ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
สำหรับสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
dot
dot
bulletหลักโหรโดนใจ
bulletหลักโหร-ศิวเมษ
bulletโหรา-ประวัติศาสตร์
bulletโหรา-ไอที
bulletโหรา-โปรแกรม
bulletDemo/Freeware
bulletโปรแกรม Virgo07
bulletDelphi กับ Swiss Ephemeris
bulletผูกดวงออนไลน์กับ Astrotheme.com
bulletพิกัดภูมิศาสตร์ ประเทศไทย
bulletwebboard ผลัดกันเขียนเวียนกันอ่าน
dot
dot
bulletกำพล ภาระโภชน์ (Astroman) - ยูเรเนียน
bulletโรงเรียนโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน
bulletอดิเทพ ศรีรัตนไพฑูรย์ - ยูเรเนียน
bulletอาคม ชูจันทร์ - ยูเรเนียน, ลายมือ
bulletชาญชัย เดชะเสฏฐดี (ผู้ร่วมเขียนบทความ)
bulletอาจารย์ ธนกร ตันติถาวร - ยูเรเนียน
dot
dot
bulletประวัติ
bulletการติดต่อ
bulletภาพยนตร์ประวัติศาสตร์
bulletRojnChin's Channel (YouTube)
bulletRojnChin's Blog
bulletร้านค้าออนไลน์
dot
dot
bulletโรงเรียน โหราศาสตร์ ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน
bulletAstro.com
bulletพยากรณ์ดอทคอม
bulletมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยฯ
bulletโหราศาสตร์แนวอาจารย์จรัญ พิกุล
bulletโหรายูเรเนียนดอทคอม
bulletบ้านฮวงจุ้ย
bulletวารสารโหราเวสม์
bulletUranianSoft.com
bulletดูดวงกับ GooSiam.com
bulletMyHora.com: ดูดวงยูเรเนียนออนไลน์
bulletAstro-Seek.com: Full Moons & New Moons
bulletAstro-Seek.com: Aspect Search Engine
bulletLatitude&Longitude เมืองต่างๆ ทั่วโลก
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC
bulletรวม Link เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
bulletแผนผังเว็บไซต์ (Site Map)






ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์


CURRENT MOON


dot
Amazon Kindle กับ คลังความรู้ทางโหราศาสตร์ของผม
วันที่ 30/09/2011   21:13:02

webmaster@rojn-info.com

การกล่าวถึง Amazon Kindle ขณะที่เขียนบทความนี้ คือ ราวกลางปี 2554 ในแง่กาลเวลาต้องนับว่าช้าอย่างมากๆๆๆ เนื่องจากเป็นสินค้าไอทีที่มีจำหน่ายมาเป็นปีๆ แล้ว  มีการปรับปรุงกันมาจนถึงรุ่นที่ 3 แล้ว  แต่สำหรับคนไทยนั้น  อย่าว่าแต่จะมีมนุษย์ไอทีรายไหนซื้อหา Amazon Kindle ไว้ในครอบครองอย่างตัวผมเลย  แค่ใครเคยได้ยินชื่อเจ้า Amazon Kindle หรือรู้ว่าในโลกนี้มีอุปกรณ์ไอทีพรรค์นี้ก็ถือว่าความรู้รอบตัวด้านไอทีพอใช้ได้แล้ว  ขณะที่อีกหลายคนอาจจะไม่รู้จักมันเลยด้วยซ้ำ  สาเหตุสำคัญเนื่องจากมันเป็นผลิตภัณฑ์ของ Amazon.com ที่โดยปกติต้องสั่งซื้อจากเว็บไซต์ของเขา  แม้จะมีคนไทยเปิดเว็บจำหน่าย Amazon Kindle อยู่เหมือนกัน  แต่ไม่ใช่ในลักษณะผู้แทนจำหน่าย  เข้าใจว่าเป็นรับฝากซื้อหรือไม่ก็เป็นการทยอยซื้อมาเก็บพร้อมๆ กับทยอยขายทีละไม่กี่เครื่อง  ไม่ใช่อย่างสินค้าทั่วไปที่จะมีตัวแทนจำหน่ายสั่งเข้ามาวางขายตามห้างครับ

 

