ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
สำหรับสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
dot
dot
bulletหลักโหรโดนใจ
bulletหลักโหร-ศิวเมษ
bulletโหรา-ประวัติศาสตร์
bulletโหรา-ไอที
bulletโหรา-โปรแกรม
bulletDemo/Freeware
bulletโปรแกรม Virgo07
bulletDelphi กับ Swiss Ephemeris
bulletผูกดวงออนไลน์กับ Astrotheme.com
bulletพิกัดภูมิศาสตร์ ประเทศไทย
bulletwebboard ผลัดกันเขียนเวียนกันอ่าน
dot
dot
bulletกำพล ภาระโภชน์ (Astroman) - ยูเรเนียน
bulletโรงเรียนโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน
bulletอดิเทพ ศรีรัตนไพฑูรย์ - ยูเรเนียน
bulletอาคม ชูจันทร์ - ยูเรเนียน, ลายมือ
bulletชาญชัย เดชะเสฏฐดี (ผู้ร่วมเขียนบทความ)
bulletอาจารย์ ธนกร ตันติถาวร - ยูเรเนียน
dot
dot
bulletประวัติ
bulletการติดต่อ
bulletภาพยนตร์ประวัติศาสตร์
bulletRojnChin's Channel (YouTube)
bulletRojnChin's Blog
bulletร้านค้าออนไลน์
dot
dot
bulletโรงเรียน โหราศาสตร์ ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน
bulletAstro.com
bulletพยากรณ์ดอทคอม
bulletมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยฯ
bulletโหราศาสตร์แนวอาจารย์จรัญ พิกุล
bulletโหรายูเรเนียนดอทคอม
bulletบ้านฮวงจุ้ย
bulletวารสารโหราเวสม์
bulletUranianSoft.com
bulletดูดวงกับ GooSiam.com
bulletMyHora.com: ดูดวงยูเรเนียนออนไลน์
bulletAstro-Seek.com: Full Moons & New Moons
bulletAstro-Seek.com: Aspect Search Engine
bulletLatitude&Longitude เมืองต่างๆ ทั่วโลก
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC
bulletรวม Link เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
bulletแผนผังเว็บไซต์ (Site Map)






ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์


CURRENT MOON


dot
ปัญหาเรื่องอยนางศ โดย พล.อ.ต. ม.ร.ว. สุกษม เกษมสันต์ article
วันที่ 28/04/2011   20:21:50

(ลงในพยากรณ์สาร มกราคม ๒๕๐๘ ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๑๐ หน้า 25-31)


 

 
พล.อ.ต. ม.ร.ว. สุกษม เกษมสันต์

 

ในท้ายเรื่อง "อยนางศ" ซึ่งลงพิมพ์ใน "พยากรณสาร" ฉบับประจำเดือนเมษายน ๒๕๐๗ ผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่าถ้ามีโอกาสจะได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับอยนางศมาสู่กันอ่านอีก โอกาสเช่นว่านั้นความจริงได้เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ที่ผู้เขียนยังมิได้เขียนส่งมาก็เพราะได้ข่าวว่าได้มีผู้ส่งเรื่อง "ติงเรื่องอยนางศ" มาให้ท่านบรรณาธิการ ผู้เขียนจึงอยากรออ่านเรื่องที่ติงนั้นเสียก่อน เพื่อจะได้ให้คำชี้แจงเพิ่มเติมในประเด็นที่ท้วงติง ครั้นรอ ๆ มาจนบัดนี้ก็ยังมิได้เห็นเรื่องที่อ้างถึงนั้น จึงตัดสินใจว่าไม่ควรรอต่อไปอีก และได้เขียนส่งมาดังปรากฏอยู่นี้

ขอเริ่มต้นด้วยการเสนอหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียน "อยนางศ" แทน "อายนางศ" ก่อน เพราะเข้าใจว่าหลายท่านยังข้องใจในเรื่องนี้อยู่

A Sanskrit-English Dictionary ของ Sir Monier Monier Williams ฉบับหลังสุดให้คำ "อยนางศ" ไว้ในหน้า ๘๔ โดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Ayanânsa" ให้คำแปลว่า "= ayana-bhãga" ซึ่งแปลว่า "amount of precession" หรือที่ผู้เขียนแปลไว้ว่า "ปริมาณการร่น (ของวิษุวัต)" ผู้เขียนจำต้องอธิบายต่อไปอีกว่าในดิกชันนารีเล่มนี้ A หรือ a เขาใช้แทน "อะ" หรือเสียง "อะ" สำหรับ â ใช้แทนเสียง "อา" ซึ่งเกิดเป็นเสียงยาวขึ้นจากการสนธิของเสียง "อะ" (สั้น) กับ "อะ" (สั้น) ส่วน ã นั้นใช้แทน "อา" หรือเสียง "อา" ซึ่งเป็นเสียงยาวอยู่ในตัวเองแต่เดิม

