ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
สำหรับสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
dot
dot
bulletหลักโหรโดนใจ
bulletหลักโหร-ศิวเมษ
bulletโหรา-ประวัติศาสตร์
bulletโหรา-ไอที
bulletโหรา-โปรแกรม
bulletDemo/Freeware
bulletโปรแกรม Virgo07
bulletDelphi กับ Swiss Ephemeris
bulletผูกดวงออนไลน์กับ Astrotheme.com
bulletพิกัดภูมิศาสตร์ ประเทศไทย
bulletwebboard ผลัดกันเขียนเวียนกันอ่าน
dot
dot
bulletกำพล ภาระโภชน์ (Astroman) - ยูเรเนียน
bulletโรงเรียนโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน
bulletอดิเทพ ศรีรัตนไพฑูรย์ - ยูเรเนียน
bulletอาคม ชูจันทร์ - ยูเรเนียน, ลายมือ
bulletชาญชัย เดชะเสฏฐดี (ผู้ร่วมเขียนบทความ)
bulletอาจารย์ ธนกร ตันติถาวร - ยูเรเนียน
dot
dot
bulletประวัติ
bulletการติดต่อ
bulletภาพยนตร์ประวัติศาสตร์
bulletRojnChin's Channel (YouTube)
bulletRojnChin's Blog
bulletร้านค้าออนไลน์
dot
dot
bulletโรงเรียน โหราศาสตร์ ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน
bulletAstro.com
bulletพยากรณ์ดอทคอม
bulletมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยฯ
bulletโหราศาสตร์แนวอาจารย์จรัญ พิกุล
bulletโหรายูเรเนียนดอทคอม
bulletบ้านฮวงจุ้ย
bulletวารสารโหราเวสม์
bulletUranianSoft.com
bulletดูดวงกับ GooSiam.com
bulletMyHora.com: ดูดวงยูเรเนียนออนไลน์
bulletAstro-Seek.com: Full Moons & New Moons
bulletAstro-Seek.com: Aspect Search Engine
bulletLatitude&Longitude เมืองต่างๆ ทั่วโลก
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC
bulletรวม Link เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
bulletแผนผังเว็บไซต์ (Site Map)






ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์


CURRENT MOON


dot
ทางเลือกของ การเปิดเว็บไซต์ ในปัจจุบัน article
วันที่ 00/00/0000   00:00:00


“แน่จริงก็ไปเปิดเว็บไซต์เองดูบ้าง จะได้รู้ว่าการเป็นเว็บมาสเตอร์ต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง”

คำพูดคล้ายๆ อย่างนี้เป็นคำพูดที่ผมเองเคยใช้ในกระทู้หนึ่งเมื่อปรากฏว่าในกระทู้นั้นมีผู้แสดงความเห็นในลักษณะที่อาจตีความได้ว่าเป็นการ “ป่วน” จนกลายเป็นความขัดแย้งโต้เถียงกัน ตัวผมในฐานะเว็บมาสเตอร์เมื่อตรวจพบข้อความที่เป็นปัญหา ย่อมต้องดำเนินมาตรการตั้งแต่ตักเตือน ชี้แจง ไกล่เกลี่ย ไปจนถึงขั้นอาจต้องลบข้อความที่เป็นปัญหาทิ้งเสีย ที่แย่คือในบางครั้งปัญหาพึ่งเริ่มต้นขึ้น แทนที่ผมจะได้ดำเนินการกับผู้ก่อปัญหานั้นเอง กลับมีบางคนประพฤติตนเป็น “พลเมืองดีปากจัด” ไปโต้เถียงกับผู้เริ่มก่อปัญหา จนเรื่องบานปลายมากยิ่งขึ้น จึงเป็นที่มาของประโยคข้างต้น ที่ผมใช้ต่อว่าคู่กรณีในกระทู้นั้น

