ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
สำหรับสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
dot
dot
bulletหลักโหรโดนใจ
bulletหลักโหร-ศิวเมษ
bulletโหรา-ประวัติศาสตร์
bulletโหรา-ไอที
bulletโหรา-โปรแกรม
bulletDemo/Freeware
bulletโปรแกรม Virgo07
bulletDelphi กับ Swiss Ephemeris
bulletผูกดวงออนไลน์กับ Astrotheme.com
bulletพิกัดภูมิศาสตร์ ประเทศไทย
bulletwebboard ผลัดกันเขียนเวียนกันอ่าน
dot
dot
bulletกำพล ภาระโภชน์ (Astroman) - ยูเรเนียน
bulletโรงเรียนโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน
bulletอดิเทพ ศรีรัตนไพฑูรย์ - ยูเรเนียน
bulletอาคม ชูจันทร์ - ยูเรเนียน, ลายมือ
bulletชาญชัย เดชะเสฏฐดี (ผู้ร่วมเขียนบทความ)
bulletอาจารย์ ธนกร ตันติถาวร - ยูเรเนียน
dot
dot
bulletประวัติ
bulletการติดต่อ
bulletภาพยนตร์ประวัติศาสตร์
bulletRojnChin's Channel (YouTube)
bulletRojnChin's Blog
bulletร้านค้าออนไลน์
dot
dot
bulletโรงเรียน โหราศาสตร์ ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน
bulletAstro.com
bulletพยากรณ์ดอทคอม
bulletมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยฯ
bulletโหราศาสตร์แนวอาจารย์จรัญ พิกุล
bulletโหรายูเรเนียนดอทคอม
bulletบ้านฮวงจุ้ย
bulletวารสารโหราเวสม์
bulletUranianSoft.com
bulletดูดวงกับ GooSiam.com
bulletMyHora.com: ดูดวงยูเรเนียนออนไลน์
bulletAstro-Seek.com: Full Moons & New Moons
bulletAstro-Seek.com: Aspect Search Engine
bulletLatitude&Longitude เมืองต่างๆ ทั่วโลก
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC
bulletรวม Link เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
bulletแผนผังเว็บไซต์ (Site Map)






ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์


CURRENT MOON


dot
คอมพิวเตอร์ กับ นักโหราศาสตร์ การแย่งงานหรือการแบ่งงาน article
วันที่ 00/00/0000   00:00:00

(จากบทความเก่าของผู้เขียนที่เคยลงใน พยากรณ์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ.2535 หน้า 69-72

ในการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานในวงการใดก็ตาม ย่อมเป็นที่หวาดเกรงกันอยู่เสมอว่าเจ้าเครื่องมืออันมีประสิทธิภาพนี้จะทำให้คนต้องตกงานไปตาม ๆ กัน ซึ่งในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมก็มีแนวโน้มจะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เสียด้วย สำหรับในวงการโหราศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศก็มีการคาดการณ์และหวาดระแวงกันมาบ้างแล้วว่าคอมพิวเตอร์อาจจะเข้ามาทำงานพยากรณ์จนนักโหราศาสตร์ต้องตกงานกันเป็นแถว หรืออย่างดีหน่อยก็จะกลายเป็นแค่คนที่มีความรู้เพียงแค่การกดปุ่มเพียงไม่กี่ปุ่มเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองเห็นว่าเรายังไม่อาจและยังไม่ควรที่จะสร้างให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถถึงขนาดนั้น เพราะมีทัศนะว่าคอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยงานบางอย่างที่เราอาจจะทำได้แต่จะต้องสิ้นเปลืองเวลาและความคิดโดยใช่เหตุ ในกรณีของนักโหราศาสตร์นั้น เชื่อว่าใคร ๆ ก็จะต้องถูกฝึกให้ผูกดวงเองเป็นมาตั้งแต่เริ่มเรียนทีแรกแล้ว แต่เมื่อถึงระดับหนึ่งก็อาจจะต้องการเครื่องมือมาช่วยแบ่งเบาภาระอันนี้ เพื่อสงวนเวลาและความคิดไว้สำหรับการพยากรณ์เพียงอย่างเดียว เปรียบเสมือนการที่ผู้จัดการจะใช้ให้เลขาช่วยร่างหนังสือโต้ตอบให้ ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้จัดการแกจะทำงานนั้นเองไม่เป็น แต่คนระดับท่านไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะต้องทำงานเช่นนั้นเองต่างหาก จึงต้องแบ่งงานบางส่วนให้เลขาทำ ไม่ใช่นั่งบ้าทำเองทุกอย่างเสียคนเดียว หรือปล่อยให้คนอื่นทำหมดทุกอย่างจนตัวเองไม่ต้องทำอะไรในที่นี้เราจะลองพิจารณากันว่างานของนักโหราศาสตร์อย่างไหนที่ควรจะแบ่งให้ "เลขา" ช่วยทำอย่างไหนที่ควรจะทำเองต่อไป