หนังสือที่ขออ้างอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปฏิทินโหรประจำปีของ Lahiri ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทย ในหนังสือนี้เขาเขียน "อยนางศ" เป็นภาษาอังกฤษว่า "ayanâms´a" ซึ่งในที่นี้ "a" คือเสียง "อะ" ส่วน "ã" เป็นเสียง "อา"

สำหรับท่านที่อ่านอักษรเทวนาครีได้ ผู้เขียนขอเสนอรูปซึ่งได้ทำบล๊อกขึ้นมาจากคัมภีร์คำนวณทางโหราศาสตร์ชื่อ SRIPATH PADDHATI (ศรีปติปัทธติ) ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ ของ V.Subrahmanya Sastri ดังข้างล่าง:

 Now Subtracting the (Ayanamsa) from the above, the position of the 4th (bhava) is found to be 3-10° 42´ 47´´ .

 

ในรูปนี้มีทั้งคำว่า "อยนางศ" และ "ภาว" เขียนด้วยอักษรเทวนาครี มีภาษาอังกฤษกำกับในวงเล็บ แต่คำภาษาอังกฤษในหนังสือแปลจำพวกนี้ เขาไม่บอกเสียงสั้นเสียงยาว ผู้อ่านต้องดูเอาเองจากตัวอักษรเทวนาครีที่ให้ไว้

หลักฐานเท่าที่ได้เสนอมาข้างต้นนี้ น่าจะพอเพียงแล้วที่จะชี้ให้เห็นว่าเราควรใช้คำ "อยนางศ" ไม่ใช่ "อายนางศ" และคำนี้เราไม่ควรใส่การันต์ให้ตัว "ศ" เพราะการอ่านควรออกเสียง "ศะ" ข้างท้ายคำด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าคำนี้ชักจะแพร่หลายไปในวงการโหราศาสตร์ระบบนิรายนฝ่ายตะวันตกด้วยแล้ว โดยเขาใช้เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า ayanamsa หรือ ayanamsha และผู้เขียนเชื่อว่าการออกเสียงของเขาจะต้องเน้นตรงพยางค์ nam และออกเสียง "ซ่ะ" ในพยางค์ท้ายด้วย

อีกเรื่องหนึ่งซึ่งใคร่จะชี้แจงก็คือเรื่องคำ "อุตตรายน" กับ "ทักษิณายน" คำทั้งสองนี้ดิกชันนารีสันสกฤตของเซอร์ โมเนียร์ฯ ให้คำแปลไว้หลายอย่าง กล่าวคือ "อุตตรายน" มีคำแปลว่า "การคืบหน้า (ของดวงอาทิตย์) ไปทางาเหนือ" อย่างหนึ่ง "คาบของการคืบหน้าของดวงอาทิตย์ทางเหนือของสูนย์สูตรฟ้า" อย่างหนึ่ง และ "จุดหยุดในหน้าร้อน" (Summer solstice ซึ่งไทยเรียก ครีษมายัน) อีกอย่างหนึ่ง ส่วน "ทักษิณายน" เขาให้คำแปลไว้ว่า "ทางลงใต้" อย่างหนึ่ง "การคืบหน้าของดวงอาทิตย์ทางใต้ของสูนย์สูตรฟ้า" อย่างหนึ่ง และ "คาบครึ่งปีหน้าหนาว" อีกอย่างหนึ่ง การที่คำ ๆ เดียวแปลได้หลายอย่างเช่นนี้ ทำให้สับสนอยู่เหมือนกัน ผู้เขียนมีความเห็นว่าคำ "อุตตรายน" และ "ทักษิณายน" ทั้งสองคำนี้ควรสงวนไว้ใช้ในความหมายว่า "ทางขึ้นเหนือ" และ "ทางลงใต้" ตามลำดับ ไม่ใช้ในความหมายอื่นที่ขัดกัน

ได้อธิบายเรื่องศัพท์มายืดยาวมากแล้ว บัดนี้ขอหันเข้าหาเนื้อแท้ของเรื่องเสียที ก่อนที่จะเกิดความรำคาญแก่ท่านที่ไม่สนใจในเรื่องทำนองนี้

ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในบทความครั้งก่อนแล้วว่า การทำปฏิทินโหรระบบนิรายนทุกวันนี้ ใช้วิธีตัดอยนางศ จากตำแหน่งดาวในระบบสายนซึ่งได้จากการคำนวณตามวิธีดาราศาสตร์สากลกันเกือบทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าวิธีการคำนวณของดาราศาสตร์สากลนั้นละเอียดถูกต้องแน่นอนกว่า ฉะนั้นจะเห็นว่าอยนางศเป็นตัวประกอบที่สำคัญยิ่งในการที่จะให้ได้มา ซึ่งตำแหน่งของดวงดาวที่เรียกว่าถูกต้องตามระบบนักษัตรจักรนิรายนจริงๆ แต่ก็เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งเหือนกันที่บรรดาโหรแห่งระบบนักษัตรจักรนิรายน ยังไม่สามารถมีความเห็นสอดคล้องกันได้ว่า อยนางศที่ถูกต้องในขณะหนึ่งขณะใดนั้น เป็นเท่าใดแน่ โดยเฉพาะในประเทศอินเดียซึ่งเป็นที่กำเนิดของคัมภีร์โหราศาสตร์สำคัญๆ ของโบราณาจารย์ชื่อดังหลายต่อหลายท่านนั้น ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลอินเดียได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาหาอยนางศที่ถูกต้อง จนในที่สุดได้ประกาศให้ใช้อยนางศที่คณะกรรมการเสนอให้เป็นมาตรฐานเดียวกันแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีโหราจารย์อีกหลายท่านที่ไม่เห็นด้วย และไม่ยอมใช้อยนางศอื่นนอกจากอยนางศที่ตนเชื่อว่าถูก อยนางศเหล่านี้บางทีก็ไม่แตกต่างกันกี่องศานัก แต่ที่ผิดกับของผู้อื่นถึง ๗-๘ องศาก็มีเหมือนกัน เป็นผลให้ตำแหน่งของดวงดาวแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย

ยกตัวอย่างเช่นเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๐๗ ที่ผ่านมาแล้วนี้ นายลาหิรีบอกว่าอยนางศตามทางการของอินเดียมีค่าเท่ากับ ๒๓° ๒๑´๑๐´´ (สมาคมโหรแห่งประเทศไทยใช้อยนางศอย่างเดียวกัน แต่ปัดเศษลิปดาออกเป็น ๒๓° ๒๑´) แต่นาย B.V. Raman บรรณาธิการนิตยสารรายเดือน The Astrological Magazine แห่งอินเดียบอกว่า อยนางศในวันนั้นคือ ๒๑°๕๔´๕๒´´ ส่วนนักนิยมระบบนักษัตรจักรนิรายนฝ่ายตะวันตก ซึ่งลงมติใช้อยนางศ Fagan-Bradley-Allen เป็นมาตรฐานเดียวกันก็บอกว่าเป็น ๒๔° ๑๔´๑๒´´ ต่างหาก

ถ้าเราลองเอาอยนางศเหล่านี้ไปใช้หาสมผุสของอาทิตย์ โดยวิธีตัดอยนางศออกจากสมผุสของอาทิตย์ในระบบสายน ซึ่งปรากฏตามปฏิทิน Golgge ว่าในวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๐๗ เวลา ๐๐.๐๐น. กรีนิช (หรือวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๐๗ เวลา ๒๔.๐๐ น. กรีนิช) อาทิตย์อยู่ที่ราศีเมษสายน ๒๔ องศา ๔ ลิปดา ๒๒ พิลิปดา เราก็จะได้ผลลัพธ์ดังข้างล่าง


 
อยนางศลาหิรี
อยนางศรามณ
อยนางศตะวันตก
สมผุสสายน
เมษ ๒๔°๔´๒๒´´
เมษ ๒๔°๔´๒๒´´
เมษ ๒๔°๔´๒๒´´
ลบตัวอยนางศ
๒๓°๒๑´๑๐´´
๒๑°๕๔´๕๒´´
๒๔°๑๔´๑๒´´
สมผุสนิรายน
เมษ ๐°๔๓´๑๒´´
เมษ ๒°๙´๓๐´´
มีน ๒๙°๕๐´๑๐´´
นวางศ
ที่ ๑ (อังคาร)
ที่ ๑ (อังคาร)
ที่ ๙ (พฤหัส)

 

ตัวเลขข้างบนนี้ แสดงอย่างชัดเจนว่าการใช้อยนางศต่างกัน ทำให้ตำแหน่งอาทิตย์ต่างกันอย่างไร และในกรณีเช่นในตัวอย่างนั้นดวงดาวอาจอยู่ต่างราศีกันก็ได้ ซึ่งมีผลให้ตำแหน่งในนวางศแตกต่างกันไปด้วย นอกจากนั้นตำแหน่งของลัคน์ก็ต้องผิดกันและอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญทางประเพณีก็คือ ทำให้วันและเวลาที่อาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีใหม่แตกต่างกันอย่างมากทีเดียว โดยเฉพาะวันเวลาที่อาทิตย์ยกขึ้นราศีเมษซึ่งเราเรียกว่ามหาสงกรานต์นั้น ก็จะต้องผิดกันไม่น้อย ดังจะเปรียบเทียบให้ดูต่อไปนี้

มหาสงกรานต์ลาหิรี: วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๐๗ เวลา ๑๓:๒๒ น. มาตรฐาน ก.ท.

