ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
สำหรับสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
dot
dot
bulletหลักโหรโดนใจ
bulletหลักโหร-ศิวเมษ
bulletโหรา-ประวัติศาสตร์
bulletโหรา-ไอที
bulletโหรา-โปรแกรม
bulletDemo/Freeware
bulletโปรแกรม Virgo07
bulletDelphi กับ Swiss Ephemeris
bulletผูกดวงออนไลน์กับ Astrotheme.com
bulletพิกัดภูมิศาสตร์ ประเทศไทย
bulletwebboard ผลัดกันเขียนเวียนกันอ่าน
dot
dot
bulletกำพล ภาระโภชน์ (Astroman) - ยูเรเนียน
bulletโรงเรียนโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน
bulletอดิเทพ ศรีรัตนไพฑูรย์ - ยูเรเนียน
bulletอาคม ชูจันทร์ - ยูเรเนียน, ลายมือ
bulletชาญชัย เดชะเสฏฐดี (ผู้ร่วมเขียนบทความ)
bulletอาจารย์ ธนกร ตันติถาวร - ยูเรเนียน
dot
dot
bulletประวัติ
bulletการติดต่อ
bulletภาพยนตร์ประวัติศาสตร์
bulletRojnChin's Channel (YouTube)
bulletRojnChin's Blog
bulletร้านค้าออนไลน์
dot
dot
bulletโรงเรียน โหราศาสตร์ ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน
bulletAstro.com
bulletพยากรณ์ดอทคอม
bulletมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยฯ
bulletโหราศาสตร์แนวอาจารย์จรัญ พิกุล
bulletโหรายูเรเนียนดอทคอม
bulletบ้านฮวงจุ้ย
bulletวารสารโหราเวสม์
bulletUranianSoft.com
bulletดูดวงกับ GooSiam.com
bulletMyHora.com: ดูดวงยูเรเนียนออนไลน์
bulletAstro-Seek.com: Full Moons & New Moons
bulletAstro-Seek.com: Aspect Search Engine
bulletLatitude&Longitude เมืองต่างๆ ทั่วโลก
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC
bulletรวม Link เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
bulletแผนผังเว็บไซต์ (Site Map)






ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์


CURRENT MOON


dot
โหราศาสตร์ สามมิติ article
วันที่ 00/00/0000   00:00:00


ข้อถกเถียงประเด็นหนึ่งในวงการโหราศาสตร์เมืองไทยที่ผมได้รับรู้มาตั้งแต่เริ่มศึกษาโหราศาสตร์ คือเรื่องที่ว่าควรดูดวงจนถึงองศาหรือไม่

นักโหราศาสตร์ไทยส่วนใหญ่ในเมืองไทยมักมีความเห็น(และความเคยชิน)ว่า การดูเพียงตำแหน่งดาวในราศีก็เพียงพอ จะดูการทำมุม กุม เล็ง โยค หรือนับเรือนชะตา ก็เหมาทั้งราศีมันก็ง่ายดี ไม่ต้องคิดอะไรมาก ซึ่งโหราศาสตร์ง่ายๆ แบบนี้ก็ให้ความถูกต้อง บอกข้อมูลเจ้าชะตาได้ในระดับหนึ่งจริงๆ

แต่นักโหราศาสตร์อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งมีทั้งนักโหราศาสตร์สากล-ยูเรเนียน รวมไปจนถึงนักโหราศาสตร์ไทยบางสายทั้งที่ใช้ปฏิทินสุริยยาตร์(อาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว) และปฏิทินดาราศาสตร์ตัดอยนางศ (อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร) มีความเห็นว่า การดูแต่เพียงดาวในราศียังไม่เพียงพอ แต่ละราศีต่างก็มีอาณาเขตกว้างขวาง แบ่งออกได้เป็นราศีละ 30 องศา แต่ละองศาแบ่งเป็น 60 ลิปดา และแต่ละลิปดาแบ่งเป็น 60 ฟิลิปดา แต่ละส่วนย่อยๆ ที่ว่ามานี้คิดเป็นระยะทางในท้องฟ้าหรืออวกาศจริงๆ ก็ยังกว้างใหญ่ไม่ใช่น้อย ในการวัดมุมต่างๆ ทั้งสำนักโหราศาสตร์สากลและโหราศาสตร์ไทยบางพวกจึงกำหนดกฎเกณฑ์ว่าดาวต่างๆ จะทำมุมกันได้ในระยะวังกะไม่เกินเท่านั้นเท่านี้องศา