เมื่อได้โพสต์คำพูดนั้นออกไปแล้ว ก็ไม่ทราบว่าคู่กรณีที่ถูกต่อว่าด้วยกันจะได้สำนึกอะไรแค่ไหน แต่เป็นที่แน่นอนว่า การจะเปิดเว็บไซต์ขึ้นสักแห่งหนึ่งนั้น ย่อมเป็นยาหม้อใหญ่สำหรับคนที่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องไอทีนัก หรือแม้แต่คนที่รู้ไอทีในด้านที่ไม่เกี่ยวกับเว็บไซต์ก็ตาม

การจะมีเว็บไซต์สักแห่งหนึ่งนั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการ คือ พื้นที่สำหรับทำเว็บไซต์ (เป็นพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องแม่ข่ายของผู้ให้บริการการทำเว็บ เครื่องแม่ข่ายที่ว่าเรียกว่า “โฮสต์” (Host) ผู้ให้บริการเช่นว่า เรียกว่า “เว็บโฮสติ้ง” (Web hosting) พื้นที่ที่ให้บริการแก่เราเปรียบได้กับที่ดิน) ชื่อโดเมน เช่น www.rojn-info.com (เปรียบได้กับบ้านเลขที่) และตัวเว็บไซต์เอง (เปรียบได้กับตัวบ้าน)

จากการเปรียบเทียบดังกล่าว แต่เดิมที การซื้อที่ดิน การสร้างบ้าน และการจดทะเบียนบ้าน เป็นเรื่องที่เราต้องจัดทำแยกกัน

ปัจจุบัน การมีเว็บไซต์ของตนเอง มีทั้งกรณีที่เปรียบได้กับการไปอยู่บ้านคนอื่น และการว่าจ้างทีเดียวแบบครบวงจร

เว็บไซต์ฟรี ซึ่งมักเป็นการให้พื้นที่มาจำนวนหนึ่ง ให้เราสร้างเว็บไซต์เอาเอง แต่จะไม่ได้โดเมนเนมของตนเอง สมมติว่าถ้าเว็บไซต์ของผมแห่งนี้ (ww.rojn-info.com) จะเปิดให้บริการเว็บไซต์ฟรีแก่สมาชิก แล้วมีผู้เข้ามาสมัครในชื่อ NewMan เขาจะไม่สามารถจดทะเบียนเว็บไซต์เป็น www.newman.com ได้ไม่ว่าชื่อโดเมนนี้จะว่างหรือไม่ก็ตาม ในการอ้างอิงถึงเว็บไซต์ของเขา อาจเป็นได้สองกรณี ได้แก่ การเป็นไดเรคตอรี่ย่อยของเว็บที่ให้บริการ คือ www.rojn-info.com/newman กับกรณีเป็นโดเมนย่อย หรือ Subdomain ก็จะเป็น newman.rojn-info.com

การสร้างเว็บในเว็บไซต์ฟรีเหล่านี้ จะมีทั้งกรณีที่ให้แต่พื้นที่จริงๆ แล้วเราต้องอัพโหลดเว็บไซต์ที่เราเขียนขึ้นมาด้วยโปรแกรมอื่นขึ้นไปยังพื้นที่นี้ และกรณีที่มีแบบสำเร็จรูปให้เราสร้างโดยกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มของเขา

และหากต้องการแต่เพียงเว็บบอร์ด (Web board - แต่ฝรั่งมักจะเรียกว่า Forum ) เดี๋ยวนี้มีบริการเว็บบอร์ดฟรีเกลื่อนไปหมด เหมาะสำหรับคนที่ต้องการแค่เว็บบอร์ดจริงๆ หรือมีเว็บไซต์แต่ทำเว็บบอร์ดเองไม่ได้ ทั้งกรณีที่ทำเองไม่ได้จริงๆ หรือเว็บโฮสติ้งไม่รองรับก็ตามแต่

ข่าวร้ายคือบริการฟรีเหล่านี้จะมีโฆษณาติดมาด้วย แม้ในกรณีที่เราอัพโหลดโค้ดของหน้าเว็บเราขึ้นไป เขาก็จะมีระบบที่จะทำให้เวลาเรียกดูเว็บเราแล้วมีโฆษณาติดมาด้วยเสมอ ยิ่งในกรณีเว็บบอร์ดฟรีแล้ว เดี๋ยวนี้ใส่โฆษณาเอาไว้อย่างน่าเกลียดมากๆ ชนิดที่เข้ามาแทรกระหว่างตัวกระทู้กับตัวคำตอบกันเลย เวลาที่ผมจำเป็นต้องไปดูหรือค้นข้อมูลในเว็บบอร์ดพวกนี้แล้วรำคาญมาก ไม่ทราบว่าตัวผู้ขอเปิดเว็บบอร์ดฟรีเหล่านี้ทนอยู่ได้อย่างไร