มหาสงกรานต์รามณ: วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๐๗ เวลา ๐๒:๑๐ น. มาตรฐาน ก.ท.

มหาสงกรานต์ตะวันตก: วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๐๗ เวลา ๑๑:๐๑ น. มาตรฐาน ก.ท

ท่านผู้อ่านคงจะทราบแล้วว่าปฏิทินโหรของสมาคมโหรแห่งประเทศไทยนั้น คำนวณโดยใช้อยนางศลาหิรี แต่การคำนวณมหาสงกรานต์ใช้วิธีการแบบไทย และได้ให้วันเวลามหาสงกรานต์ไว้ว่า ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๐๗ เวลา ๙ นาฬิกา ๓๓ นาที ๑๒ วินาที โดยที่วันเวลาไม่ตรงกับรายใดที่ให้ไว้ข้างบนเลย เราก็อาจพูดได้ว่าการคำนวณแบบไทย ซึ่งใช้วิธีตามคัมภีร์พระสุริยยาตรทำให้เกิดอยนางศที่แตกต่างออกไปอีกอย่างหนึ่ง

 การที่นักนิยมนักษัตรจักรนิรายนไม่สามารถตกลงใช้ อยนางศที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้นี่เอง เป็นข้อเสียประการสำคัญของโหราศาสตร์นิรายน เพราะทำให้เกิดการกล่าวหาขึ้นได้ว่า ตำแหน่งดวงดาวในขณะหนึ่งขณะใดในระบบนิรายนนั้นไม่เห็นว่าจะแน่นอน เมื่อเป็นดังนี้แล้ว การที่จะคำนวณดวงให้ละเอียด เช่นผูกดวงนวางศจักร ทวาทศางศจักร ฯลฯ หรือแม้กระทั่งดวงพิชัยสงครามนั้นจะมีความหมายเพียงใดในเมื่อยังไม่ตกลงกันได้ว่าดวงดาวอยู่ตรงไหนแน่เสียแต่ต้นแล้ว นักนิยมนักษัตรจักรนิรายนฝ่ายตะวันตกเขามองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้อยู่มาก เขาจึงได้ตกลงให้ใช้อยนางศ Fagan-Bradley-Allen เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยให้เหตุผลว่าได้เอาไปใช้ผูกดวงทดสอบกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์แล้ว ปรากฏว่าได้ผลใกล้เคียงความจริงมากกว่าใช้อยนางศอื่น อย่างไรก็ดี อยนางศตะวันตกนี้ทางฝ่ายฮินดูยังไม่ยอมรับว่าถูกต้อง

ความจริงเรื่องอยนางศนี้เมื่อดูเผินๆ แล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหายุ่งยากอะไร เรารู้ว่าโบราณาจารย์ฮินดูแบ่งนักษัตรออกเป็น ๒๗ นักษัตร หรือ ๒๗ ฤกษ์ นักษัตรหนึ่งหรือฤกษ์หนึ่งมี ๑๓°๒๐´ แบ่งย่อยออกเป็นบาทเท่า ๆ กัน ๔ บาท ๆ ละ ๓°๒๐´ ครั้นแล้วก็จัด ๙ บาทของนักษัตรหรือฤกษ์ให้เป็นหนึ่งราศี หมายความว่า ราศีหนึ่งมี ๓๐° นอกจากนั้นเขายังกำหนดให้ราศีเมษ เริ่มที่จุดแรกของนักษัตรอัศวินี ราศีพฤษภ เริ่มที่ต้นบาทที่สองของนักษัตรกฤตติกา ราศีมิถุน เริ่มต้นบาทที่สามของนักษัตรมฤคศิร ฯลฯ ฉะนั้นถ้าเรารู้ว่านักษัตรอัศวินี หรือนักษัตรอื่นใดอยู่ตรงไหนแน่ในฟากฟ้าสมัยโบราณแล้ว การที่จะหาอยนางศที่ถูกต้องในขณะหนึ่งขณะใดก็เป็นเรื่องง่าย แต่ปัญหามันเกิดขึ้นเพราะไม่มีใครกล้ายืนยันได้แน่นอนว่านักษัตรอัศวินีก็ดี กฤตติกาก็ดี ฯลฯ ตรงกับดาวกลุ่มดาวทางดาราศาสตร์ปัจจุบันชื่ออะไร มีดาวดวงใดเป็นที่หมายและดาวที่เป็นที่หมายนั้นอยู่ตรงกึ่งกลางนักษัตรหรือว่าตรงจุดต้นหรือจุดสุดท้ายของนักษัตร นอกจากนั้นปัญหายังยุ่งยากต่อไปอีก เนื่องจากโหราศาสตร์ฮินดูต้องการยึดถือภาพท้องฟ้าที่เป็นอยู่ในสมัยของโบราณาจารย์เป็นหลัก หรืออีกนัยหนึ่งนักษัตรอัศวินีเคยอยู่ตรงไหนในสมัยโบราณก็ต้องการให้ราศีเมษเริ่มต้นจากจุดเดิมนั้นตลอดไป แต่ว่าในปัจจุบันนี้เรารู้ว่าดาวฤกษ์ทั้งหลายมีการเคลื่อนที่ของตัวเอง เรียกว่า propermotion แม้จะเป็นการเคลื่อนที่ซึ่งไม่มากมายอะไรนักก็ตาม แต่ก็รวมความว่าดาวทั้งหลายหาได้อยู่ในที่เดิมที่โบราณาจารย์หมายไว้ไม่ เนื่องจากความไม่แน่นอนต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้แหละ จึงได้เกิดการโต้แย้งกันว่า อยนางศที่ถูกต้องในขณะหนึ่งขณะใดมีค่าเท่ากับเท่าใด เพราะอาจารย์คนหนึ่ง ๆ ก็ยึดถือความเข้าใจของตน ๆ และความเข้าใจเหล่านี้ก็บังเอิญไม่สู้จะตรงกันนักเสียด้วย

