
พล.อ.ต. ม.ร.ว. สุกษม เกษมสันต์
ปฎิทินโหรนับเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งสำหรับโหร เพราะว่าถ้าไม่มีสิ่งนี้เสียแล้ว การผูกดวงย่อมจะกระทำไม่ได้ และการพยากรณ์โดยพิจารณาตำแหน่งและความสัมพันธ์ของดวงดาวก็ย่อมจะกระทำไม่ได้ไปด้วย
ประเทศไทยมีปฏิทินโหรมานานแล้ว และการคำนวณตำแหน่งหรือสมผุสของดวงดาวก็ได้ใช้หลักเกณฑ์จากคัมภีร์พระสุริยยาตร์กันตลอดมาจนกระทั่งไม่กี่ปีมานี่เอง สมาคมโหรแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มทำปฏิทินโดยวิธีตัดอยนางศจากสมผุสสายนขึ้นอีกแบบหนึ่ง ทั้งนี้ก็โดยเหตุผลที่ว่าสมผุสสายนนั้น ได้มาจากผลการคำนวณตามวิธีการของดาราศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเราท่านทั้งหลายย่อมต้องยอมรับว่าวิธีการที่กล่าวหลังนี้มีความถูกต้องแน่นอนกว่าหลักเกณฑ์ของโบราณ
ที่พูดดังนี้มิใช่ว่าจะดูถูกบรรพบุรุษของเรา ใครก็ตามที่สร้างคัมภีร์พระสุริยยาตร์ขึ้นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเยี่ยมในสมัยของท่าน ท่านสามารถให้หลักเกณฑ์คำนวณได้โดยไม่ต้องใช้ลอการิทึมหรือวิชาคำนวณชั้นสูง แต่เราจะต้องระลึกไว้ว่าเครื่องมือเครื่องใช้ทางดาราศาสตร์ในสมัยของท่านนั้น ย่อมไม่มีประสิทธิภาพเหมือนในสมัยปัจจุบัน ฉะนั้นก็เป็นเรื่องธรรมดาที่หลักเกณฑ์การคำนวณของท่านจะต้องมีการคลาดเคลื่อนบ้าง ซึ่งข้อนี้คงจะไม่มีใครไปตำหนิท่าน เพราะท่านได้กระทำอย่างดีที่สุดแล้วในพฤติภาพที่เป็อยู่ขณะนั้น
วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปทุกวัน เราท่านก็ควรจะก้าวตามไปด้วย มิฉะนั้นก็จะยิ่งล้าหลังไกลออกไปทุกที เราต้องกล้าพอที่จะปรับปรุงหลักการเก่า ๆ ของโบราณาจารย์ให้ทันกับกาลสมัย โดยเฉพาะในเรื่องการคำนวณตำแหน่งของดวงดาวนั้น ผู้เขียนขอยืนยันว่าการคำนวณตามวิธีการของดาราศาสตร์ให้ผลถูกต้องแน่นอนที่สุด เพราะฉะนั้นผู้เขียนจึงรู้สึกพอใจเป็อย่างยิ่งที่สมาคมโหรฯ ของเราได้มีความกล้าพอที่ได้ผลจากวิธีการคำนวณซึ่งบัดนี้เห็นแล้วว่าไม่ละเอียดแน่นอนพอ และได้หันมาใช้วิธีตัดอยนางศจากสมผุสสายนในการสร้างปฏิทิน
แต่ความพอใจของผู้เขียนยังไม่สมบูรณ์ทีเดียว เพราะในขณะนี้โหราจารย์ปัจจุบันบางท่านก็ยังนิยมใช้ปฏิทินซึ่งคำนวณตามหลักเกณฑ์ของคัมภีร์สุริยยาตร์อยู่ แม้กระทั่งในการผูกดวงพิชัยสงคราม ซึ่งถือกันว่าเป็นดวงแบบละเอียดพิศดาร แต่ว่าดวงที่ผูกแบบละเอียดพิศดารนี้จะไม่ค่อยมีความหมายเท่าใดนักถ้าหากตำแหน่งของดวงดาวไม่ได้อยู่ในที่ ๆ ถูกต้องตามหลักวิชาดาราศาสตร์
ความคลาดเคลื่อนของปฏิทินที่สร้างขึ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ของคัมภีร์สุริยยาตร์ จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อนำสมผุสของดวงดาวในปฏิทินที่กล่าวนี้ไปเทียบกับสมผุสซึ่งได้จากปฏิทินสายน