1. การผูกดวง งานด้านนี้นับเป็นเรื่องที่ไม่ยากเย็นสำหรับคอมพิวเตอร์เลย เพียงขอให้ผู้ทำโปรแกรมทราบสูตรในการคำนวณที่ถูกต้อง(ไม่ว่าแบบดาราศาสตร์หรือสุริยยาตร์ก็ตาม)เท่านั้นก็จะสามารถสั่งการให้คอมพิวเตอร์คำนวณให้ได้จนถึงองศาลิบดาตรียางศ์นวางศ์ฤกษ์ได้ในชั่วพริบตา รวดเร็วและถูกต้องแน่นอนกว่าการคำนวณมือซึ่งมนุษย์อาจผิดพลาดหลงลืมในบางจุดขณะคำนวณได้เสมอ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์สามารถที่จะใช้แทนปฏิทินได้แต่ในเรื่องของการผูกดวงเป็นรายๆ ไปเท่านั้น ในการติดตามการโคจรของดาวเป็นช่วง ๆ ติดต่อกันไม่ว่าจะล่วงหน้าหรือย้อนหลัง ดังเช่นการตอบคำถามว่าในเดือนนี้วันไหนจะให้คุณแก่เจ้าชะตามากที่สุด หรือในปีนี้วันไหนเดือนไหนจะเกิดเหตุการณ์อะไรบ้าง เหล่านี้ยังต้องอาศัยการพิจารณาตำแหน่งดาวจากปฏิทินอย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นมีโปรแกรมที่ไหนทั้งของไทยของฝรั่งที่จะให้ข้อมูลดาวอย่างต่อเนื่องได้ในแบบเดียวกับปฏิทินได้ นอกเสียจากจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสร้างปฏิทินดาวเสียเลย จึงเป็นที่แน่นอนว่านอกจากปฏิทินเป็นเล่มๆจะหมดไม่สิ้นไปแล้ว ยังอาจจะได้รับการผลิตอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย

(ในปัจจุบันโปรแกรมที่ดีๆ บางโปรแกรมอาจคำนวณให้ได้ว่าในช่วงเวลาที่ต้องการทราบ จะมีดาวจรอะไรทำมุมกับดาวกำเนิดของเราในวันเวลาอะไร เช่น Solarfire ที่ผมใช้ควบคู่กับโปรแกรมของตัวเอง แม้กระนั้นผมยังเห็นว่ายังมีความแตกต่างกับการดูจากปฏิทินอยู่บ้าง)

2. การพยากรณ์ แม้จะมีความพยายามที่จะพัฒนาความสามารถด้านนี้ให้แก่คอมพิวเตอร์มานานแล้วผู้เขียนกลับมีความเห็นว่าการให้คอมพิวเตอร์เข้ามาทำหน้าที่พยากรณ์โดยสมบูรณ์เป็นสิ่งที่ทำได้ยากและไม่ควรทำ ทั้งนี้เพราะการพยากรณ์เป็นทั้งเรื่องของศาสตร์ ศิลป์ และสถิติ ขณะที่คอมพิวเตอร์สามารถทำได้แต่เรื่องของ "ศาสตร์" บางส่วนที่มีหลักเกณฑ์แน่นอนพอที่จะสอนให้คอมพิวเตอร์ "คิด" และตัดสินใจในขอบเขตแคบ ๆ อันหนึ่งเท่านั้น การตัดสินใจที่ละเอียดอ่อนหลายประการยังจะต้องอาศัยสติปัญญาของมนุษย์ที่ยังรู้จักประยุกต์หลักเกณฑ์ที่เรียนมาและสถิติที่เคยพบเห็นให้เหมาะกับปัญหาของเจ้าชะตาที่อยู่ตรงหน้า

อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการที่จะใช้คอมพิวเตอร์ให้คุ้มค่าในฐานะ "เลขา" แล้ว ก็อาจแบ่งหน้าที่การเตรียมข้อมูลการพยากรณ์บางอย่างให้มันทำก่อนที่เราเองจะตัดสินใจสรุปคำพยากรณ์ในขั้นสุดท้ายได้ ดังที่อาจารย์พลตรีประยูร พลอารีย์ ได้เคยกล่าวไว้ในหนังสือของท่านและในที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ ๆ ว่า "อ่านเสียก่อน พยากรณ์ทีหลัง" กล่าวคือในการดูดวงที่เราเรียกกันว่าพยากรณ์แต่ละครั้งนั้นจริง ๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การอ่านดวงกับการพยากรณ์ การอ่านดวงคือการสำรวจดวงชะตานั้น ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วนว่ามีเงื่อนไขสำคัญ ๆ อะไรตรงไหนที่จะบ่งบอกชีวิตเจ้าชะตาได้บ้าง ซึ่งอาจจะเป็นการสำรวจศูนย์รังสีหรือจุดอิทธิพลตามแบบยูเรเนียน หรือตรวจอุจเกษตรทักษาหาเจ้าเรือนกันไปตามแบบไทย ๆ ก็แล้วแต่ใครจะถนัด แล้วจึงมาถึงขั้นที่จะเอาข้อมูลที่ได้เหล่านี้มาสรุปเป็นคำพยากรณ์ว่าเจ้าชะตามีวิถีชีวิตดีร้ายอย่างไรในด้านไหนบ้าง หน้าที่ที่แท้จริงของคอมพิวเตอร์น่าจะอยู่แต่ในขั้นของการอ่านนี่เองเนื่องจากจะต้องอาศัยความจำความหมายกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ค่อนข้างมากบางทีจะต้องอาศัยการคำนวณเข้ามาช่วยอีกมากดังในกรณีการตรวจศูนย์รังสีของยูเรเนียนหรือการคำนวณอินทภาษบาทจันทร์ ซึ่งถ้าหลงลืมกฎเกณฑ์หรือคำนวณอะไรผิดไปแล้วก็มีสิทธิ "หน้าแตก" ได้ง่าย ก็โอนให้คอมพิวเตอร์มันช่วย "อ่าน" ดวงซะก่อน แล้วค่อยเอาข้อมูลที่ได้มาสรุปเป็นคำพยากรณ์อีกที อย่างนี้แล้วก็มาตั้งสโลแกนกันใหม่ว่า "ให้คอมพิวเตอร์อ่านดวงเสียก่อน แล้วคนค่อยพยากรณ์ทีหลัง" จะดีไหม?

3. การจัดเก็บสถิติดวงชะตา การจะเป็นนักโหราศาสตร์ที่ดีได้นั้น ย่อมจะต้องอาศัยการดูดวงมามาก และไม่ใช่สักแต่ว่าดูจบแล้วเลิกกันไป หากมีดวงใดที่มีความสำคัญหรือเป็นดวงของผู้ที่จะต้องพบหน้ากันบ่อย ๆ แล้ว การบันทึกดวงชะตาไว้เพื่อนำมาศึกษาทบทวนหรือพยากรณ์กันอีกย่อมเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งลำพังการจดลงในเศษกระดาษหรือสมุดก็ยังไม่เป็นระเบียบพอที่จะค้นหาได้ในเวลาอันรวดเร็ว สำหรับผู้ศึกษาคอมพิวเตอร์นั้นจะมีศัพท์ที่เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะนี้โดยเฉพาะ เรียกกันว่า "ฐานข้อมูล"(Database) หมายถึงแหล่งที่จะใช้จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเพื่อความสะดวกในการค้นหาตรวจสอบตลอดจนการปรับปรุงแก้ไขต่าง ๆ ผู้ที่เคยศึกษาคอมพิวเตอร์จะรู้จักโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการจัดฐานข้อมูลทางธุรกิจอย่าง dBASE III, dBASE IV, FOXBASE ฯลฯ เป็นอย่างดี แต่โปรแกรมเหล่านี้จะไม่มีคำสั่งสำหรับการคำนวณระดับสูงที่ใช้ในการคำนวณดาวเลย การที่จะสร้างฐานข้อมูลสำหรับเก็บสถิติทางโหราศาสตร์จึงต้องหาทางให้เชื่อมต่อกับโปรแกรมการคำนวณ หรือกำหนดให้โปรแกรมการคำนวณทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลไปด้วยในตัว