ความเข้าใจและความคิดเห็นของอาจารย์ต่าง ๆ มีอยู่มากมาย ทำให้เกิดอยนางศขึ้นหลาย ๆ อย่างซึ่งจะนำมาพูดถึงในที่นี้ให้หมดก็จะยืดยาวมาก ดังนั้นก็จะขอเล่าให้ฟังย่อ ๆ เฉพาะแต่ว่าอยนางศ ๓ อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงในตอนต้นนั้นเขาคิดมาจากมูลฐานอะไร

อยนางศลาหิรี อยนางศลาหิรีปัจจุบันก็คือ อยนางศทางการของอินเดียนั่นเอง นายลาหิรีได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลอินเดียให้เป็นกรรมการปรับปรุงปฏิทินด้วยผู้หนึ่ง คณะกรรมการได้เสนอความเห็นให้ใช้อยนางศซึ่งกล่าวกันว่าเป็นความคิดเห็นของนายลาหิรีเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นจึงชอบเรียกอยนางศนี้กันว่า อยนางศลาหิรี และผู้เขียนก็ขอเรียกตามนี้ด้วยเพื่อแสดงว่าใครเป็นบุคคลต้นตอ

นายลาหิรีอาศัยหลักฐานจากคัมภีร์ปัญจสิทธานติกา ซึ่งวราหมิหิระเป็นผู้รวบรวมขึ้นจากคัมภีร์ดาราศาสตร์ของโบราณ ๕ ฉบับ คัมภีร์ปัญจสิทธานติกาให้ตำแหน่งของดวงดาวไว้หลายดวง แต่นายลาหิรีถือเอาตำแหน่งของดาวจิตรา ซึ่งคัมภีร์บอกว่าอยู่ที่จุด ๑๘๐° จากจุดแรกของราศีเมษเป็นหลัก ดาวจิตรานี้เขาบอกว่าตรงกับดาวสไปกา (Spica) ของดาราศาสตร์สมัยใหม่ และเมื่อได้คำนวณดูแล้ว ปรากฏว่าจุดต้นของราศีเมษ อยู่ตรงกับจุดวสันตวิษุวัต (หรือจุดต้นแห่งเอรีส์) เมือวันอาทิตย์ที่ ๒๒ มีนาคม ค.ศ.๒๘๕ (พ.ศ.๘๒๘) เวลา ๒๓.๑๘ มาตรฐานอินเดีย จากมูลฐานอันนี้คณะกรรมการได้กำหนดให้ถือว่า อยนางศในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๙ มีค่าเท่ากับ ๒๓°๑๕´๐´´ และให้ถืออยนางศนี้เป็นหลักในการคำนวณอยนางศสำหรับวันเดือนปีอื่น ๆ

อยนางศรามณ อยนางศรามณที่ใช้อยู่ในขณะนี้เข้าใจว่าเป็นอยนางศเพื่อพลาง เพราะนายรามณได้เชื้อเชิญให้บรรดาผู้รู้ทั้งหลายเขียนบทความเรื่องอยนางศลงในนิตยสาร The Astrological Magazine อยู่เรื่อยๆ และคงกำลังพิจารณาความคิดเห็นของผู้รู้เหล่านี้อยู่เพื่อปรับปรุงอยนางศของเขาก็ได้ นายรามณได้เขียนตำราโหราศาสตร์ฮินดูไว้หลายเล่ม และในหนังสือ Hindu Predictive Astrology กับ A Manual of Hindu Astrology เขาก็มิได้ให้เหตุผลอะไรมากนักในการเลือกใช้อยนางศที่เขากำลังใช้อยู่ เป็นแต่ให้สูตรสำหรับคิดยนางศสำหรับปีหนึ่งปีใดไว้ดังนี้