หลักสำคัญมีอยู่ว่าตำแหน่งดวงดาวในระบบสายนกับตำแหน่งดวงดาวในระบบนิรายนนั้น จะแตกต่างกันอยู่เป็นจำนวนองศาหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "อยนางศ" และในขณะหนึ่งขณะใดก็ตาม สมผุสของดาวทุก ๆ ดวงจะต้องมีค่ามากกว่าสมผุสนิรายนของดาวนั้น ๆ เท่าจำนวนอยนางศนี้เสมอไป หรืออีกนัยหนึ่ง ในขณะหนึ่งขณะใดก็ตามผลต่างระหว่างสมผุสายนกับสมผุสนิรายนของดาวทุก ๆ ดวงจะต้องมีค่าเท่ากันหมด เมื่อเข้าใจดังนี้แล้วผู้เขียนจะได้เปรียบเทียบสมผุสดาวจากปฏิทินแบบไทยเดิมกับสมผุสดาวจากปฏิทินสายนให้ดู
ปฏิทินแบบไทยเดิมที่ใช้ในการนี้คือปฏิทินของหลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต ส่วนปฏิทินสายนคือปฏิทินเยอรมันชื่อ Die Deutsche Ephemeride เล่ม ๑ ผู้เขียนได้เลือกวันที่จะหาสมผุสเป็นตัวอย่างได้สี่วัน แต่ละวันล้วนแต่เป็นวันท้ายปักษ์ซึ่งปฏิทินของหลวงอรรถวาทีธรรมประวรรตให้สมผุสของดาวไว้ทุกดวง และเป็นสมผุสเวลา ๒๔.๐๐ น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ ซึ่งเทียบเป็นเวลากลางกรีนิชเท่ากับ ๑๗.๑๘ น. ครั้นแล้วก็คำนวณตำแหน่งทางสายนให้ตรงกับวันเวลาดังกล่าวนั้น ผลของการคำนวณปรากฏดังนี้.
๑. สมผุส วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ เวลา ๒๔.๐๐ น. ท้องถิ่น ก.ท.
ดาว |
|
สายน
|
|
นิรายน-หลวงอรรถฯ
|
ผลต่าง
|
อาทิตย์ |
ราศี ๔
|
๐°๑๑´
|
ราศี ๓
|
๗°๕๗´
|
๒๒°๑๔´
|
จันทร์ |
๑๐
|
๑๑°๕๐´
|
๙
|
๑๙°๕๒´
|
๒๑°๕๘´
|
อังคาร |
๕
|
๑° ๔´
|
๔
|
๙°๑๘´
|
๒๑°๔๖´
|
พุธ |
๔
|
๒๐° ๘´
|
๓
|
๙°๑๑´
|
๔๐°๕๘´
|
พฤหัส |
๐
|
๑๙° ๕´
|
๑๑
|
๒๘°๒๘´
|
๒๐°๓๗´
|
ศุกร์ |
๔
|
๒°๓๖´
|
๓
|
๘°๒๓´
|
๒๔°๑๓´
|
เสาร์ |
๐
|
๒๘°๓๙´
|
๐
|
๒°๑๑´
|
๒๖°๒๘´
|
ราหู |
๙
|
๕°๑๒´
|
๘
|
๑๒°๔๐´
|
๒๒°๓๒´
|
มฤตยู |
๕
|
๖°๕๘´
|
๔
|
๑๑°๒๙´
|
๒๕°๒๙´
|
(หมายเหตุ: อยนางศลาหิรีในวันนี้เท่ากับ ๒๒°๑๒´)
๒. สมผุส วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ เวลา ๒๔.๐๐ น. ท้องถิ่น ก.ท.
ดาว |
|
สายน
|
|
นิรายน-หลวงอรรถฯ
|
ผลต่าง
|
อาทิตย์ |
ราศี ๔
|
๑๔°๓๓´
|
ราศี ๓
|
๒๒°๑๔´
|
๒๒°๑๙´
|
จันทร์ |
๔
|
๒๑° ๐´
|
๔
|
๐°๕๙´
|
๒๐° ๑´
|
อังคาร |
๕
|
๑๐°๒๗´
|
๔
|
๑๘°๔๗´
|
๒๑°๔๐´
|
พุธ |
๔
|
๑๒°๑๐´
|
๓
|
๖°๕๖´
|
๓๕°๑๔´
|
พฤหัส |
๐
|
๑๙°๓๓´
|
๑๑
|
๒๙° ๘´
|
๒๐°๒๕´
|
ศุกร์ |
๔
|
๒๑° ๖´
|
๓
|
๒๖°๕๓´
|
๒๔°๑๓´
|
เสาร์ |
๐
|
๒๘°๕๗´
|
๐
|
๒°๒๙´
|
๒๖°๒๘´
|
ราหู |
๙
|
๔°๒๔´
|
๘
|
๑๑°๕๒´
|
๒๒°๓๒´
|
มฤตยู |
๕
|
๗°๔๘´
|
๔
|
๑๒° ๓´
|
๒๕°๔๕´
|
(หมายเหตุ: อยนางศลาหิรีในวันนี้เท่ากับ ๒๒°๑๒´)
๓. สมผุส วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๓ เวลา ๒๔.๐๐ น. ท้องถิ่น ก.ท.