4. การเรียนการสอนวิชาโหราศาสตร์ วิชาโหราศาสตร์ก็เหมือนกับวิชาอื่น ๆ ตรงที่ไม่อาจอธิบายบางเรื่องให้เข้าใจกันได้ง่าย ๆ ด้วยคำพูดของครูอาจารย์หรือตัวอักษรในตำรา จึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือของครูอาจารย์ที่เรียกกันว่า "สื่อการสอน" นับตั้งแต่การแสดงท่าทางหรือวาดภาพประกอบ การใช้กระดานดำ สไลด์และภาพยนตร์ เครื่องฉายแผ่นใส ฯลฯ ซึ่งก็มีผู้ศึกษาคอมพิวเตอร์เห็นว่าจะสามารถพัฒนาโปรแกรมชนิดหนึ่งขึ้นมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ได้ เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าซีเอไอ ("CAI" - Computer Aid Instruction) ซึ่งผู้เขียนยังไม่ค่อยจะมีความรู้และไม่ได้เห็นตัวอย่างมากนัก นอกจากทราบคร่าว ๆ ว่าโปรแกรมพวกนี้มักจะใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวแสดงสาธิตอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้น ๆ ตลอดจนมีแบบทดสอบให้ผู้เรียนทบทวนความรู้ได้ด้วย ดังเช่นถ้าจะสร้างโปรแกรมสำหรับช่วยสอนวิชาโหราศาสตร์ ก็อาจจะให้โปรแกรมแสดงภาพจักรราศีที่ปรากฎบนท้องฟ้าแบบเดียวกับการแสดงของท้องฟ้าจำลอง หรือแสดงรูปภาพลักษณะคนที่เกิดในราศีต่าง ๆ ฯลฯ ตามแต่จะคิดกันขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม การสร้างโปรแกรมช่วยสอนดังที่ว่ามานี้ ในเมืองไทยเราเองยังมีการวิจารณ์กันว่าผู้สร้างโปรแกรมยังเข้าใจแต่เพียงว่าเป็นการสร้างแบบทดสอบให้เลือก ก.ข.ค.ง. ซึ่งเป็นการเรียนที่ไม่เป็นธรรมชาติ และควรออกแบบโปรแกรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กันเป็นกลุ่ม ไม่ใช่ให้ผู้เรียนนั่งง่วนอยู่กับหน้าจออยู่คนเดียวเหมือนกับการอ่านตำรา อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยังไม่เคยได้ยินว่าวงการโหราศาสตร์เมืองนอกมีการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านนี้กันเลย ยิ่งสมาคมโหรของเราแล้วยังนึกไม่ออกเลยว่าจะมีอาจารย์ผู้ใดจะลงทุนเขียนโปรแกรมทำนองนี้แล้วยกเครื่องมาสอนในห้องได้ หากจะริเริ่มกันจริง ๆ แล้วคงยังไม่ต้องคำนึงถึงการเรียนเป็นกลุ่มแบบนักการศึกษาเขาว่าก็ได้ แค่สร้างโปรแกรมที่เสมือนตำราที่มีชีวิตชีวาขึ้นมาได้ก็นับว่าก้าวหน้ามากแล้ว

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คงพอจะเห็นแล้วว่า คอมพิวเตอร์ไม่ใช่สิ่งที่จะแย่งงานมนุษย์เสมอไป ในเมื่อความจริงมนุษย์สร้างมันขึ้นมาเพียงเพื่อช่วยเหลืองานบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องเหมาทำเองเสียทั้งหมดเท่านั้น การไปตั้งข้อรังเกียจเอากับมันหรือไปคาดหวังผลจากมันมากเกินไปล้วนแต่เป็นสิ่งที่เหินห่างจากทางสายกลางทั้งสิ้น ทางที่ดีที่สุดจึงควรที่จะเรียนรู้เจ้าเครื่องมือนี้อย่างรู้เท่าทันเพื่อใช้แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาโหราศาสตร์และความเป็นมนุษย์ของเราเท่านั้น