อีกบริการหนึ่งที่เดี๋ยวนี้กำลังฮิตกันมาก และมักไม่มีโฆษณาในส่วนพื้นที่ของเรา คือ Blog (ย่อมาจาก Web Log) อธิบายโดยย่อคือเปรียบเสมือนบันทึกรายวันหรือไดอารีออนไลน์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปติดภาพของไดอารีที่บันทึกแต่เรื่องส่วนตัวของเราจริงๆ เท่านั้น อาจเป็นแค่เกร็ดความรู้อะไรสักอย่าง วิจารณ์หนังสักเรื่องที่เคยดูมาตั้งแต่เมื่อปีมะโว้ นวนิยายแต่งเอง หรืออะไรอื่นๆ ที่เราพอใจจะเล่าในวันนั้นๆ ความหมายของ Blog โดยละเอียดและวิธีการใช้งาน สามารถศึกษาได้จากเว็บที่ให้บริการแต่ละแห่ง มีทั้งเว็บที่เปิดให้บริการ Blog ล้วนๆ และเว็บทั่วไปที่มี Blog เป็นบริการเสริม

สิ่งที่อาจเป็นได้ทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของ Blog คือตัวผู้ใช้บริการ (Blogger) จะต้องขยันเขียนพอสมควรเพื่อให้ Blog มีเนื้อหาต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องเขียนทุกวัน แต่ก็ไม่ควรเว้นว่างนานเกินไป

การใช้งาน Blog ต่างจากเว็บบอร์ดฟรีตรงที่ ผู้เข้ามาชมไม่สามารถตั้งกระทู้ของตนเองใน Blog ที่เราใช้งานได้ แต่สามารถแสดงความคิดเห็น (Comment) บทความรายวันที่เราเขียนขึ้นได้ ถ้าเราตั้งระบบอนุญาตไว้

มีหลายรายที่ไม่เข้าใจว่า Blog แตกต่างจากเว็บไซต์ฟรีทั่วไปอย่างไร เอาข้อมูลของบริษัท และสินค้า/ธุรกิจของตัวมาเขียนแนะนำไว้ไม่กี่หน้า บางรายไม่ได้เขียนเรื่องสินค้า/ธุรกิจอะไร แต่อุตส่าเขียนเรื่องชุดเดียวต่อกันสิบกว่าบทความในวันเดียว แล้วไม่กลับมาอีก อย่างนี้เสียเวลาเปล่า เพราะที่หน้าแรกของผู้ให้บริการ Blog ก็จะขึ้นแต่บทความใหม่ๆ ของคนที่อัพเดทล่าสุดเท่านั้น หรือหากตรงไปที่ Blog เหล่านั้นโดยตรง ผู้ชมก็จะเห็นแต่บทความไม่กี่เรื่อง ซึ่งอาจมาเจอหลังจากเขียนไว้นานแล้ว สู้เขียนหยอดกระปุกวันละเรื่องสองเรื่อง ขี้เกียจหน่อยก็สองสามวันเรื่อง หรืออาทิตย์ละเรื่องยังจะดีเสียกว่า

เขียนเรื่อง Blog มาซะยาว เนื่องจากกำลังเห่อ Blog ส่วนตัวที่ http://rojn.blogth.com/ ที่ www.blogth.com ส่วนคนที่ยังต้องการเว็บไซต์ในรูปแบบที่เปรียบเหมือนการอยู่บ้านของตนเอง ก็ยังมีทางเลือกอย่างอื่นอีก

ทางเลือกที่เว็บไซต์แห่งนี้ (www.rojn-info.com) ใช้อยู่ก็คือการใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป

คือชำระค่าบริการที่เดียว ได้ทั้ง “ที่ดิน” “ทะเบียนบ้าน” และ “ตัวบ้าน” พร้อมกันไป โดยตัวบ้านหรือเว็บไซต์มีพร้อมทั้งการเขียนบทความและเว็บบอร์ด ผู้ให้บริการบางรายยังมีให้ทั้ง โพลล์สำรวจความคิดเห็น ตัววัดสถิติการเข้าชม อีเมล์ฟรี และระบบการรับชำระสินค้าออนไลน์ (กรณีใช้ทำเว็บ e-Commerce) ฯลฯ พร้อมกันในตัว

เครื่องมือสำคัญที่ผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปใช้ในการให้บริการเรานั้น เรียกกันว่า Content Management System หรือตัวย่อ CMS อาจเรียกเป็นภาษาไทยได้ทำนองว่า ระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ อะไรทำนองนั้น หากไม่ใช้ระบบนี้ การอัพเดทเว็บแต่ละครั้งจะมีความยุ่งยาก ทั้งในการเขียนหน้าใหม่แต่ละหน้า และการจัดทำลิงค์ให้โยงกันภายใน แต่ในเว็บสำเร็จรูป (ทั้งในระบบเสียตังค์และฟรีบางแห่ง รวมถึง Blog) ระบบจะจัดการให้เสร็จสรรพว่าเนื้อหาที่เพิ่มเข้าไปใหม่จะมีหน้าตาอย่างไร ไปอยู่ตรงไหน และลิงค์กับหน้าอื่นๆ อย่างไร

เริ่มต้นด้วยการสมัครใช้งานและชำระค่าบริการ จากนั้นเลือก Template หรือรูปแบบของเว็บที่ต้องการ ซึ่งยังสามารถดัดแปลงแก้ไขได้พอสมควรด้วยวิธีง่ายๆ จากนั้นก็เริ่มใส่เนื้อหาลงไป การเขียนบทความต่างๆ จะคีย์ลงในแบบฟอร์มของระบบขณะออนไลน์กันสดๆ ไปเลย หรือวิธีที่ไม่เปลืองเวลาการใช้อินเตอร์เน็ต คือ การเขียนไว้ในโปรแกรมอื่นไปก่อนขณะออฟไลน์ แล้วจึง Copy ข้อความลองในแบบฟอร์มของระบบเขาทีหลัง

สำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด และ/หรือ ยังไม่คิดจะทำเว็บเพื่อเป็นรายได้อย่างจริงจังแล้ว ขอเชียร์ ReadyPlanet (www.readyplanet.com) ที่ผมใช้บริการอยู่นี่แหละครับ เพราะราคาถูก (ถ้าต้องการแค่ตัวเว็บกับเว็บบอร์ด) ใช้งานง่าย มีผู้ใช้บริการมาก อันเป็นหลักประกันความมั่นคงของบริษัทผู้ให้บริการเป็นอย่างดี ส่วนผู้ให้บริการรายอื่น แม้จะมีฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ ที่อาจจะดีกว่าที่นี่ค่อนข้างมาก แต่ราคาก็สูงกว่าตามไปด้วยเป็นธรรมดา และบางที่ก็ไม่ค่อยแสดงให้เห็นว่ามีลูกค้าใช้บริการมากน้อยแค่ไหน ใช้แล้วมีเว็บที่สวยงาม ใช้การได้ดี และประสบความสำเร็จแค่ไหน ทั้งนี้ก็แล้วแต่ดุลพินิจของแต่ละท่านนะครับ

อีกวิธีที่หลายเว็บไซต์ใช้กันมาก คือ เมื่อหาเช่าพื้นที่จากเว็บโฮสติ้งได้แล้ว ก็นำระบบ CMS ที่เป็น Open Source มาติดตั้งใช้เองโดยไม่เกี่ยวข้องกับทางเว็บโฮสติ้งแต่อย่างใด ระบบ CMS ที่กำลังนิยมใช้กัน ได้แก่ PHP Nuke, Post Nuke, Mambo Hub ฯลฯ CMS ของคนไทยก็มีอยู่บ้าง แต่มักจะเป็นการทำขาย ไม่แน่ใจว่ามีของฟรีด้วยหรือไม่