เอาค.ศ.ของปีที่ต้องการทราบอยนางศตั้ง แล้วเอา ๓๙๗ ลบ ได้เท่าใดเอา ๕๐ ๑/๓ คูณ ผลลัพธ์ก็คือ อยนางศสำหรับปีนั้นเป็นพิลิปดา ทอนเป็น องศา ลิปดา พิลิปดา ตามระเบียบ

ตัวอย่างเช่นต้องการจะหาอยนางศสำหรับค.ศ. ๑๙๖๓ ก็เอา ๓๙๗ ลบออกจาก ๑๙๖๓ ได้ ๑๕๖๖ เอา ๕๐ ๑/๓ คูณ ได้ ๗๘๘๒๒ พิลิปดา ทอนเป็น องศา ลิปดา พิลิปดา ได้ ๒๑°๕๓´๔๒´´ เป็นต้น

สูตรที่นายรามณให้ไว้นี้เป็นสูตรที่ใช้ได้โดยประมาณเท่านั้น เพราะอยนางศมิได้มีค่าคงที่ตลอดปี แต่เปลี่ยนไปทุกวัน ๆ ละน้อย ๆ ราว ๆ ๗ วันเศษจะเปลี่ยนไป ๑ พิลิปดา และอัตราการร่อนของวิษุวัต ซึ่งนายรามณใช้ ๕๐ ๑/๓ พิลิปดาต่อปีก็ไม่ตรงกับอัตราที่ทางดาราศาสตร์รับรอง* ฉะนั้นอยนางศของรามณจึงไม่อยู่ในความนิยมของผู้รู้โดยทั่ว ๆ ไป

อยนางศตะวันตก อยนางศตะวันตกเป็นผลมาจากการค้นคว้าของนาย Cyril Fagan และ นาย Donald Bradley ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงตัวเลขเล็กน้อยโดยนาย Garth Allen นาย Fagan ได้ศึกษาหลักฐานจากตารางดาวและตารางพระจันทร์สมัยแบบิโลเนีย ตลอดจนตำหรับตำราของอียิปต์โบราณด้วย และลงความเห็นว่าจุดเริ่มต้นของนักษัตรจักรนิรายนโบราณอยู่ที่จุด ๆ หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของดาวสไปกาในหนึ่งองศาพอดี ความเห็นนี้สอดคล้องกับผลคำนวณโดยวิธีสถิติของนาย Bradley และโดยที่หลักฐานแสดงว่านักษัตรจักรนิรายนโบราณเริ่มที่ราศีตุล ๐° (ไม่ใช่ราศีเมษ ๐° อย่างในปัจจุบัน) เขาจึงลงความเห็นว่าดาวสไปกาต้องอยู่ที่ราศีกันย์ ๒๙° ต่อมานาย Allen ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการยกของอาทิตย์และจันทร์ขึ้นราศีมุมต่างๆ ก็ได้พบว่าถ้าหากเลื่อนตำแหน่งดาวสไปกาออกไปอีก ๖´๕´´ แล้ว ดวงต่าง ๆ ที่ผูกขึ้นสำหรับเวลาอาทิตย์และจันทร์ยกขึ้นราศีมุมจะแสดงให้เห็นเหตุพิบัติในประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง. ดังนั้นนาย Allen จึงได้เสนอให้ถือว่าสมผุสนิรายนของจุดวสันตวิษุวัติ เมื่อ ๐๐.๐๐ น. วันที่ ๑ มกราคม ค.ศ.๑๙๕๐ คือ ๓๓๕° ๕๗´๓๑.๖´´ หรือราศีมีน ๕° ๕๗´๓๑.๖´´ และอยนางศในขณะนั้นคือ ๓๖๐°- ๓๓๕° ๕๗´๓๑.๖´´ (หรือมีน ๓๐° - มีน ๕° ๕๗´๓๑.๖´´) = ๒๔° ๒´๒๘.๔´´ จุดวสันตวิษุวัตในระบบนิรายนนี้นาย Allen ได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า Synetic Vernal Point หรือเรียกย่อ ๆ ว่า S.V.P. และนาย Allen ได้คำนวณปฏิทินของ S.V.P.นี้ขึ้นสำหรับ ค.ศ. ๑๘๘๑ ถึง ๑๙๖๐ โดยให้ตำแหน่ง S.V.P. ไว้ทุก ๆ ๓๐ วัน ต่อมานาย Carl W.Stahl ได้คำนวณเพิ่มเติมจนถึงค.ศ.๒๐๐๐ กับได้เพิ่มตารางพิเศษสำหรับตำแหน่ง S.V.P. ได้ตั้งแต่ ค.ศ.๑๗๖๑ ถึง ๑๘๘๑ อีกด้วย ในปัจจุบันนี้ นักนิยมระบบนิรายนฝ่ายตะวันตกในอังกฤษและอเมริกาได้ใช้ปฏิทิน S.V.P. นี้ สำหรับหาอยนางศกันเป็นส่วนมาก

