์ ซึ่งก็คงจะกินเวลาถึงปลายปี พ.ศ.2529 เลยทีเดียว ดังนั้นผู้เขียนจึงขอให้พึงสังวรณ์ไว้ว่าการใช้กำลังรุนแรงในช่วงดาวหางฮัลเล่ย์ปรากฏนี้จะไม่ใช่การแก้ปัญหา ผลเสียจะมีมากกว่าได้