ระบบ CMS ที่ดีๆ จะมีให้ครบครัน ทั้งการสร้างเนื้อหาแบบต่างๆ ระบบเว็บบอร์ด ที่มีได้มากกว่า 1 กระดาน หรือ 1 ห้อง ระบบสถิติการเข้าชม ระบบสำรวจความคิดเห็น การจัดการไฟล์ให้ผู้ชมเว็บดาวน์โหลด ระบบการรับสมัครสมาชิกเว็บ ฯลฯ การจะใช้งานให้มีประสิทธิภาพจึงต้องใช้เวลาในการศึกษาทำความเข้าใจมากกว่าการใช้บริการสำเร็จรูปอย่าง ReadyPlanet แต่ก็ยังง่ายและมีประสิทธิภาพกว่าการออกแบบสร้างเองหรือจ้างเขาออกแบบแพงๆ อย่างแต่ก่อน

สำหรับผู้ที่ต้องการจะเปิดเว็บไซต์ด้านโหราศาสตร์ ขอแนะนำคร่าวๆ ดังนี้

- หากต้องการเน้นที่เว็บบอร์ดเพื่อรับดูดวงแทนการใช้อีเมล์ หรือเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนต่างๆ การใช้บริการเว็บบอร์ดฟรีจะเป็นตัวเลือกที่ดี แต่ต้องเลือกที่ที่ไม่ใส่โฆษณาไว้อย่างน่าเกลียดนัก และคุณจะไม่มีโดเมนเนมของตัวเอง

- หากต้องการเผยแพร่ความเห็นทางวิชาโหราศาสตร์ หรือบทความสั้นๆ ที่พอจะเขียนได้ค่อนข้างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องการเว็บบอร์ดให้คนอื่นมาตั้งกระทู้ (แต่จะยอมให้คอมเมนต์บทความเราได้) การสมัครเป็น Blogger ที่ไหนสักแห่งน่าจะดีที่สุด แต่คุณจะไม่มีโดเมนเนมของตัวเอง Blog ที่แนะนำ ได้แก่ http://www.bloggang.com/ (เจ้าของเดียวกับ Pantip.com) และ http://www.blogth.com/ (ผมใช้บริการอยู่ในปัจจุบัน) ฯลฯ

- หากต้องการเว็บไซต์ฟรี ที่ที่นิยมกันมากคือ http://www.geocities.com/ แต่ถ้าเป็น http://www.pantown.com/ (เจ้าของเดียวกับ Pantip.com) จะเป็นระบบ CMS ที่ไม่เน้นความสวยงาม

- และหากต้องการเว็บไซต์ที่มีคุณภาพแล้ว อยากให้ใช้เว็บไซต์สำเร็จรูปเจ้าใดเจ้าหนึ่ง โดยเฉพาะ http://www.readyplanet.com/ หรือไม่ก็ระบบ CMS ที่เป็น Open Source

ในเมื่อการมีเว็บไซต์ของตัวเองในยุคนี้ มีทางเลือกที่ดีๆ ง่ายๆ และมีประสิทธิภาพเช่นนี้แล้ว คำท้าทายดังที่ผมกล่าวไว้ตอนต้นบทความก็ย่อมจะลดความท้าทายลงไปอย่างมาก เหลือแต่เพียงว่าท่านจะมีความสามารถและความรับผิดชอบในการดูแลเว็บไซต์แค่ไหน เปรียบเหมือนกับว่า เมื่อคุณมีบ้านได้ง่ายๆ แล้ว คุณจะดูแลบ้านได้ดีแค่ไหน หรือถ้าจะใช้บ้านนี้เป็นห้างร้านหรือบริษัทแล้ว คุณจะบริหารเป็นหรือไม่ ในโอกาสหน้าอาจจะได้เขียนเป็นอีกบทความหนึ่งมาเล่าสู่กันฟัง