Amazon Kindle ขนาดจอ 6 นิ้วที่จำหน่ายในปัจจุบัน 
แบนเนอร์นี้จะดูเป็นแค่ภาพประกอบบทความ
หรือจะคลิกเข้าไปดูรายละเอียดต่อไปก็ตามอัธยาศัยครับ

 สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก Amazon Kindle จริงๆ หรือพอจะรู้แต่ยังอธิบายไม่ถูก ลองมาดูคำนิยามที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษเขาให้ไว้ ดังนี้ครับ

 The Amazon Kindle is an E-book reader developed by Amazon.com subsidiary Lab126 which uses wireless connectivity to enable users to shop for, download, browse, and read E-books, newspapers, magazines, blogs, and other digital media. The Kindle hardware devices use an E Ink electronic paper display that shows up to 16 shades of gray, minimizes power use and simulates reading on paper.

 ผมคัดมาเฉพาะย่อหน้าแรกของบทความ http://en.wikipedia.org/wiki/Amazon_Kindle นะครับ  รายละเอียดมากกว่านี้คลิกตามไปอ่านกันได้ตามอัธยาศัย  คำแปลของย่อหน้าที่คัดลอกมานี้ก็ประมาณว่า เจ้า Amazon Kindle นี้ เป็นเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ที่พัฒนาโดย Amazon.com ซึ่งใช้การเชื่อมต่อไร้สายที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งซื้อ ดาวน์โหลด ค้นหา และอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์ วารสาร บล็อก และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ  ฮาร์ดแวร์ของคินเดิลนั้นใช้การแสดงผลแบบกระดาษอิเล็กทรอนิกส์อีอิงค์ (E Ink) ที่เป็นสีเทา 16 เฉด ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานและจำลองการอ่านได้เหมือนกระดาษจริง

 คำอธิบายของผมเองที่หวังว่าจะทำให้เข้าใจมากขึ้น  คือเจ้าคินเดิลนี้  มันจัดว่าเป็นคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งนั่นเองครับที่เขาออกแบบมาเพื่อการอ่านหนังสือและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทให้เหมือนเราอ่านกระดาษจริง  หลายคนถือว่าคินเดิลนี้เป็น Tablet PC ประเภทหนึ่ง  แม้หน้าจอจะไม่ใช่แบบจอสัมผัส (Touch Screen) อย่าง Tablet PC ทั่วไป  แต่นี่อาจจะไม่ใช่ข้อจำกัดหรือข้อด้อยโดยสังเกตจากตัวผมเองและคนอื่นๆ ที่ใช้โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตระบบสัมผัส  ก็ยังจิ้มผิดอยู่เสมอ  แต่เจ้าคินเดิลที่ใช้คีย์บอร์ดเล็กๆ กับปุ่มเสริมอีกไม่กี่ปุ่มสามารถที่จะควบคุมการอ่านหนังสือได้เป็นอย่างดี  และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้อย่างรวดเร็ว  ส่วนหนังสือหรือกระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้น  หลายท่านคงคุ้นกับไฟล์ในรูปแบบ PDF กันเป็นอย่างดี  แต่คินเดิลนั้นไม่ได้ออกแบบมาทำหน้าที่หลักในการอ่าน PDF หรอกครับ  ในเมื่อเจ้าของคือ Amazon ก็ต้องออกแบบมาสำหรับไฟล์ E-book ของตัวเองที่เขาจะบริหารจัดการให้อ่านได้เฉพาะคนที่เสียตังค์ซื้อ  ถ้ามัวแต่คุยรายละเอียดในเรื่องนี้เดี๋ยวจะออกทะเลไม่ได้คุยกันตามที่ตั้งหัวข้อเอาไว้  ใครสนใจใคร่รู้เรื่องทางเทคนิคอื่นๆ ขอได้โปรดค้นหาจากแหล่งความรู้อื่นๆ ก็แล้วกันครับ