ในสไตล์ไทยๆ 1 ราศียังแบ่งออกเป็น 3 ตรียางค์ ตรียางค์ละ 3 นวางค์ รวมราศีละ 9 นวางค์ ทั้งจักรราศี ซึ่งแบ่งออกเป็น 12 ราศี หรือ 36 ตรียางค์ หรือ 108 นวางค์ ยังมีฤกษ์อยู่ทั้งหมด 27 ฤกษ์ ๆ ละ 4 นวางค์ ในการวัดมุมของโหราศาสตร์ไทยบางสำนักจึงหันมาดูนวางค์แทนการใช้ระยะวังกะเป็นองศา เช่น ต้องกุมกันในนวางค์เดียวกัน เป็นต้น

ถ้าเป็นสไตล์ยูเรเนียนก็จะดาวต่างๆ ที่มีมากอยู่แล้วมาหาศูนย์รังสีและจุดอิทธิพลต่างๆ นับเป็นพันเป็นหมื่นจุด ในแต่ละองศาจึงอาจมีจุดของยูเรเนียนนับเป็นสิบๆ จุดขึ้นไป แล้วแต่จะคำนวณจุดให้พิสดารแค่ไหน

พวกนักเล่นองศาทั้งหลายโดยลึกๆ มักจะดูถูกพวกที่ดูดวงแบบยึดแต่ราศีว่าดูดวงอย่างฉาบฉวย ในทางกลับกัน พวกที่ยึดเพียงแค่ราศีก็มักจะมองว่าพวกเล่นองศาคิดมาก มัวแต่วัดมุมไม่ทันกิน

เกริ่นมาค่อนข้างยาวเพื่อกำลังจะบอกว่า สิ่งที่เรียกกันว่า “ดวง” ที่เราดูกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าเราจะแบ่งมันง่ายๆ เป็น 12 ช่องราศี หรือจะแบ่งมันอย่างละเอียดยิบแค่ไหนก็ตาม มันก็ยังเป็นแค่แผ่นกลมๆ แบนๆ เรียบๆ ทั้งที่ท้องฟ้าหรืออวกาศจริงที่ห่อหุ้มเรามีความซับซ้อนเป็นสามมิติ (กว้าง-ยาว-ลึก) เช่นเดียวกับสรรพสิ่งทั่วๆไป แทนที่เราจะดูดวงแต่เพียงแผ่นกลมๆ แบนๆ เราอาจนำข้อมูลพื้นฐานทางดาราศาสตร์บางประการ ซึ่งนักโหราศาสตร์สากลบางสำนักก็ใช้อยู่ เข้ามาร่วมพิจารณาได้ ดังต่อไปนี้

พิกัดทางดาราศาสตร์ : ความเอียงสูง-ต่ำจากแนวระนาบ
จากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เมื่อเราสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นเป็นเสมือนดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกเป็นเส้นแนวเส้นหนึ่ง ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Ecliptic ซึ่งมีการบัญญัติเป็นภาษาไทยว่า “เส้นสุริยวิถี”หรือ “ระวิมรรค” จักรราศีหรือราศีทั้ง 12 ที่เรารู้จักกันดีนั้น ก็คือ กลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่มที่เส้น Ecliptic พาดผ่านนั้นเอง ส่วนดาวเคราะห์อื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์แล้วเราสังเกตเห็นเสมือนโคจรรอบโลกนั้น แม้ว่าจะโคจรผ่านจักรราศีทั้ง 12 เช่นกัน แต่เส้นทางโคจรของมันก็มิได้เป็นแนวเดียวกันกับเส้นสุริยวิถี โดยมีมุมเอียงต่อกันเล็กน้อย ในบางเวลาดาวเคราะห์แต่ละดวงจึงอาจอยู่สูงกว่าแนวเส้นสุริยวิถีบ้าง ต่ำกว่าแนวเส้นสุริยวิถีบ้าง