อยนางศ ๓ อย่างที่ผู้เขียนเอามาอ้างถึงนี้ กล่าวได้ว่าเป็นอยนางศที่มีผู้ใช้มากกว่ารายอื่น ๆ แต่ของอาจารย์ใดจะถูกต้องจริง ๆ นั้น ก็อาจจะต้องคอยดูจากผลการใช้อยนางศเหล่านี้ในการพยากรณ์ว่าของใครให้ผลดีกว่ากัน อย่างไรก็ดี การตัดอยนางศจากสมผุสสายนไม่ว่าจะใช้อยนางศใดก็ตาม จะไม่ทำให้ระยะระหว่างดาวเคราะห์ต่าง ๆ ผิดแผกันไปเลย เช่น จันทร์อยู่หน้าอังคาร ๖๐° ในระบบสายน จันทร์ก็จะคงอยู่หน้าอังคาร ๖๐° ในระบบนิรายนเสมอไปไม่ว่าจะใช้อยนางศของใคร ทฤษฎีหรือทัศนาการ หรือการแลกัน (Aspect) ระหว่างดาวเคราะห์ก็ยังเป็นอยู่อย่างเดียวกันไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะผิดกันก็มีแต่สมผุสของดาวเคราะห์และสงกรานต์ต่าง ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าแต่ละอาจารย์ใช้จุดเริ่มต้นในการวัดระยะต่างกัน เมื่อใดอาจารย์ทั้งหลายลงรอยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ เมื่อนั้นโหราศาสตร์ระบบนักษัตรจักรนิรายนก็จะเฟื่องฟูยิ่งขึ้น

 

*ทางดาราศาสตร์ใช้สูตรหาอัตราการร่นของวิษุวัตซึ่งศาสตราจารย์ Newcomp ให้ไว้ดังนี้:

อัตราการร่นประจำปี = ๕๐´´.๒๔๕๓ + ๐´´.๐๐๐๒๒๒๕ X (ปีค.ศ.ที่ต้องการ - ๑๘๕๐)

 