 ก่อนหน้าที่จะมี Amazon Kindle นั้นไซร้  บรรดาผู้ศึกษาโหราศาสตร์สากลและโหราศาสตร์ยูเรเนียนอย่างผม  เขาศึกษาค้นคว้าหาความรู้กันอย่างไร?  อันดับแรกย่อมไม่พ้นตำรับตำราภาษาไทยล่ะครับ  แต่ก่อนผู้เขียนที่เป็นหลักคือท่านปรมาจารย์ จรัญ พิกุล และ พลตรี ประยูร พลอารีย์  ซึ่ง ณ เวลานี้ ทั้งสองท่านได้ละสังขารไปเป็นเวลานานแล้ว  ผลงานของท่านทั้งสองที่ยังหลงเหลืออยู่  ฉบับที่จำหน่ายกันอย่างถูกลิขสิทธิ์นั้น  ไม่ได้มีวางจำหน่ายกันโดยทั่วไป  แม้บางสำนักจะแก้ปัญหาด้วยการถ่ายเอกสารจำหน่ายกันเป็นการภายใน  ก็ทำได้เฉพาะแวดวงภายในสำนักของตนจริงๆ  ไม่ได้ช่วยให้ตำราเหล่านั้นแพร่หลายขึ้นมาสักเท่าไหร่  ตำราของครูบาอาจารย์รุ่นหลังก็แจ้งเกิดค่อนข้างยากตามกระบวนการขั้นตอนการจัดพิมพ์หนังสือแบบไทยๆ

 เรื่องจะสนใจใฝ่หาตำราภาษาอังกฤษนั้น  หลายคนประกาศตนอย่างไม่อายเลยว่า “อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก” แล้วก็หาทางออกกันง่ายๆ ด้วยการวิ่งไปตามเว็บบอร์ดต่างๆ  แล้วตั้งกระทู้ถามหาความรู้กันแบบต่อจิ๊กซอว์  พูดอย่างยุติธรรมการหาความรู้แบบนี้มันก็มีทั้งผลดีผลเสีย ในวงการได้มีการคุยเรื่องนี้กันมาเยอะแล้ว  รายละเอียดดูได้จากบทความ “โหราศาสตร์ยูเรเนียน กับ ความรู้แบบกระเส็นกระสาย” (http://www.rojn-info.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538691352&Ntype=6) ในเว็บนี้ และ “จิ๊กซอว์ของโหราศาสตร์สากลยูเรเนียน” (http://www.astroclassical.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=534550100) จากเว็บเพื่อนบ้านครับ

 แล้วคนที่ภาษาอังกฤษแข็งแรงพอจะอ่านตำราเมืองนอกได้  หรือที่ภาษาไม่แข็งแรงมาก  แต่ยังอยากได้ตำราเมืองนอกไว้โชว์หรือดูเนื้อหาที่ไม่ต้องแปลกันมาก เช่น ปฏิทินสมผุสดาว เขาแก้ปัญหากันอย่างไร?  คำตอบคือ แต่ดั้งแต่เดิมชาวยูเรเนียนและโหราศาสตร์สากลจะพากันไปใช้บริการของร้านหนังสือแห่งหนึ่งชื่อว่าร้านนิพนธ์ครับ  แต่ก็ใช่ว่าจะเพียงพอต่อความต้องการ  ปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอๆ คือ การที่ทางร้านสั่งซื้อหนังสือมาได้ในจำนวนจำกัด  ย่อมมีการปัญหาการซื้อตัดหน้ากัน (จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม)  หรือเล่มที่เราสนใจแต่ทางร้านเขาไม่ได้สั่งมาจำหน่ายด้วยเหตุอะไรก็ตาม

 มาในยุคอินเทอร์เน็ต  เว็บไซต์กลายเป็นช่องทางใหม่ในการสั่งซื้อโดยตรงจากผู้จำหน่าย  แต่ช่องทางนี้ยังคงเป็นข้อจำกัดสำหรับผู้ที่ไม่รู้ไอทีหรือยังกลัวเทคโนโลยีอยู่  หนทางที่อาจจะช่วยได้คือให้คนที่รู้ไอทีเขาช่วยดำเนินการให้  ในด้านราคาอาจจะเป็นเรื่องใหญ่สำหรับบางคน คือ บวกค่าขนส่งและภาษีนำเข้า (ถ้ามี) แล้วอาจจะใกล้เคียงหรือมากกว่าราคาหนังสือ  แต่ถ้าจะรอซื้อจากร้านในเมืองไทยราคาก็คงใกล้เคียงกัน  อีกประการคือเรื่องของระยะเวลาในการจัดส่ง  ถ้าเลือกวิธีการจัดส่งที่ราคาถูกหน่อยอาจจะต้องรอรับของเป็นเวลานานและอาจต้องไปรับของและเสียภาษีนำเข้าที่ไปรษณีย์  หากจะให้ส่งของถึงบ้านแบบเร็วทันใจก็จะเสียค่าส่งแพงขึ้น

 
Amazon Kindle ของผม ตอนที่พึ่งแกะออกจากกล่อง


แกะพลาสติคแล้วเอามาใส่ปกหนังให้ดูใกล้เคียงหนังสือจริงซักหน่อย

แล้วทีนี้คินเดิลจะเข้ามาช่วยได้อย่างไร?