เรื่องมันยิ่งซับซ้อนขึ้นอีกเมื่อในทางดาราศาสตร์ได้อนุมานให้อวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ห่อหุ้มโลกเรานี้เป็นเสมือนทรงกลมเช่นเดียวกับโลก ในทางภูมิศาสตร์กำหนดให้โลกมีเส้นแลตติจูดและเส้นลองกิจูดอย่างไร ในทางดาราศาสตร์ก็กำหนดให้ทรงกลมท้องฟ้ามีเส้นแลตติจูดและลองกิจูดเช่นกัน เส้นพิกัดที่สำคัญที่สุดของทรงกลมท้องฟ้า คือ เส้นศูนย์สูตรฟ้า ที่แบ่งทรงกลมท้องฟ้าเป็นครึ่งบนกับครึ่งล่าง ซึ่งถ่ายแบบมาจากเส้นศูนย์สูตรโลกที่แบ่งโลกเป็นซีกเหนือกับซีกใต้นั้นเอง แน่นอนว่าเส้นพิกัดท้องฟ้าเหล่านี้ไม่มีเส้นใดอยู่ในแนวเดียวกันหรือขนานกันกับเส้นสุริยวิถีหรือเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์ดวงใดเลย

ในทางดาราศาสตร์จะอาศัยเส้นสุริยวิถีและเส้นศูนย์สูตรฟ้านี้เป็นหลักในการกำหนดตำแหน่งของดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ และวัตถุท้องฟ้าต่างๆ เส้นทั้งสองนี้ซึ่งมีความเอียงต่อกันเล็กน้อยจะตัดกันที่จุดสองจุด ด้านที่อาทิตย์ตัดขึ้นมาจากเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าเรียกว่าจุด Vernal Equinox หรือในทางโหราศาสตร์สากลคือจุดเริ่มต้นราศีเมษ การกำหนดตำแหน่งในวิชาโหราศาสตร์ ไม่ว่าจะดูเพียงว่าอยู่ในราศีใด หรือกำหนดตำแหน่งอย่างละเอียดเป็นองศา ลิปดา ที่มีศัพท์บัญญัติว่า “สมผุส” นั้น ก็คือการวัดตำแหน่งดาวตามแนวสุริยวิถีนี้เอง โดยโหราศาสตร์สากล ใช้ Vernal Equinox เป็นจุด 0 องศาราศีเมษ ส่วนโหราศาสตร์นิรายนะแม้จะอิงตำแหน่งดาวฤกษ์ก็ยังเป็นการวัดตามแนวเส้นสุริยวิถีนั่นเอง

ไอ้ที่เถียงกันว่าจะดูแค่ตำแหน่งดาวในราศีหรือจะต้องดูองศาลิปดาที่ผมเกริ่นไว้แต่แรกก็เป็นเพียงการวัดตำแหน่งในแนวสุริยวิถีที่ว่าโดยไม่ได้คำนึงว่าดาวเคราะห์แต่ละดวงอาจอยู่สูงหรือต่ำกว่าแนวเส้นสุริยวิถีได้

การที่ดวงจันทร์ “กุม” กับอาทิตย์อยู่ทุกเดือนในวันจันทร์ดับหรือวันอมาวสี โดยที่เกิดเป็นสุริยคราสเพียงปีละไม่กี่ครั้ง ก็เพราะว่าจันทร์อยู่สูงกว่าอาทิตย์บ้าง ต่ำกว่าอาทิตย์บ้าง นานๆ ถึงจะมาอยู่ใกล้หรืออยู่ในแนวเดียวกับสุริยวิถีจนบังดวงอาทิตย์ได้

การกุมกันระหว่างดาวเคราะห์อื่นๆ ก็เช่นกัน การดูแบบโหราศาสตร์แม้จะดูจนถึงองศาลิปดาว่าเท่ากัน แต่หากดูในท้องฟ้าจริงคงยากที่จะเห็นการซ้อนทับหรือบดบังกันจริงๆ

การวัดตำแหน่งดาวหรือวัตถุไปตามแนวสุริยวิถีว่างห่างาจากจุดเมษกี่องศาลิปดา เรียกว่า Ecliptic Longitude ส่วนการวัดว่าดาวหรือวัตถุนั้นๆ อยู่สูงหรือต่ำกว่าสุริยวิถีกี่องศาลิปดา เรียกว่า Ecliptic Latitude

