ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
สำหรับสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
dot
dot
bulletหลักโหรโดนใจ
bulletหลักโหร-ศิวเมษ
bulletโหรา-ประวัติศาสตร์
bulletโหรา-ไอที
bulletโหรา-โปรแกรม
bulletDemo/Freeware
bulletโปรแกรม Virgo07
bulletDelphi กับ Swiss Ephemeris
bulletผูกดวงออนไลน์กับ Astrotheme.com
bulletพิกัดภูมิศาสตร์ ประเทศไทย
bulletwebboard ผลัดกันเขียนเวียนกันอ่าน
dot
dot
bulletกำพล ภาระโภชน์ (Astroman) - ยูเรเนียน
bulletโรงเรียนโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน
bulletอดิเทพ ศรีรัตนไพฑูรย์ - ยูเรเนียน
bulletอาคม ชูจันทร์ - ยูเรเนียน, ลายมือ
bulletชาญชัย เดชะเสฏฐดี (ผู้ร่วมเขียนบทความ)
bulletอาจารย์ ธนกร ตันติถาวร - ยูเรเนียน
dot
dot
bulletประวัติ
bulletการติดต่อ
bulletภาพยนตร์ประวัติศาสตร์
bulletRojnChin's Channel (YouTube)
bulletRojnChin's Blog
bulletร้านค้าออนไลน์
dot
dot
bulletโรงเรียน โหราศาสตร์ ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน
bulletAstro.com
bulletพยากรณ์ดอทคอม
bulletมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยฯ
bulletโหราศาสตร์แนวอาจารย์จรัญ พิกุล
bulletโหรายูเรเนียนดอทคอม
bulletบ้านฮวงจุ้ย
bulletวารสารโหราเวสม์
bulletUranianSoft.com
bulletดูดวงกับ GooSiam.com
bulletMyHora.com: ดูดวงยูเรเนียนออนไลน์
bulletAstro-Seek.com: Full Moons & New Moons
bulletAstro-Seek.com: Aspect Search Engine
bulletLatitude&Longitude เมืองต่างๆ ทั่วโลก
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC
bulletรวม Link เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
bulletแผนผังเว็บไซต์ (Site Map)






ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์


CURRENT MOON


dot
ทดลองเล่น Wireless LAN (Wi-Fi) ในบ้าน article
วันที่ 00/00/0000   00:00:00

 

 
หลายปีก่อน ในวงสนทนาของเพื่อนๆ พี่ๆ ที่ศึกษาโหราศาสตร์ที่สมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีพี่คนหนึ่งกล่าวขึ้นว่า คนที่จะเรียนโหราศาสตร์ได้นั้นจะต้องเป็นโหรมาแต่ชาติก่อน (เข้าทำนองเดียวกับท่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ ที่อ้างว่าเป็นกวีมาแต่ชาติก่อนนั่นเชียว)

โดยความซื่อและปากไว (ไม่ได้เจตนาอย่างอื่นจริงๆ ) ก็หลุดปากถามออกไปทันทีว่า “แล้วคนที่เป็นนักคอมพิวเตอร์นี่ชาติก่อนเกิดเป็นอะไรล่ะครับ”

ทำเอาอึ้งกันทั้งวงไปพักหนึ่ง ก่อนพี่คนเดิมจะตอบอย่างระมัดระวังว่า น่าจะเป็นฤษีมีฤทธิ์หรือพวกเล่นของคุณไสย อะไรทำนองนี้

ในวันนั้นเห็นอาการพี่แกเหมือนคนถูกเบรค ก็เลยไม่ได้ถามหรือซักค้านอะไรต่อ ทั้งที่ออกจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง

แต่พอเวลาผ่านไป ยิ่งรู้สึกว่าคำตอบของพี่คนนั้นน่าจะมีส่วนจริงอยู่ไม่น้อย สังเกตจากเวลาที่ผมได้ไปแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ให้ใครต่อใครได้สำเร็จ ตัวเจ้าของปัญหามองผลงานของผมราวกับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ รายหนึ่งถึงกับเรียกผมว่า “พ่อมดไอที” เลย ถัดจากเรื่องส่วนตัวมาดูในวงการคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตโดยรวม ปัญหาเกี่ยวกับไวรัส สปายแวร์ โทรจันฮอร์ส และอะไรอื่นๆ ที่สร้างปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ของสุจริตชนทั้งหลาย คิดๆ ดูแล้ว พฤติกรรมของผู้สร้างปัญหาเหล่านี้ ก็ไม่ต่างไปจากพวกเล่นคุณไสยใช้อิทธิฤทธิ์เสกหนังความเข้าท้องคู่อริ หรืออะไรทำนองเดียวกันนั่นเอง

มาดูในเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นหัวเรื่องสำคัญของบทความนี้กันบ้าง แต่เดิมที การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่หนึ่งเครื่องขึ้นไปนั้น หากไม่ใช่สื่อบันทึกข้อมูลอย่างแผ่นดิสก์ แผ่นซีดี หรือที่ปัจจุบันพัฒนากันจนเป็นแฟลชไดรฟ์แล้ว ก็ใช้การเชื่อมโยงผ่านระบบเครือข่าย ตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ระบบ LAN ไปจนถึงเครือข่ายใหญ่ๆ อย่างอินเตอร์เน็ต ซึ่งวิธีการเหล่านี้ ยังมีตัวสื่อ หรือเส้นสายให้เห็น ว่าได้มีการเอาแผ่นจากเครื่องนั้นไปใส่เครื่องนี้ หรือต่อสายจากเครื่องนั้นไปเครื่องนี้

แต่เดี๋ยวนี้เราสามารถส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง โดยไม่ต้องดึงแผ่นเข้าๆ ออกๆ หรือต่อสายระโยงระยาง โดยใช้เทคโนโลยีแลนไร้สาย หรือ Wireless LAN แล้วครับ เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์คล้ายเวทย์มนต์คาถา และซับซ้อนกว่าการใช้รีโมททีวีหลายเท่า

การรับส่งข้อมูลไร้สายนั้นมีอยู่หลายแบบ แบบที่เราเริ่มได้ยินชื่อกันมากในระยะหลัง คือ บลูทูธ (Bluetooth) ที่หลายคนใช้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือหรือพีดีเอ แต่ Wireless LAN ที่ผมกล่าวถึงในที่นี้ เป็นอีกเทคโนโลยีที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ โดยได้พัฒนากันมาพอสมควร แต่ในระยะแรกในยังมีราคาค่อนข้างแพง จนเริ่มถูกลงและแพร่หลายมากขึ้นในระยะหลัง เรียกว่า มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11 หรือชื่อที่เรียกกันง่ายๆ ว่า Wi-Fi

ปี 2545 ในระยะแรกที่ผมได้โอนย้ายมาอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น ปรากฏว่าได้มีอาจารย์จากสถาบันที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ได้เสนอให้สำนักงานฯ ใช้ระบบแลนไร้สาย แต่ด้วยราคาอุปกรณ์ที่แพง และไม่มีข้อเสนอเกี่ยวกับระบบงานที่จะนำมาใช้ จึงไม่ได้รับความสนใจใดๆ จนกระทั่งในปี 2548 นี้ เมื่อสำนักงานฯ มีแนวโน้มจะต้องย้ายที่ทำการ ผู้บังคับบัญชาบางท่านจึงได้เริ่มมองความเป็นไปได้ที่จะใช้ Wireless LAN ในสถานที่ใหม่ ทำให้ผมต้องเริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น ประกอบกับเจ้าโน้ตบุ๊คโตชิบามือสองของผมเริ่มมีอาการรวนบ่อยครั้ง จนนึกว่าพอร์ตยูเอสบีเสียไปแล้ว ในปลายเดือนมิถุนายนจึงได้ตัดสินใจซื้อโน้ตบุ๊คตัวใหม่มือหนึ่ง ยี่ห้อ Atec รุ่น Vegus 195 ซึ่งมี Wireless LAN แบบ Built-in ติดตั้งมาให้ในตัว ด้วยความอยากรู้อยากเห็น จึงต้องเสียเงินอีกต่อหนึ่งมาเพื่อซื้อ Wireless LAN แบบ USB มาติดตั้งที่เครื่องตั้งโต๊ะที่บ้าน

การใช้ Wireless LAN ในสำนักงานนั้น นอกจากตัว LAN Card แบบ Wireless ประจำคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องแล้ว ยังจะต้องมีอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบอีก เช่น Access Point ทำหน้าคล้าย HUB ในระบบ LAN ใช้สาย คือกระจายสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์อื่นๆ อีกทั้ง Bridge, Print Server เป็นต้น ตัวหนึ่งที่พยายามโปรโมทกับผู้ใช้ตามบ้าน คือ Wireless ADSL Router ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้ง ADSL Modem และ Access Point ที่จะกระจายสัญญาณให้คอมพิวเตอร์ตัวอื่นในบริเวณเดียวกันใช้อินเตอร์เน็ตพร้อมๆ กันได้ แต่เพื่อการประหยัดในยุคนี้ การเชื่อมโยงสัญญาณระหว่างเครื่องต่อเครื่องโดยใช้แต่เพียง LAN Card ของแต่ละเครื่อง เรียกว่าการติดตั้ง Wireless Network แบบ Ad-hoc ก็ค่อนข้างเพียงพอ รายละเอียดอยู่ในเว็บไซต์ http://www.thelordofwireless.com/ ในบทความชื่อ “การติดตั้ง Wireless Network แบบ Ad-hoc” (http://www.thelordofwireless.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=13)