 ในการสั่งซื้อตัวเครื่อง Amazon Kindle นั้น  ท่านจะเผชิญกับปัญหาในการสั่งซื้อในทำนองเดียวกับการสั่งซื้อหนังสือดังที่กล่าวในย่อหน้าก่อน  ซึ่งจะเป็นปัญหากับท่านมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับทัศนะของท่านต่อการซื้อของทางอินเทอร์เน็ต  โดยส่วนตัวผมได้สั่งซื้อ Amazon Kindle รุ่น 3 ที่มีแต่ระบบ Wi-fi ไม่มี 3G ราคาเครื่องล้วนๆ $139 คิดเป็นเงินไทยราวสี่พันกว่าบาท  รวมกับค่าปกพันกว่าบาทและค่าขนส่งแล้ว  รวมเป็นเงินไทยประมาณ 7 พันบาทเศษ  ซึ่งเป็นราคาที่ผมยอมรับได้  แต่ถ้าท่านจะไม่ยอมลงทุนกับฮาร์ดแวร์ตัวนี้จริงๆ  ด้วยเหตุใดก็ตาม  ทาง Amazon ยังได้จัดทำโปรแกรม Kindle สำหรับคอมพิวเตอร์พีซีและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ท่านถนัดให้ท่านสามารถสั่งซื้อและอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของ Amazon ได้  โดยมีทั้งข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป  และแม้ว่าท่านจะมีตัวเครื่องคินเดิลแล้วท่านก็ยังสามารถใช้โปรแกรมสำหรับอุปกรณ์เหล่านั้นควบคู่กันไปได้  ขอยกตัวอย่างตัวเองอีกทีว่าโดยปกติจะใช้เครื่องคินเดิลเป็นหลักในการอ่านหนังสือ  แล้วก็ใช้โปรแกรม Amazon Kindle for PC และ Amazon Kindle for Android เอาไว้ดูภาพสีหรือภาพใหญ่ๆ รวมถึงบางเวลาที่สะดวกจะใช้คอมฯ หรือแท็บเล็ตมากกว่าหยิบคินเดิล



หน้าตาของโปรแกรม Kindle for PC

ทีนี้มาดูกันว่าพอผู้ศึกษาโหราศาสตร์อย่างเรามีเจ้าตัวเครื่องคินเดิลและ/หรือโปรแกรมคินเดิลสำหรับอุปกรณ์ตัวเก่งอื่นๆ ของเราแล้ว  อะไรที่มันจะง่ายสะดวกสบายขึ้น  อะไรที่ยังเป็นข้อจำกัดหรือข้อควรระวัง  ผมขอบรรยายปนๆ กันไปทั้งข้อดีข้อเสียหรือข้อจำกัดเลยนะครับ