ส่วนการวัดตำแหน่งที่ใช้มากในทางดาราศาสตร์ คือ การวัดไปตามแนวเส้นศูนย์สูตรฟ้าว่าห่างจากจุดเมษ หรือ Vernal Equinox เท่าไหร่ เรียกว่า Right Ascension ส่วนการวัดว่าดาวหรือวัตถุอยู่สูงหรือต่ำกว่าแนวเส้นศูนย์สูตรฟ้าเท่าไหร่ เรียกว่า Declination ค่าไรท์แอสเซนชันนั้น นอกจากจะวัดเป็นองศาลิปดาเช่นเดียวกับการวัดตามแนวสุริยวิถีแล้ว ยังถือว่าเป็นเวลาทางดาราศาสตร์โดยเอา 15 หารค่าองศาออกมาเป็นค่าชั่วโมง นาที เหมือนเวลาทั่วไป บางครั้งจึงเรียกไรท์แอสเซนชันว่ามุมชั่วโมง หรือ Hour Angle ซึ่งรายละเอียดศึกษาได้จากตำราและเว็บไซต์ทางดาราศาสตร์ทั่วไป

ในการนำพิกัดทางดาราศาสตร์มาใช้ในโหราศาสตร์สากลนั้น ปรากฏว่าแม้ในแนวระนาบจะวัดสมผุสดาวแบบ Ecliptic Longitude แต่เมื่อวัดความสูงต่ำของดาวกลับใช้ Declination มากกว่า Ecliptic Latitude คือจะมีการวัดว่าดาวคู่ใดที่มีมุมขนานกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเท่ากัน ถือว่ามีความสัมพันธ์กันทำนองเดียวกับการทำมุมกันในทางระนาบ ถ้าเป็นตำแหน่งสูงจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าเหมือนกันหรือต่ำจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าเหมือนกันและมีองศาเท่ากัน เรียกว่า Parallel แต่ถ้าดวงหนึ่งสูงกว่าแล้วอีกดวงต่ำกว่าในจำนวนองศาเดียวกัน เรียกว่า Contra Parallel ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าในทางระนาบจะทำมุมอะไรกันหรือไม่

ส่วนการที่ดาวกุมกันโดยมีแลตติจูดหรือเดคลิเนชันเท่ากันนั้น นอกจากกรณีสุริยุปราคาแล้ว จะมีกล่าวถึงมากในกรณีที่ดวงจันทร์กุมกับดาวเคราะห์อื่น เรียกว่า Occultation ซึ่งจะมีอิทธิพลแรงว่าการกุมโดยปกติ ส่วนกรณีอาทิตย์นั้น เพียงการกุมกับดาวเคราะห์อื่นโดยไม่ต้องดูแลตติจูดหรือเดคลิเนชัน บางสำนักก็ถือว่าดาวนั้นถูกอาทิตย์เผาไหม้ เสมือนไม่มีดาวพระเคราะห์นั้นอยู่ในดวงนั้นๆ เลย ซึ่งอาจจะฟังดูเว่อไปสักนิด โดยมียกเว้นกรณีดาวพระเคราะห์วงในคือ พุธ กับ ศุกร์ ว่าถ้ากุมกับอาทิตย์ในขณะที่กำลังพักร์ ถือว่าไม่เสีย เพราะเป็นช่วงที่พุธหรือศุกร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก ไม่ใช่ไปหลบอยู่ข้างหลังดวงอาทิตย์ดังในกรณีทั่วไป สำหรับผมเองกลับนึกถึงทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์อันหนึ่งที่ว่า “สสารไม่มีการสูญหายไปไหน” เพียงแต่อาจจะเปลี่ยนคุณภาพไปบ้างในทางใด ก็ต้องขอฝากปัญหานี้ให้ท่านได้ช่วยกันศึกษาค้นคว้าต่อไป

พิกัดทางดาราศาสตร์ที่เพิ่มมาอีก 3 ค่า คือ Ecliptic Latitude, Right Ascension และ Declination นี้ มีคำนวณไว้ในปฏิทินโหราศาสตร์บางฉบับ และโปรแกรมโหราศาสตร์ต่างประเทศบางโปรแกรม รวมถึงโปรแกรมดาราศาสตร์ที่พอจะหาแบบ Freeware/Shareware ได้ไม่ยาก

