ReadyPlanet.com


การตั้งเรือนชะตาโดยใช้จักราศีเป็นเรือนชะตาตามแบบดั้งเดิมแต่โบราณ (ในระบบนิรายะนะ) V.S. ระบบเรือนชะต
avatar
ชาญชัย


user image

 โหราศาสตร์ไทยทุกสำนักจนถึงปัจจุบันใช้ขอบเขตของจักราศีเป็นเรือนชะตา  โดยกำหนดให้ราศีที่ลัคนาสถิตอยู่เป็นเรือนที่ 1 แล้วนับทวนเข็มนาฬิกาเป็นเรือนที่2, 3, 4  .....    ไปจนครบเรือนที่ 12 ที่ราศีที่ 12  ผู้ที่ศึกษาโหราศาสาตร์ไทยตามรูปแบบเดิมล้วนๆที่พัฒนาต่อยอดมาจากโหราศาสตร์ภารตะที่เป็นต้นแบบ จึงไม่มีปัญหาเรื่องการตั้งเรือนชะตา  แต่ผู้ที่ศึ่กษาเพิ่มเติมออกไปอีกจะพบว่าในระบบโหราศาสตร์ภารตะรุ่นใหม่มีการพัฒนาเรือนชะตาแบบใหม่ขึ้น  ได้แก่เรือนชะตาศรีภาาติ (คล้ายๆเรือนชะตาแบบพลาิซิดุสในระบบสายนะ) และเรือนชะตาแบบเรือนเท่า ทำให้เกิดความสับสนมากในแม้ในประเทศอินเดียที่เป็นต้นแบบเองว่าตกลงจะเอายังไงกันแน่  ในส่วนของไทยเราอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ท่านก็รับเอาแนวคิดเรื่องเรือนชะตาใหม่เข้ามาด้วย  โดยท่านเรียกว่า "ภวจักร" และนำมาใช้ประกอบการอ่านดวงชะตาโดยท่า่นใช้แบบเรือนเท่าและใช้ลัคนาเป็นจุดกึ่งกลางของเรือนชะตาที่หนึ่ง การนำภวจักรเข้ามาใช้ทำให้ผมสับสนเพราะเวลาพิจารณาโยคเกณฑ์ต่างๆไม่รู้ว่าจะตีความคำว่าภพจาก ราศีจักร หรือ ภวจักร   ในระหว่างนั้นผมเคยถามอาจารย์เทพย์ว่า  เวลาพิจารณาเรืองโยคต่างๆตามที่ตำรา และคัมภีร์ ต่างๆพูดถึงนั้น  จะใช้ราศีจักรหรือภวจักร  ท่านตอบว่าถ้าอ่านจากคัมภีร์โบราณต้องใช้ราศีจักรเท่านั้น  เพราะคัมภีร์โบราณใช้ราศีเป็นเรือนชะตา   ภวจักร  หรือ เรือนชะตาแบบศรีภาติ และ เรือนชะตาแบบเท่าหรืออื่นๆนั้นเพิ่งจะมาคิดขึ้นประมาณไม่กี่ร้อยกว่าปีมานี้เอง  และนำมาใช้ประกอบการอ่านเรือนชะตาเพื้อให้การอ่านดวงชะตาถูกต้องแม่นยำขึ้น ( ผมคิดว่า ตัวอย่างเช่น  ราศีจักรบอกว่า พฤหัสเป็นวินาสนะ  แต่ปรากฏว่าภวจักรบอกว่าลัคนากุมพฤหัส  กรณีนี้ถ้าลัคนาอยู่คนละราศีกับพฤหัส  โดยพฤหัสอยู่ในราศีที่เป็นวินาศ แต่ปรากฏว่าระยะเชิงมุมห่างจากลัคนาน้อยมากเช่นอาจจะภายใน 3 - 5 องศา  กรณีเช่นนี้ต้องทิ้งน้ำหนักว่า พฤัหสกุมลัคนา ให้มาก ฯลฯ )  

ในตำราของ James Braha ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นเดียวกันว่าเป็นเรื่องที่ทำให้เขาและนักโหราศาสตร์ภารตะในอินเดียเองสับสนกันมากๆ  จนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังสับสนกันอยู่ ต่างคนต่างก็นำมาใช้บ้าง ไม่ใช้บ้าง  ใชัเหมือนกันแต่ทิ้งน้ำหนักต่างกันบ้าง ฯลฯ    จนกระทั่งเขากลับไปอินเดียอีกเป็นครั้งที่สองและได้พบกับอาจารย์คนที่สองซึ่งเป็นนักปฏิบัติมากกว่านักทฤษฎี  ทำให้เขาตัดสินใจได้แน่นอนว่าที่เหมาะสมที่สุดคือใช้ราศีีจักรเป็นหลักในการอ่านและพยากรณ์ดวงชะตา  และใช้ภวจักรเป็นเครื่องประกอบการทิ้งน้ำหนักเท่านั้น  และได้ให้หลักเกณฑ์กว้างๆสำหรับการทิ้งน้ำหนักในการอ่านดวงชะตาอีกด้วย  ซึ่งผมเห็นว่าน่าสนใจมากและจะนำมาเขียนถึงในกระทู้ต่อๆไปครับ

รูปที่แนบมากับกระทู้เป็นรูปแสดงตัวอย่างว่าในราศีจักรบอกว่า พฤหัสกุมลัคนาในราศีตุล  แต่ถ้า ลัคนามีค่าองศา 1 องศา ราศีตุล  ขณะที่ พฤหัสมีค่าองศา   29 องศา ราศีตุล จะทิ้งน้ำหนักอย่างไร   หรือ  ถ้าพฤหัสมีค่า 1 องศา ราศีตุล  ในขณะที่ ลัคนา อยู่ที่ 29 องศา ราศีตุล  จะทิ้งน้ำหนักอย่างไร ระหว่าง พฤหัส กุม ลัคนา  กับพฤหัส เป็นวินาศนะ กับลัคนา  เพราะผลการอ่านดวงชะตาต่างกันชนิดหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว !!!??

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ชาญชัย (chanchai-dot-d-at-chaiyo-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2013-02-10 22:02:23 IP : 171.97.69.135


1

ความคิดเห็นที่ 1 (4050758)
avatar
natee

    ขอบคุณมากมายเลย

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น natee (thavee2558-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2017-05-29 17:06:26 IP : 115.87.10.35



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.