 เมื่อเรามีเครื่องคินเดิลและ/หรือโปรแกรมคินเดิลแล้ว  ขั้นต่อไปของการเป็นลูกค้าประจำของ Amazon Kindle Store เราจะต้องไปที่เว็บ Amazon.com เพื่อตั้งค่าให้เขารู้ว่าเมื่อเราคลิกสั่งซื้อหนังสือ E-book แล้ว  จะไปหักเงินจากบัตรเครดิตใบไหน  ท่านที่ไม่คุ้นกับการใช้บัตรเครดิตซื้อของทางอินเทอร์เน็ตคงจะมีปัญหาอีกแล้วละซี  แต่ถ้าผ่านความระแวงสงสัยตรงนี้ไปได้  ท่านจะได้พบกับประสบการณ์มหัศจรรย์ในการสั่งซื้อหนังสือจากเมืองนอกในชั่วเวลาพริบตาเดียว  ไม่ต้องกลัวว่าหนังสือมีจำกัดแล้วจะโดนใครซื้อตัดหน้าหรือหมดสต็อค  พูดง่ายๆ มันคือการดาวน์โหลดไฟล์ขนาดเล็กๆ มาโดยมีค่าตอบแทนให้เขานั่นเอง  หนังสือแต่ละรายการจะมีราคาถูกกว่าหนังสือที่เป็นเล่มอยู่แล้ว  แถมยังไม่ต้องเสียค่าส่งและค่าภาษีใดๆ อีกต่างหาก  ถ้าท่านเห็นว่าความสะดวกเช่นนี้จะเป็นประโยชน์กับฝ่ายที่ได้ตังค์คือ Amazon.com ซะมากกว่า  กลัวจะซื้อเพลินจนวงเงินเต็มไม่รู้ตัว  หรือถ้ารีบร้อนซื้อมาแล้วหนังสือมันอาจจะไม่ดีหรือไม่ใช่อย่างที่เราเข้าใจ  จะทำอย่างไร  ตรงนี้ผมยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการขอคืนเงินค่าหนังสือ  แต่ในการป้องกันนั้น  Amazon.com มีมาตรการให้เราอยู่แล้ว  โดยประการแรก  แทนที่จะรีบร้อนคลิกตรงปุ่ม Buy now with 1-click ให้ขอไฟล์ตัวอย่างหนังสือ (Sample) มาดูก่อนด้วยการคลิกที่ปุ่ม Send sample now ประการถัดมา  หากเป็นหนังสือที่เคยมีผู้ซื้อเขียนบทวิจารณ์ (Review) เอาไว้แล้ว  ท่านสามารถที่จะดูการให้คะแนนของเขาและเหตุผลแห่งความชอบ-ไม่ชอบในบทวิจารณ์นั้นๆ ก่อนได้

 
ที่หน้าเว็บของ Amazon ที่มีข้อมูลของ E-book เล่มใด จะมีแบเนอร์พรรคนี้ทางขวา
แทนที่จะรีบร้อนสั่งซื้อให้คลิก Send sample now ครับ

พูดถึงไฟล์หนังสือตัวอย่าง (Sample) ของเขาแล้ว  ผมเคยเจอปัญหาส่วนน้อยที่ผู้เขียนกั๊กไว้ไม่ยอมจัดทำเนื้อหาที่จะบอกให้เราคาดเดาเนื้อหาของไฟล์หนังสือฉบับจริงได้เลย  หากเจอ Sample เช่นนี้แล้วจะเสียเงินซื้อไฟล์เล่มจริงไปไยเล่า  โดยส่วนใหญ่ Sample มักจะนำบทนำ (Introduction) ของหนังสือมาเป็นเนื้อหาหลัก  ที่ใจดีหน่อยก็จะมีสารบัญให้ได้เห็นเค้าโครงของหนังสือ  จนกระทั่งที่ใจดีมากๆ ยังมีเนื้อหาบทแรกให้อีกต่างหาก  อ่านหนังสือตัวอย่างเหล่านี้แล้วยังจะได้ความรู้มากกว่าอ่านความเห็นของบรรดาผู้(อวด)รู้ตามเว็บบอร์ดต่างๆซะอีก  หนังสือบางเรื่องถ้าเราแค่อยากรู้คร่าวๆ หรือยังไม่พร้อมจะซื้อไฟล์เล่มจริงแล้วได้ Sample ดีๆ แบบนี้  ก็ช่วยประหยัดเงินหรือชะลอการซื้อไปได้เหมือนกันครับ