ระยะห่างจากโลก (อุจจนี)
เมื่อพูดว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์โคจรรอบโลก ผู้ที่ห่างเหินจากวิชาดาราศาสตร์อาจจะเข้าใจว่าเป็นการโคจรแบบวงกลม ที่ทุกจุดบนเส้นรอบวงห่างจากจุดศูนย์กลางอันหนึ่งอันเดียวเป็นระยะทางเท่ากัน แต่ในทางดาราศาสตร์ระบุว่า เส้นทางโคจรของดาวหรือวัตถุทั้งหลายในจักรวาลไม่ว่ารอบอะไรก็ตาม จะเป็นวงรี หรือมีจุดศูนย์กลางสองจุดแทนที่จะเป็นจุดเดียว โดยจะรีมากรีน้อยขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางทั้งสอง เรียกค่านี้ว่า Eccentricity ดังกรณีเส้นทางโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ดวงอาทิตย์ก็จะอยู่ที่จุดศูนย์กลางจุดหนึ่งในสองที่ว่านี้ เป็นต้น กรณีดาวเคราะห์อื่นโคจรรอบดวงอาทิตย์และจันทร์โคจรรอบโลกก็มีลักษณะทำนองเดียวกัน

สรุปง่ายๆ ว่าเมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในจักรวาลโคจรรอบอีกสิ่งหนึ่ง ทั้งสองสิ่งนั้นไม่ได้มีระยะห่างเท่ากันตลอดเวลา เมื่อวิชาดาราศาสตร์-โหราศาสตร์เอาโลกเป็นจุดศูนย์กลางของการสังเกตดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ต่างๆ เสมือนหนึ่งว่าปัจจัยเหล่านี้โคจรรอบโลก ปัจจัยเหล่านี้จึงไม่มีปัจจัยใดมีระยะห่างจากโลกเท่ากันตลอดเวลา
อาจารย์จรัญ พิกุล ได้เคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “โหราศาสตร์ระบบอุจจนี” กล่าวถึงเรื่องระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ต่างๆ ไว้ อย่างน่าสนใจ โดยการเปรียบเทียบระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์แต่ละดวงกับโลกนั้น ไม่ได้ใช้ระยะทางจริงอันจะทำให้ดวงจันทร์ซึ่งอยู่ใกล้โลกที่สุดได้เปรียบไปโดยปริยาย แต่มีระบบการให้คะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 100 ตามอัตราส่วนของระยะทางของดาวนั้น เช่น อาทิตย์ห่างจากโลกโดยเฉลี่ย 1 หน่วยดาราศาสตร์ (AU = Astronomical Unit) เมื่ออาทิตย์มีระยะเท่ากับค่าเฉลี่ยพอดีก็มีคะแนน 50 เมื่อเข้าใกล้โลกมากกว่านี้ก็มีคะแนนเพิ่มขึ้น ถ้าระยะห่างมากขึ้นคะแนนก็น้อยลง คือมีอิทธิพลน้อยลง ดาวอื่นๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน โดยแตกต่างแต่เพียงค่าระยะห่างเฉลี่ยของดาวแต่ละดวง

การเปรียบเทียบว่าดาวใดมีอิทธิพลมากกว่ากันจึงเปรียบเทียบด้วยคะแนน 0 ถึง 100 ที่คิดตามอัตราส่วนที่ว่านี้