โหราศาสตร์-ไอที

Amazon Kindle กับ คลังความรู้ทางโหราศาสตร์ของผม วันที่ 30/09/2011   21:13:02
"เว็บบอร์ด" ตามที่ผมเข้าใจ และกฎกติกามารยาทที่ควรจะเป็น วันที่ 23/08/2010   09:52:56
ทำแผนที่ไปบ้านตัวเองง่ายๆ ผ่าน Google Maps วันที่ 04/08/2010   20:49:39
Download: "ย้อนเวลาหาอดีต"กับภาษาคอมพิวเตอร์ BASIC วันที่ 22/06/2010   10:00:34
ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Open Source/Freeware แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ วันที่ 27/10/2009   22:00:38
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อโหราศาสตร์ กับชีวิตประจำวัน วันที่ 02/06/2012   11:57:59
แนะนำ WOT ผู้ช่วยเตือนเว็บอันตราย วันที่ 05/08/2012   10:48:22
แนะนำ filehippo.com วันที่ 06/07/2008   20:40:47
สอนโหราศาสตร์ด้วย YouTube! วันที่ 00/00/0000   00:00:00
Software as a Service กรณีโปรแกรมโหราศาสตร์ยูเรเนียน วันที่ 03/07/2008   22:26:26
บทบาทของตัววัดสถิติเว็บไซต์ (Counter) วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
ประสบการณ์ การโปรโมทเว็บ ทฤษฎี และ ปฏิบัติ วันที่ 00/00/0000   00:00:00
รวมวิธีการดู โทรทัศน์ ทางหน้าจอ คอมพิวเตอร์ วันที่ 05/08/2012   12:40:50
ทางเลือกของ การเปิดเว็บไซต์ ในปัจจุบัน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
เมื่อต้องเลือกใช้ เครื่องพิมพ์ แบบ Multi-Function วันที่ 06/01/2010   23:08:16
ทดลองเล่น Wireless LAN (Wi-Fi) ในบ้าน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
ประสบการณ์เริ่มเล่น Internet แบบ Hi Speed วันที่ 06/01/2010   23:12:03 article
ประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ กล้องถ่ายภาพดิจิตอล วันที่ 00/00/0000   00:00:00
จะสอน โหราศาสตร์ ด้วย คอมพิวเตอร์ อย่างไรดี? วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ต่อ คอมพิวเตอร์ ออก โทรทัศน์ วันที่ 05/08/2012   11:27:01
เลือกคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค (NoteBook) สำหรับงาน โหราศาสตร์ วันที่ 06/01/2010   23:05:19
พีดีเอ (PDA: Palm&Pocket PC) กับการจัดระเบียบชีวิต วันที่ 06/01/2010   23:06:07
การกำหนดและรักษา รหัสผ่าน (Password) วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
อาจารย์ Help วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
ศัพท์บัญญัติ เทคโนโลยีสารสนเทศ ของ ราชบัณฑิตยสถาน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
เรียน โหราศาสตร์ อย่างประหยัด ในยุค ไอที วันที่ 02/06/2012   11:59:14 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| โหรา-ประวัติศาสตร์ | โหรา-ไอที | หลักโหรโดนใจ | บทความสมทบ | โหรา-โปรแกรม | ผู้จัดทำ/ผู้สนับสนุน | Site Map |

Custom Search


ติดต่อนายโรจน์ E-mail: webmaster@rojn-info.com
หรือ Mobile: 08-1697-3098
(อาจไม่สะดวกรับสายในบางเวลา)
ยังไม่เปิดสอนและไม่รับพยากรณ์เป็นส่วนตัว
กรุณาอย่าใช้โทรศัพท์หรือส่งอีเมล์มาขอดูดวง เพราะไม่มีเวลาตอบ



มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ โหราศาสตร์แนว อ.จรัญ พิกุล - AstroClassical.com HoraUranian.com ดูดวง
โหราศาสตร์กับเครื่องประดับ บ้านฮวงจุ้ย (fengshuihut.com) ตลาดวิชาฮวงจุ้ยและดวงจีน ผูกดวง/ยูเรเนียนออนไลน์ (MyHora.com)

รวมลิงค์ : เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
eXTReMe Tracker