 ในการซื้อหนังสือเล่มจริงนั้น  ปัญหาที่เจอแน่ๆ คือพอซื้อมาเก็บได้จำนวนหนึ่งก็จะเจอปัญหาเรื่องที่เก็บ  ต้องหาซื้อตู้ ชั้น หรือกล่อง ฯลฯ มาเก็บให้เป็นระเบียบ  จะหยิบมาใช้ในห้องในบ้าน  หรือนำไปอ่านไปใช้นอกบ้านก็นำไปได้ไม่กี่เล่มขึ้นอยู่กับขนาดของหนังสือและกระเป๋าที่จะบรรจุ  แต่เจ้าเครื่องคินเดิลนี้ต้องนับว่าเป็น “ห้องสมุดมือถือ” เลยครับ  ด้วยขนาดที่บางเบา  ถ้าเป็นตัวใหญ่อย่าง Kindle DX ขนาดกว้างยาวจะใกล้เคียงกับกระดาษ A4  ส่วน Kindle 3 ขนาดจอ 6 นิ้วอย่างที่ผมใช้ ขนาดกว้างยาวใกล้เคียงกับกล่อง DVD น้ำหนักไม่กี่ออนซ์  แม้จะต้องใส่ปกหนังหรือใส่เคสเพื่อป้องกันการกระทบกระแทกและเพื่อความสวยงามก็ไม่ได้ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากนัก  หน่วยความจำที่ใช้ในการจัดเก็บไฟล์หนังสือแม้จะมีเพียง 4 GB ไม่สามารถเพิ่ม Storage Card ได้  แต่ด้วยขนาดของไฟล์หนังสือแต่ละเล่มที่เล็กมาก  ทำให้คินเดิลสามารถจุไฟล์หนังสือได้นับเป็นพันเล่ม  พกพาไปไหนได้ง่าย  ในกรณีที่คุณใช้โปรแกรม Kindle สำหรับอุปกรณ์อื่น  เครื่อง  Notebook/Netbook หรือ Tablet ของคุณก็จะมีหน้าที่เป็นห้องสมุดให้คุณด้วยในลักษณะเดียวกัน

 บางท่านคงเคยได้ยินนะครับว่าเจ้าเครื่องคินเดิลนี้สามารถอ่าน “กลางแดด” ได้  แต่ถ้าจะพูดให้รู้สึกดีๆ ในยุคที่แสงแดดมีรังสียูวีรุนแรงกว่ายุคก่อนๆ คงต้องบอกว่าคินเดิลสามารถใช้อ่านหนังสือ “กลางแจ้ง” หรือในที่ที่มีแสงธรรมชาติเช่นระเบียงของอาคารได้  คนไทยคงไม่ถึงขนาดไปนั่งอ่านนอนอ่านบนเตียงผ้าใบตามชายหาดอย่างในภาพโฆษณาที่เว็บของ Amazon หรอกครับ  ด้วยเทคโนโลยี e-ink ที่ให้ความรู้สึกแทบจะเหมือนพิมพ์หมึกบนกระดาษจริงแทนที่จะใช้การยิงแสงเข้าตาเราเหมือนบรรดา “จอ” ของอุปกรณ์ไอทีทั่วไป  ทั้งยังสามารถปรับขนาดตัวหนังสือให้ใหญ่เล็กให้พอเหมาะกับสายตาได้  ทำให้สามารถอ่าน E-book ได้นานกว่าการอ่านจากอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ  ส่วนโปรแกรมคินเดิลที่รันบนอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ ที่ผมบอกว่ามันยิงแสงเข้าตาเรานั้น  เขาแก้ปัญหาด้วยการสร้างตัวเลือกให้เราอ่านหนังสือได้ในแบ็คกราวด์ที่เป็นสีซีเปียหรือตัวหนังสือสีขาวบนพื้นสีดำได้  ถึงตรงนี้ขอออกทะเล เอ๊ย! ออกนอกเรื่องนิดนึงว่าแล้วทำไมบรรดาเจ้าของเว็บไซต์ทั้งหลายทั้งไทยทั้งฝรั่งถึงยังชอบดีไซน์เว็บไซต์โดยใช้แบ็คกราวด์สีขาวกันอยู่?