บทความสมทบ

การใช้ระยะวังกะ ในโหราศาสตร์นิรายะนะ (โหราศาสตร์ตะวันออก) วันที่ 23/11/2015   09:31:52 article
ดวงธิปู (ดวงสู้ตาย) วันที่ 11/04/2014   09:43:36 article
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 10 – แต่งงานอยู่กินกันแล้ว จะทุกข์ สุข ดี ร้าย ประการใด ??? วันที่ 11/04/2014   09:43:22 article
เส้นสมรส โดย อาจารย์ อาคม ชูจันทร์ วันที่ 18/03/2013   11:39:49 article
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์และการสมพงศ์ดวงชะตาตอนที่ 9: มังคลิกาโยค (Kujadosha) : โครงสร้างร้ายในการสมพงศ์ดวงชะตา วันที่ 18/03/2013   11:39:36 article
ความงามของสตรีในทัศนะโหราศาสตร์ ตอนที่ 5: ดารานางเอก กับ โครงสร้างความงามในดวงชะตา (สืบเนื่องจากตอนที่ 2) วันที่ 10/11/2012   11:02:02
หลักเกณฑ์ทางโหราศาสตร์ที่ใช้ในการตั้งชื่อบุคคล วันที่ 04/12/2011   08:33:19 article
ความงามของสตรีในทัศนะโหราศาสตร์ ตอนที่ 4 “ดวงชะตา ผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ คลีโอพัตรา – ความงามที่พลิกแผ่นดิน" วันที่ 01/03/2011   20:39:13
ความงามของสตรีในทัศนะโหราศาสตร์ ตอนที่ 3: โครงสร้างชี้บอกความงามของสตรีในระบบนิรายะนะ วันที่ 27/03/2011   19:44:41
บทวิเคราะห์เรื่อง “ท่าน อ.มานิตย์ ธีรเวชชโรกุล กับความเป็นนักค้นคว้า โหราศาสาตร์ยุคไอที” วันที่ 01/03/2011   20:40:59
บทวิเคราะห์ เรื่องการเสียชีวิตของท่าน อ.มานิตย์ ธีรเวชชโรกุล วันที่ 01/03/2011   20:41:30
ยุบสภา (ปีพ.ศ.2529) วันที่ 13/03/2009   22:01:33 article
องคลาภกับการวิเคราะห์อุบัติเหตุระเบิดที่โรงงานผลิตจรวด กรมสรรพาวุธทหารบก บางซื่อ วันที่ 27/02/2009   22:21:53 article
พยากรณ์อากาศจากดวงดาว โดย พล.อ.ต. ม.ร.ว. สุกษม เกษมสันต์ วันที่ 28/04/2011   20:38:49 article
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์ และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 8: สัญลักษณ์แห่งบุพเพสันนิวาส วันที่ 01/03/2011   20:41:56
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์ และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 7: ปีที่แต่งงาน การสมพงศ์ดวงชะตา แต่งงานช้าหรือไม่แต่งงานเลย และดวงพระยาเทครัว วันที่ 01/03/2011   20:42:21
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์ และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 6: สัญญาณคู่แท้ (Soulmate Indicators/Signals) วันที่ 01/03/2011   20:42:44
ความงามของสตรีในทัศนะโหราศาสตร์ ตอนที่ 2: โครงสร้างเพ็ญศุกร์กับความงามของสตรี วันที่ 29/06/2012   22:38:33
ความงามของสตรีในทัศนะโหราศาสตร์ (หลักเกณฑ์ทางโหราศาสตร์ที่ใช้ในการชี้บอกความงามของสตรี) ตอนที่ 1 วันที่ 01/03/2011   20:43:33
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 5: วิธีการพื้นฐานในการสมพงศ์ดวงชะตา (ดวงซ้อนดวง) วันที่ 01/03/2011   20:44:01
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับ วิชาโหราศาสตร์และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 4: ใครผูกพันกับใครในจักรวาล วันที่ 01/03/2011   20:46:23
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโ หราศาสตร์ และ การสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 3: จักราศีสมพงศ์ วันที่ 01/03/2011   20:46:51
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชา โหราศาสตร์ และการสมพงษ์ดวงชะตา (ตอนที่ 2 บุพเพสันนิวาส กับ คู่แท้) วันที่ 01/03/2011   20:47:43
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชา โหราศาสตร์ และ การสมพงษ์ ดวงชะตา (ตอนที่ 1) วันที่ 01/03/2011   20:48:07
การวิเคราะห์และประเมินความแรงของ ดาวพฤหัส ในดวงชะตาเชิงปริมาณ วันที่ 01/03/2011   20:48:35
ความสำคัญ ของ ดาวพฤหัส ใน ดวงชะตา ในทัศนะของ โหราศาสตร์ตะวันตก และ โหราศาสตร์ตะวันออก วันที่ 01/03/2011   20:49:00
กฎของ การครบวงจร ใน การพยากรณ์ ดาวพระเคราะห์ จร วันที่ 01/03/2011   20:49:25
พฤหัส ดี และ เสาร์ ร้าย จริงๆ หรือ วันที่ 27/07/2009   08:56:20 article
บทเรียน ที่ต้องเรียน จาก สึนามิ (Tsunami) วันที่ 01/03/2011   20:50:01
ปฏิทินโหร โดย พล.อ.ต. ม.ร.ว. สุกษม เกษมสันต์ วันที่ 28/04/2011   20:30:28 article
อยนางศ โดย พล.อ.ต. ม.ร.ว. สุกษม เกษมสันต์ วันที่ 28/04/2011   20:26:07 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| โหรา-ประวัติศาสตร์ | โหรา-ไอที | หลักโหรโดนใจ | บทความสมทบ | โหรา-โปรแกรม | ผู้จัดทำ/ผู้สนับสนุน | Site Map |

Custom Search


ติดต่อนายโรจน์ E-mail: webmaster@rojn-info.com
หรือ Mobile: 08-1697-3098
(อาจไม่สะดวกรับสายในบางเวลา)
ยังไม่เปิดสอนและไม่รับพยากรณ์เป็นส่วนตัว
กรุณาอย่าใช้โทรศัพท์หรือส่งอีเมล์มาขอดูดวง เพราะไม่มีเวลาตอบ



มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ โหราศาสตร์แนว อ.จรัญ พิกุล - AstroClassical.com HoraUranian.com ดูดวง
โหราศาสตร์กับเครื่องประดับ บ้านฮวงจุ้ย (fengshuihut.com) ตลาดวิชาฮวงจุ้ยและดวงจีน ผูกดวง/ยูเรเนียนออนไลน์ (MyHora.com)

รวมลิงค์ : เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
eXTReMe Tracker