ดาว |
|
สายน
|
|
นิรายน-หลวงอรรถฯ
|
ผลต่าง
|
อาทิตย์ |
ราศี ๐
|
๒๙°๓๕´
|
ราศี ๐
|
๗°๓๔´
|
๒๒° ๑´
|
จันทร์ |
๑
|
๔°๒๐´
|
๐
|
๑๓°๒๓´
|
๒๐°๕๗´
|
อังคาร |
๘
|
๑๓° ๙´
|
๗
|
๒๔°๓๑´
|
๑๘°๓๘´
|
พุธ |
๑
|
๑๑° ๕´
|
๐
|
๒๒° ๘´
|
๑๘°๕๗´
|
พฤหัส |
๑๐
|
๙°๓๖´
|
๙
|
๑๙°๑๕´
|
๒๐°๒๑´
|
ศุกร์ |
๑
|
๑๔°๓๙´
|
๐
|
๒๐° ๖´
|
๒๔°๓๓´
|
เสาร์ |
๔
|
๒๗° ๕´
|
๔
|
๒°๓๐´
|
๒๔°๓๕´
|
ราหู |
๒
|
๒๖°๔๗´
|
๒
|
๔° ๕´
|
๒๒°๔๒´
|
มฤตยู |
๖
|
๒๔°๒๘´
|
๕
|
๒๓°๕๒´
|
๓๐°๓๖´
|
(หมายเหตุ: อยนางศลาหิรีในวันนี้เท่ากับ ๒๒°๑๙´)
๔. สมผุส วันที่๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ เวลา ๒๔.๐๐ น. ท้องถิ่น ก.ท.
ดาว |
|
สายน
|
|
นิรายน-หลวงอรรถฯ
|
ผลต่าง
|
อาทิตย์ |
ราศี ๑
|
๑๔° ๙´
|
ราศี ๐
|
๒๒° ๙´
|
๒๒° ๐´
|
จันทร์ |
๗
|
๑๒° ๗´
|
๖
|
๒๑°๒๒´
|
๒๐°๔๕´
|
อังคาร |
๘
|
๑๒°๒๖´
|
๗
|
๒๔°๕๙´
|
๑๗°๒๗´
|
พุธ |
๒
|
๕°๑๐´
|
๑
|
๘°๑๐´
|
๒๗° ๐´
|
พฤหัส |
๑๐
|
๑๑° ๖´
|
๙
|
๒๐°๔๑´
|
๒๐°๒๕´
|
ศุกร์ |
๒
|
๓° ๔´
|
๑
|
๘°๒๐´
|
๒๔°๔๔´
|
เสาร์ |
๔
|
๒๗° ๓´
|
๔
|
๒°๓๘´
|
๒๔°๒๕´
|
ราหู |
๒
|
๒๖° ๐´
|
๒
|
๓°๑๘´
|
๒๒°๔๒´
|
มฤตยู |
๔
|
๒๓°๕๑´
|
|
๒๓°๓๖´
|
๓๐°๑๕´
|
(หมายเหตุ: อยนางศลาหิรีในวันนี้เท่ากับ ๒๓°๑๙´)
จากรายการสมผุสที่แสดงไว้ข้างบนนี้ ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าผลต่างระหว่างสมผุสสายนกับสมผุสนิรายนของดาวแต่ละดวงนั้นหาได้มีค่าเท่ากันสักวันเดียวไม่ ซึ่งความจริงแล้วผลต่าง ณ วันหนึ่ง และเวลาหนึ่งจะต้องมีค่าเท่ากันหมด เพราะว่าผลต่างดังกล่าวนั้นแท้ที่จริงคือค่าของอยนางศในวันและเวลานั้นนั่นเอง และอยนางศตามระบบของใครก็ตามในขณะหนึ่งขณะใดย่อมมีค่าได้อย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่หลาย ๆ อย่างหรือไม่ใช่ว่าเวลาคำนวณหาสมผุสอาทิตย์ก็ใช้อยนางศอย่างหนึ่ง หากสมผุสจันทร์ก็ใช้อยนางศอีกอย่างหนึ่งอะไรทำนองนั้นหามิได้
การที่ผลต่างระหว่างสมผุสสายนกับนิรายนของดาวแต่ละดวงในวันเวลาหนึ่งมีค่าไม่เท่ากันเช่นนี้ ย่อมหมายถึงว่าปฏิทินของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องคลาดเคลื่อน และเมื่อคำนึงถึงว่าปฏิทินสายนอาศัยหลักการคำนวณตามวิธีการของดาราศาสตร์สมัยใหม่แล้ว ผู้เขียนก็ลงความเห็นได้ประการเดียวว่าปฏิทินที่คำนวณโดยอาศัยหลักเกณฑ์ของคัมภีร์พระสุริยยาตร์นั้นเป็นฝ่ายคลาดเคลื่อน เพราะเป็นคัมภีร์ที่ได้สันนิษฐานกันแล้วว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และเท่าที่ทราบกันก็หาได้มีการปรับปรุงแก้ไขแต่ประการใดไม่ คงใช้กันมาตามแบบเดิมเหมือนอย่างที่บรรพบุรุษของเราได้เคยใช้กันมา ดังนั้นก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่เองที่เราจะหวังให้หลักเกณฑ์ของโบราณนี้มีความถูกต้องแน่นอนเท่าเทียมกับวิธีการของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไม่ได้ นี่แหละผู้เขียนจึงได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่ามีความพอใจเป็นอย่างยิ่งที่สมาคมโหรของเราได้หันมาสร้างปฏิทินแบบตัดอยนางศจากสมผุสสายน ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้องแม่นยำกว่า และถ้าบรรดาโหราจารย์ของไทยทั้งหลายจะหันมาใช้วิธีการแบบนี้ด้วย ผู้เขียนก็เชื่อว่าจะบังเกิดผลดีแก่การพยากรณ์ของท่านเป็นอันมาก
ก่อนจะจบเรื่องนี้ ผู้เขียนมีของกำนัลที่จะขอเสนอแก่ท่านผู้อ่านอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือตำแหน่งของดวงดาวและลัคนาสำหรับดวงพระชะตากำเนิดใน สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งผู้เขียนได้คำนวณโดยวิธีตัดอยนางศจากตำแหน่งสายน ทั้งนี้โโดยถือวันและเวลาประสูติตามที่ปรากฏในพยากรณสารฉบับพฤษภาคม ๒๕๐๘ หน้า ๖๑ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้:
สมผุสดวงดาวและลัคนาในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๑๗ เวลา ๑๘.๑๐ น. ท้องถิ่น ก.ท.
ดาว |
|
สายน
|
|
|
นิรายน |
|
อยนางศ (ลาหิรี) |
อาทิตย์ |
ราศี ๘
|
๙° ๙´
|
|
ราศี ๗
|
๑๗° ๒´
|
|
๒๒° ๗´
|
จันทร์ |
๕
|
๑๗° ๖´
|
|
๔
|
๒๔°๕๙´
|
|
"
|
อังคาร |
๖
|
๑๗°๒๖´
|
|
๕
|
๒๕°๑๙´
|
|
"
|
พุธ |
๗
|
๑๘°๕๑´
|
|
๖
|
๒๖°๔๔´
|
|
"
|
พฤหัส |
๖
|
๒๓°๕๑´
|
|
๖
|
๑°๔๔´
|
|
"
|
ศุกร์ |
๘
|
๒๑°๒๒´
|
(พักร)
|
๗
|
๒๙°๑๕´
|
(พักร)
|
"
|
เสาร์ |
๑๐
|
๙°๔๑´
|
|
๙
|
๑๗°๓๔´
|
|
"
|
ราหู |
๐
|
๒๔°๑๘´
|
|
๐
|
๒°๑๑´
|
|
"
|
มฤตยู |
๔
|
๑๕°๑๕´
|
(พักร)
|
๓
|
๒๓° ๘´
|
(พักร)
|
"
|
เนปจูน |
๐
|
๒๘°๒๕´
|
(พักร)
|
๐
|
๖°๑๘´
|
(พักร)
|
"
|
ลัคน |
๒
|
๑๙°๓๑´
|
|
๑
|
๒๗°๒๔´
|
|
"
|
ทศม (กึ่งฟ้า) |
๑๑
|
๑๑° ๓´
|
|
๑๐
|
๑๘°๕๖´
|
|
"
|
เกตุไทย |
|
-
|
|
๓
|
๙°๑๗´
|
|
(คัมภีร์สุริยยาตร)
|
คำชี้แจงสำหรับการคำนวณลัคน
๑. ถือว่าประสูติในกรุงเทพฯ ซึ่งมีแลติจูดภูมิศาสตร์ = ๑๓ น. ๔๕ แล้วแก้เป็นแลติจูดจากศูนย์กลางโลก (Geocentric Lattitude) = ๑๓ น. ๔๐
๒. คำนวณเวลานักษัตรสำหรับวัน, เวลาประสูติได้ = ๒๒ ชม. ๕๐ น.ท. ๓๗ วท.
๓. หาลัคนและทศมจาก Table of Ascendants ของลาหิรี
๔. ถ้าใช้ตารางหาลัคนาของนายกสมาคมโหรฯ ณ แลติจูด ๑๔ น. จะให้สมผุสลัคนา ราศี ๑ ๒๗ ๓๑ นับว่าใกล้เคียงกัน