สิ่งที่ “ระบบอุจจนี” ค้านกับระบบอื่นโดยเฉพาะโหราศาสตร์ไทยก็คือเรื่องของดาวโคจรถอยหลังที่เรียกว่า “พักร์” ซึ่งตีความกันไปว่าเป็นความผิดปกติ ทำให้ดาวไม่มีกำลัง แต่ระบบอุจจนีอาศัยหลักดาราศาสตร์เข้ามาอธิบายว่า การ “พักร์” เกิดขึ้นในขณะที่ดาวเคราะห์นั้นๆ โคจรเข้าใกล้โลก เมื่อดูในดวงไม่ระบบใดก็ตาม จะเห็นว่าดาวเคราะห์วงนอก (ตั้งแต่อังคารไปจนถึงพลูโต หรือถึงดาวนอกสุดของจักรวาลตามที่ท่านเชื่อ แล้วแต่ว่าท่านใช้โหราศาสตร์ระบบใด) จะโคจรพักร์ในขณะที่อยู่คนละฝั่งจักรราศีกับอาทิตย์เสมอ และเมื่อถึงจุดที่เล็งกับอาทิตย์พอดีองศาก็จะอยู่ใกล้โลกมากที่สุดในรอบปีนั้น ตรงกันข้ามกับเมื่อดาวนั้นกุมอาทิตย์จะเป็นระยะที่ดาวนั้นอยู่ห่างโลกจนไปอยู่หลังดวงอาทิตย์เลย ส่วนดาวพุธและดาวศุกร์ที่เป็นดาวเคราะห์วงในนั้นจะอยู่ใกล้โลกมากที่สุดเมื่อกุมกับอาทิตย์ในขณะโคจรพักร์ หากเป็นการกุมอาทิตย์ขณะโคจรปกติ ก็จะไปอยู่ข้างหลังดวงอาทิตย์ คือ อยู่ห่างโลกมากที่สุดเช่นกัน

เป็นที่น่าเสียดายว่าในโปรแกรมหรือปฏิทินโหราศาสตร์ทั่วไปไม่ได้ระบุค่าระยะห่างจากโลกของดาวเคราะห์แต่ละดวงไว้ หรือหากจะมีในโปรแกรมดาราศาสตร์ใดๆ บ้าง ก็คงระบุเป็นหน่วยดาราศาสตร์ ไม่มีการระบุเป็นคะแนนตามแบบที่กำหนดไว้ในหนังสือ “โหราศาสตร์ระบบอุจจนี” แม้ในภาคผนวกของหนังสือเล่มดังกล่าวก็มีเพียงปฏิทินหยาบๆ ที่ระบุค่าอุจจนีของดาวต่างๆ ไว้ในช่วงระยะเวลาไม่มากนัก หากจะหันมาคำนวณค่าอุจจนีกันอย่างจริงจัง ก็คงต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าทางดาราศาสตร์ประกอบกันอีกพอสมควร

อัตราการโคจร
จากการที่ไม่มีดาวเคราะห์ใดอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะเท่ากันตลอดเวลา ประกอบกับการมีแรงดึงดูดหรือปฏิกิริยาโน้มถ่วงต่อกันบางประการ ทำให้อัตราการโคจรต่อวัน (หรือต่อเดือน ต่อปี ฯลฯ แล้วแต่กำหนด) ของดาวเคราะห์แต่ละดวงมีระยะทางไม่เท่ากันด้วย เช่น ดวงจันทร์ปกติโคจรรอบโลกไปตามจักรราศีประมาณวันละ 12 องศา หรืออยู่ในแต่ละราศีประมาณสองวันครึ่ง หากโคจรได้ช้าหรือเร็วกว่านี้ ก็อาจใช้เป็นข้อมูลประกอบการตีความจันทร์ในดวงชะตาเดิม/จรได้ หรือในกรณีโหราศาสตร์ยูเรเนียน เราทราบกันดีว่าค่าโค้งสุริยยาตร์ที่ใช้ในการพยากรณ์อายุขัยนั้น มาจากค่าการโคจรของอาทิตย์แบบ “เอาวันเป็นปี” (ดูรายละเอียดในบทความเกี่ยวกับโค้งสุริยยาตร์) อาจารย์พลตรีประยูร พลอารีย์ เคยสอนไว้ว่า ผู้ที่มีค่าโค้งสุริยยาตร์น้อยกว่าอายุ เช่น อายุ 42 แต่ค่าโค้งเพียงแค่ 40-41 จะเป็นผู้ที่ดูอ่อนกว่าคนวัยเดียวกัน หากตรงกันข้าม เช่น อายุ 42 แต่ค่าโค้งไปถึง 43-44 จะเป็นผู้ที่ดูแก่กว่าวัย หรือแก่กว่าคนในวัยเดียวกัน ส่วนในกรณีดาวอื่นๆ ผมยังไม่พบว่ามีใครกล่าวไว้อย่างไรอีกบ้าง ก็คงต้องทิ้งเป็นการบ้านให้ทุกท่านในวงการช่วยกันค้นคว้าต่อไปเช่นกัน