แล้วระบบแลนไร้สายนี้ มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน? เป็นสิ่งฟุ่มเฟือยเกินไปหรือไม่? ประโยชน์ที่พอจะเห็นได้ก็ดังที่กล่าวในตอนต้นๆ คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยไม่ต้องใช้สื่อหรือการเชื่อมโยงสายใดๆ และที่กล่าวถึงกันมากๆ ตามนิตยสารและเว็บไซต์เกี่ยวกับ Wireless LAN ที่ว่าเราสามารถเล่นอินเตอร์เน็ตที่ไหนในบ้านก็ได้ และใช้พร้อมกันได้หลายคน แต่ถ้าคุณเป็นมนุษย์ไอทีคนเดียวในบ้านดังเช่นผมนี่จะคุ้มหรือไม่? การใช้แฟลชไดรฟ์ในการแลกข้อมูลระหว่างเครื่องตั้งโต๊ะกับโน้ตบุ๊ค หรือการต่อสายแลนแบบสายไขว้ก็อาจจะเพียงพอ ถ้าอยากเล่นอินเตอร์เน็ตก็มาเล่นที่เครื่องตั้งโต๊ะในห้องส่วนตัวก็ได้ไม่ใช่หรือ? คำตอบอาจอยู่ที่งบประมาณเป็นอันดับแรก ตามด้วยคำกล่าวที่ว่า “ใช้แล้วจะติดใจ” ดังที่ได้กล่าวว่า Wireless LAN แบบ USB ที่ผมซื้อมาติดที่เครื่องตั้งโต๊ะนั้น ที่จริงมันเหมาะกับโน้ตบุ๊กรุ่นเก่าที่ไม่มี Wireless มาให้ ตามหลักแล้วผมควรจะซื้อแบบการ์ด PCI ต่างหาก ในตอนที่ตัดสินใจซื้อมานั้น เข้าใจว่านานๆ จะใช้ที แต่พอได้ลองใช้ งานจริงๆ โดยนำโน้ตบุ๊คไปอยู่คนละห้องแล้วใช้งานต่างๆ ทั้งดูไฟล์ copy ไฟล์ และเล่นอินเตอร์เน็ต ฯลฯ มันเป็นความสะดวกอย่างที่บางคนในเว็บเกี่ยวกับ Wireless บอกว่า “รู้งี้ใช้ตั้งนานแล้ว” ตอนนี้ผมเก็บสายแลนแบบไขว้ที่เคยใช้อยู่แต่เดิม และแทบจะไม่ได้ใช้แฟลชไดรฟ์ในบ้านอีกเลย

สำหรับการใช้งานตามสำนักงาน ห้างร้าน องค์กรต่างๆ นั้น ยังไม่ค่อยได้ยินว่ามีการนำ Wireless LAN ไปใช้กับระบบงานภายในมากน้อยเพียงใด เท่าที่มีการโปรโมทกันมากๆ มักจะเป็นเรื่องการให้บริการลูกค้าประเภทผู้เช่าอพาร์ตเมนท์/คอนโดมิเนียม หรือร้านกาแฟหรูๆ อย่างสตาร์บั๊ค ซึ่งเขาจะมีคอมพิวเตอร์แม่ข่ายพร้อม Wireless Access Point หรือที่เรียกกันว่า Hotspot ไว้ให้บริการเท่านั้น ส่วนเครื่องลูกทั้งหลายก็คือเครื่องของลูกค้านั่นเอง ซึ่งจะประหยัดกว่าอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ที่ใช้แลนแบบเดิม เพราะไม่ต้องลงทุนในการซื้อและบำรุงรักษาหรืออัพเกรดเครื่องลูกเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นกิจการที่ให้บริการลูกค้าประเภทมีเงินและมีความเป็นมนุษย์ไอทีพอสมควร ก่อนหน้าที่ผมจะเขียนบทความนี้ ก็เคยมีผู้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับการนำไอทีมาใช้กับร้านคาราโอเกะ ผมก็ได้เสนอว่าระบบ Wireless ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจตัวหนึ่ง