โหราศาสตร์-ไอที

Amazon Kindle กับ คลังความรู้ทางโหราศาสตร์ของผม วันที่ 30/09/2011   21:13:02
"เว็บบอร์ด" ตามที่ผมเข้าใจ และกฎกติกามารยาทที่ควรจะเป็น วันที่ 23/08/2010   09:52:56
ทำแผนที่ไปบ้านตัวเองง่ายๆ ผ่าน Google Maps วันที่ 04/08/2010   20:49:39
Download: "ย้อนเวลาหาอดีต"กับภาษาคอมพิวเตอร์ BASIC วันที่ 22/06/2010   10:00:34
ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Open Source/Freeware แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ วันที่ 27/10/2009   22:00:38
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อโหราศาสตร์ กับชีวิตประจำวัน วันที่ 02/06/2012   11:57:59
แนะนำ WOT ผู้ช่วยเตือนเว็บอันตราย วันที่ 05/08/2012   10:48:22
แนะนำ filehippo.com วันที่ 06/07/2008   20:40:47
สอนโหราศาสตร์ด้วย YouTube! วันที่ 00/00/0000   00:00:00
Software as a Service กรณีโปรแกรมโหราศาสตร์ยูเรเนียน วันที่ 03/07/2008   22:26:26
บทบาทของตัววัดสถิติเว็บไซต์ (Counter) วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
ประสบการณ์ การโปรโมทเว็บ ทฤษฎี และ ปฏิบัติ วันที่ 00/00/0000   00:00:00
รวมวิธีการดู โทรทัศน์ ทางหน้าจอ คอมพิวเตอร์ วันที่ 05/08/2012   12:40:50
เมื่อต้องเลือกใช้ เครื่องพิมพ์ แบบ Multi-Function วันที่ 06/01/2010   23:08:16
ทดลองเล่น Wireless LAN (Wi-Fi) ในบ้าน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
ประสบการณ์เริ่มเล่น Internet แบบ Hi Speed วันที่ 06/01/2010   23:12:03 article
ประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ กล้องถ่ายภาพดิจิตอล วันที่ 00/00/0000   00:00:00
จะสอน โหราศาสตร์ ด้วย คอมพิวเตอร์ อย่างไรดี? วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ต่อ คอมพิวเตอร์ ออก โทรทัศน์ วันที่ 05/08/2012   11:27:01
เลือกคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค (NoteBook) สำหรับงาน โหราศาสตร์ วันที่ 06/01/2010   23:05:19
คอมพิวเตอร์ กับ นักโหราศาสตร์ การแย่งงานหรือการแบ่งงาน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
พีดีเอ (PDA: Palm&Pocket PC) กับการจัดระเบียบชีวิต วันที่ 06/01/2010   23:06:07
การกำหนดและรักษา รหัสผ่าน (Password) วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
อาจารย์ Help วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
ศัพท์บัญญัติ เทคโนโลยีสารสนเทศ ของ ราชบัณฑิตยสถาน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
เรียน โหราศาสตร์ อย่างประหยัด ในยุค ไอที วันที่ 02/06/2012   11:59:14 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| โหรา-ประวัติศาสตร์ | โหรา-ไอที | หลักโหรโดนใจ | บทความสมทบ | โหรา-โปรแกรม | ผู้จัดทำ/ผู้สนับสนุน | Site Map |

Custom Search


ติดต่อนายโรจน์ E-mail: webmaster@rojn-info.com
หรือ Mobile: 08-1697-3098
(อาจไม่สะดวกรับสายในบางเวลา)
ยังไม่เปิดสอนและไม่รับพยากรณ์เป็นส่วนตัว
กรุณาอย่าใช้โทรศัพท์หรือส่งอีเมล์มาขอดูดวง เพราะไม่มีเวลาตอบ



มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ โหราศาสตร์แนว อ.จรัญ พิกุล - AstroClassical.com HoraUranian.com ดูดวง
โหราศาสตร์กับเครื่องประดับ บ้านฮวงจุ้ย (fengshuihut.com) ตลาดวิชาฮวงจุ้ยและดวงจีน ผูกดวง/ยูเรเนียนออนไลน์ (MyHora.com)

รวมลิงค์ : เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
eXTReMe Tracker