ภาพที่เห็นมาจากโปรแกรมส่วนตัวที่ผมทดสอบการทำงานของโมดูล Swiss Ephemeris (รายละเอียดในบทความคอลัมน์ Virgo Project) เป็นค่าทางโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ของเหตุการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2547 ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เวลา 12.13 จนถึง 18.23 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยอาทิตย์จะกุมศุกร์พอดีในเวลา 15.42 น. ขอให้สังเกตค่าเดคลิเนชันของอาทิตย์และศุกร์ที่ต่างกัน 10 กว่าลิปดา และค่าระยะห่างของดาวศุกร์ที่เกิน 1 ใน 4 ของหน่วยดาราศาสตร์เพียงเล็กน้อย

แถมท้ายอีกนิดหนึ่งว่า ข้อมูลดาราศาสตร์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ใน Solarfire 4.19 คำนวณได้หมดทุกอย่าง ยกเว้น ค่าระยะห่างจากโลก แต่ไม่ทราบว่าเวอร์ชัน 5 จะใส่ไว้หรือเปล่า ส่วนผู้ที่ประสงค์จะเขียนโปรแกรมเอง หากใช้โมดูลการคำนวณของ Swiss Ephemeris ก็จะสามารถหาได้หมด แต่ค่าระยะห่างจากโลกจะได้ค่าเป็นหน่วยดาราศาสตร์ทั้งหมด (รวมถึงจันทร์ซึ่งปกติในทางดาราศาสตร์จะคิดเป็นกิโลเมตรด้วยเหตุที่อยู่ใกล้โลกน้อยเกินไป) ไม่ใช่ระบบคะแนนอย่างในหนังสือ “โหราศาสตร์ระบบอุจจนี” ส่วนโปรแกรมต่างๆ ที่ผมจัดทำเผยแพร่นั้น ยังไม่ได้บรรจุค่าเหล่านี้ไว้ แต่ในอนาคตเมื่อผมซื้อลิขสิทธิ์การค้าของ Swiss Ephemeris แล้ว ก็อาจนำโปรแกรมส่วนตัวที่ว่านี้มาเผยแพร่ให้ท่านพิจารณาใช้งาน รวมถึงพัฒนาให้มีความสามารถในการดูดวงสามมิติได้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปด้วย ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับว่าท่านทั้งหลายจะสนใจใช้ข้อมูลเหล่านี้มากน้อยเพียงใดด้วย


เพิ่มเติม 22 พฤศจิกายน 2547

ในโปรแกรมรุ่นล่าสุด คือ Virgo06 ผมได้บรรจุข้อมูลตามภาพตัวอย่างไว้ด้วยแล้ว ส่วนจะเป็นประโยชน์แค่ไหนและควรปรับปรุงอย่างไรก็แล้วแต่ความเห็นของผู้ใช้งานครับ