ส่วนท่านใดที่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านมากกว่าหนึ่งเครื่อง และมีความจำเป็นต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเป็นระยะๆ หรือใช้อินเตอร์เน็ตพร้อมๆ กัน ก็น่าจะพิจารณาติดตั้งการ์ดหรืออุปกรณ์ Wireless ดู ราคาเริ่มต้นที่ตัวละพันกว่าบาท รายละเอียดทางเทคนิคอื่นๆ ศึกษาได้จากเว็บไซต์ http://www.thelordofwireless.com/ ครับ แล้วท่านอาจจะติดใจกับความสะดวกแบบไร้สาย ที่น่าอัศจรรย์ราวกับเวทย์มนต์เลยก็ได้ครับ



โหราศาสตร์-ไอที

Amazon Kindle กับ คลังความรู้ทางโหราศาสตร์ของผม วันที่ 30/09/2011   21:13:02
"เว็บบอร์ด" ตามที่ผมเข้าใจ และกฎกติกามารยาทที่ควรจะเป็น วันที่ 23/08/2010   09:52:56
ทำแผนที่ไปบ้านตัวเองง่ายๆ ผ่าน Google Maps วันที่ 04/08/2010   20:49:39
Download: "ย้อนเวลาหาอดีต"กับภาษาคอมพิวเตอร์ BASIC วันที่ 22/06/2010   10:00:34
ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Open Source/Freeware แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ วันที่ 27/10/2009   22:00:38
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อโหราศาสตร์ กับชีวิตประจำวัน วันที่ 02/06/2012   11:57:59
แนะนำ WOT ผู้ช่วยเตือนเว็บอันตราย วันที่ 05/08/2012   10:48:22
แนะนำ filehippo.com วันที่ 06/07/2008   20:40:47
สอนโหราศาสตร์ด้วย YouTube! วันที่ 00/00/0000   00:00:00
Software as a Service กรณีโปรแกรมโหราศาสตร์ยูเรเนียน วันที่ 03/07/2008   22:26:26
บทบาทของตัววัดสถิติเว็บไซต์ (Counter) วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
ประสบการณ์ การโปรโมทเว็บ ทฤษฎี และ ปฏิบัติ วันที่ 00/00/0000   00:00:00
รวมวิธีการดู โทรทัศน์ ทางหน้าจอ คอมพิวเตอร์ วันที่ 05/08/2012   12:40:50
ทางเลือกของ การเปิดเว็บไซต์ ในปัจจุบัน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
เมื่อต้องเลือกใช้ เครื่องพิมพ์ แบบ Multi-Function วันที่ 06/01/2010   23:08:16
ประสบการณ์เริ่มเล่น Internet แบบ Hi Speed วันที่ 06/01/2010   23:12:03 article
ประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ กล้องถ่ายภาพดิจิตอล วันที่ 00/00/0000   00:00:00
จะสอน โหราศาสตร์ ด้วย คอมพิวเตอร์ อย่างไรดี? วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ต่อ คอมพิวเตอร์ ออก โทรทัศน์ วันที่ 05/08/2012   11:27:01
เลือกคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค (NoteBook) สำหรับงาน โหราศาสตร์ วันที่ 06/01/2010   23:05:19
คอมพิวเตอร์ กับ นักโหราศาสตร์ การแย่งงานหรือการแบ่งงาน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
พีดีเอ (PDA: Palm&Pocket PC) กับการจัดระเบียบชีวิต วันที่ 06/01/2010   23:06:07
การกำหนดและรักษา รหัสผ่าน (Password) วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
อาจารย์ Help วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
ศัพท์บัญญัติ เทคโนโลยีสารสนเทศ ของ ราชบัณฑิตยสถาน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
เรียน โหราศาสตร์ อย่างประหยัด ในยุค ไอที วันที่ 02/06/2012   11:59:14 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| โหรา-ประวัติศาสตร์ | โหรา-ไอที | หลักโหรโดนใจ | บทความสมทบ | โหรา-โปรแกรม | ผู้จัดทำ/ผู้สนับสนุน | Site Map |

Custom Search


ติดต่อนายโรจน์ E-mail: webmaster@rojn-info.com
หรือ Mobile: 08-1697-3098
(อาจไม่สะดวกรับสายในบางเวลา)
ยังไม่เปิดสอนและไม่รับพยากรณ์เป็นส่วนตัว
กรุณาอย่าใช้โทรศัพท์หรือส่งอีเมล์มาขอดูดวง เพราะไม่มีเวลาตอบ



มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ โหราศาสตร์แนว อ.จรัญ พิกุล - AstroClassical.com HoraUranian.com ดูดวง
โหราศาสตร์กับเครื่องประดับ บ้านฮวงจุ้ย (fengshuihut.com) ตลาดวิชาฮวงจุ้ยและดวงจีน ผูกดวง/ยูเรเนียนออนไลน์ (MyHora.com)

รวมลิงค์ : เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
eXTReMe Tracker