หลักโหรโดนใจ

วงรอบพฤหัสกุมเสาร์ในศตวรรษที่ 20 - 21 วันที่ 21/12/2020   20:46:16 article
ไพ่กับดวงเมืองและดวง 12 ราศี? เก็บไพ่เอาไว้ทายให้คนที่เขาไว้ใจคุณดีกว่า วันที่ 21/12/2020   20:08:52 article
พฤหัส เสาร์ และพลูโต ในราศีมกร ปี 2020 (พ.ศ.2563) การแปลความหมายเบื้องต้น วันที่ 21/12/2020   20:09:22 article
เมื่อต้องทดลองใช้จานคำนวณ 45 องศา วันที่ 27/06/2011   18:16:18
ดาวฤกษ์ที่สำคัญในแต่ละราศี (Important Fixed Stars) วันที่ 12/03/2011   08:08:39 article
พิกัดภูมิศาสตร์เมืองหลวงของทีมต่างๆ ในฟุตบอลโลก 2010 วันที่ 05/06/2010   08:24:06 article
เรื่องของ Sabian Symbols โดยย่อ วันที่ 10/06/2010   16:58:16
ใช้โหราศาสตร์เท่าที่จำเป็น วันที่ 18/07/2009   17:19:10 article
อะไรกันนักกันหนากับ "มุม" ใน โหราศาสตร์ยูเรเนียน วันที่ 18/07/2009   16:57:20 article
เวลาที่ผูกดวง เชื่อที่ได้แค่ไหน? วันที่ 18/07/2009   16:43:02 article
เรือนชะตาแบบยูเรเนียนกับระบบเจ้าเรือนแบบไทยๆ วันที่ 16/05/2009   12:38:41
มฤตยู/อาพอลลอน = เนปจูน นานกว่าที่คิด แต่อย่าคิดมาก วันที่ 00/00/0000   00:00:00
แนวทางการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อไม่รู้เวลาเกิด วันที่ 00/00/0000   00:00:00
จุดชะตากรรมรังแก หรือ ดื้อสุดๆ มรดกทางวิชา ยูเรเนียน จากท่านอาจารย์ จรัญ พิกุล วันที่ 26/07/2009   22:51:31 article
รู้อนาคตเพื่อการบริหารจัดการอนาคต วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
การพยากรณ์โชครายวัน (จากบทความเก่าของ “ศิวเมษ”) วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
พื้นฐานและแนวทางการใช้ โหราศาสตร์ ติดตาม เหตุการณ์บ้านเมือง วันที่ 09/07/2017   21:06:10 article
ดวงความสัมพันธ์-ดวงสมพงศ์ ใน โหราศาสตร์สากล-ยูเรเนียน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
แบบวิเคราะห์ ประวัติ เจ้าชะตา ตาม ดาวเคราะห์ประจำวัย และ วงรอบดาวเคราะห์ วันที่ 03/12/2017   20:21:59 article
ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ “จุดเจ้าชะตา” วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
การใช้ เรือนชะตา แบบ ยูเรเนียน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
จุดสะท้อน : ต้นกำเนิด ศูนย์รังสี และ จุดอิทธิพล วันที่ 00/00/0000   00:00:00
Secondary Progress กับ โค้งสุริยยาตร์ วันที่ 26/07/2009   22:53:45 article
ดวงวันเกิด (Solar Return) วันที่ 26/07/2009   22:54:11 article
สัญลักษณ์ ราศี และ ปัจจัยที่ใช้ใน โหราศาสตร์ ยูเรเนียน วันที่ 26/07/2009   22:54:54 article
จักรราศี วันที่ 03/03/2011   16:35:28 article
วงรอบดาว กับ คนวัยหลักสี่ วันที่ 26/07/2009   22:55:46 article
ดูดวง แบบ SWOT วันที่ 27/06/2009   08:39:57 article
กองทัพ "จุด" ในยูเรเนียน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
แนะนำหนังสือ หลักโหร วันที่ 19/08/2009   09:26:44 article
พื้นฐานการใช้ จานคำนวณ 360 องศา วันที่ 03/03/2011   16:36:32 article
ความเป็นมา ของ โหราศาสตร์ ยูเรเนียน วันที่ 26/07/2009   22:57:12 article
เว็บนี้เปิดเมื่อจันทร์จรเข้าหาพฤหัสกำเนิด วันที่ 26/07/2009   22:57:37 article
ก่อนจะเรียน เคล็ดลับ วันที่ 26/07/2009   22:57:58 article
ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับผู้ศึกษา โหราศาสตร์ วันที่ 26/07/2009   22:58:36 article
โหราศาสตร์ มีวิชาเดียว วันที่ 26/07/2009   22:58:52 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| โหรา-ประวัติศาสตร์ | โหรา-ไอที | หลักโหรโดนใจ | บทความสมทบ | โหรา-โปรแกรม | ผู้จัดทำ/ผู้สนับสนุน | Site Map |

Custom Search


ติดต่อนายโรจน์ E-mail: webmaster@rojn-info.com
หรือ Mobile: 08-1697-3098
(อาจไม่สะดวกรับสายในบางเวลา)
ยังไม่เปิดสอนและไม่รับพยากรณ์เป็นส่วนตัว
กรุณาอย่าใช้โทรศัพท์หรือส่งอีเมล์มาขอดูดวง เพราะไม่มีเวลาตอบ



มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ โหราศาสตร์แนว อ.จรัญ พิกุล - AstroClassical.com HoraUranian.com ดูดวง
โหราศาสตร์กับเครื่องประดับ บ้านฮวงจุ้ย (fengshuihut.com) ตลาดวิชาฮวงจุ้ยและดวงจีน ผูกดวง/ยูเรเนียนออนไลน์ (MyHora.com)

รวมลิงค์ : เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
eXTReMe Tracker