 
ตัวอย่างโปรแกรม Kindle for PC ในโหมด Sepia

พูดถึงคุณสมบัติด้านดีของ Amazon Kindle มาก็เยอะนี่ไม่ได้หมายความขนาดจะมายั่วยุกันว่าต่อไปนี้เลิกอ่านหนังสือกระดาษกันแล้วมาอ่าน E-book แทนหรอกนะครับ  ในทัศนะผมอยากให้ E-book เข้ามาทดแทนหนังสือกระดาษให้ได้สักประมาณ 70-90 เปอร์เซ็นต์  แล้วแต่ความจำเป็นของผู้ใช้งานที่ยังต้องมีหนังสือเล่มไว้บ้างเพื่อการอ้างอิงในระยะยาว  รวมถึงความรู้สึกบางประการที่ E-book ทดแทนไม่ได้  อย่างที่เจอมากับตัวคือพอใช้เจ้าคินเดิลมาระยะหนึ่งก็รู้สึกว่าหนังสือกี่ร้อยกี่พันเล่มก็อ่านจากเจ้าคินเดิลตัวเดิมสีเดิมรูปร่างเดิม  ตัวอักษร (Font) แบบเดิมๆ  ซึ่งหากเป็นหนังสือจริง  แต่ละเล่มเราจะได้สัมผัสกับดีไซน์หน้าปกแบบต่างๆ  ได้สัมผัสเนื้อกระดาษแบต่างๆ  การเย็บเล่ม  การจัดรูปเล่มและตัวอักษรแบบต่างๆ  การพลิกหน้าหนังสือกระดาษด้วยมือในกรณีที่ต้องการอ่านผ่านๆ บ้างในบางอารมณ์  หนังสือจริงยังทำได้เร็วกว่าคินเดิลเป็นอย่างมาก

 ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งคืออย่าพึ่งไปคิดไปฝันว่า  หนังสือเรื่องไหนพิมพ์เป็นเล่มแล้วจะต้องมี E-book ควบคู่กันไป  คือแม้จะมี E-book สำหรับคินเดิลเป็นจำนวนมากแล้วก็ยังไม่ครอบคลุมหนังสือทุกเรื่อง  หลายเล่มใน Amazon เองยังคงขายในรูปแบบของปกแข็งและพ็อคเก็ตบุ๊คปกอ่อนอยู่เลยครับ  จะไปโทษเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือว่าไม่ทันสมัยหรืออะไรก็จะเป็นบาปเปล่าๆ  เอาเป็นว่าเขายังมีความไม่พร้อมบางประการก็แล้วกัน  โดยผู้รู้ด้านไอทีทั้งหลายได้แต่ปลอบใจเราว่าอนาคตเขาคงปรับรูปแบบเป็น E-book กันมากขึ้นเรื่อยๆ  ด้านภาษาเป็นอีกข้อจำกัดหนึ่งในการจัดทำ E-book สำหรับคินเดิล  ณ ปัจจุบัน Amazon มีหนังสือ E-book จำหน่ายเพียง 6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อิตาลี และโปรตุเกส  เท่านั้นครับ  ทั้งที่ความจริงฟอนต์ในเครื่องคินเดิลสามารถแสดงตัวอักษรได้ทุกภาษารวมทั้งภาษาไทย  ซึ่งคงเป็นไปตามมาตรฐาน utf-8 แต่การเรียงสระวรรณยุกต์บน-ล่างรวมถึงการตัดคำในภาษาไทยยังไม่สามารถทำได้ครับ  เหตุที่ผมทราบคือได้ทดลองแปลงไฟล์ภาษาไทยด้วยการส่งไปยังอีเมล์ประจำเครื่องกับแปลงเป็นไฟล์ E-book ฟอร์แมตอื่นที่คินเดิลอ่านได้แล้วผลเป็นยังงั้นครับ  ถ้าภาษาไทยมันยุ่งยากนักแล้วภาษาอื่นๆ ของชาวโลกอีกตั้งหลายภาษาล่ะ?  คงไม่ใช่เรื่องทางเทคนิคอย่างเดียวหรอกครับ  ทาง Amazon คงยังไม่มีบุคลากรที่จะมาบริหารจัดการหนังสือในภาษาอื่นๆ นั่นเองครับ

 พูดเรื่องภาษาของ E-book สำหรับคินเดิล แล้ว  บางคนอาจจะบอกว่าแค่ภาษาอังกฤษข้าก็จะไม่รอดเฟ้ย  ถ้าไม่มีภาษาไทยข้าก็ไม่เอา  งั้นก็ตามใจครับ  แต่กับคนที่คิดว่าเรียนภาษาอังกฤษมากับครูบาอาจารย์มาเป็น 10 ปี  อยากลองอ่านดูแต่ไม่รู้จะไหวหรือเปล่า  ในตัวเครื่องคินเดิลนั้นเขามีโปรแกรมดิคชันนารีมาให้แบบ Built-in เลยครับ  อ่านหนังสือเล่มไหนไม่เข้าใจศัพท์คำไหนเลื่อนเคอร์เซอร์ไปตรงนั้น  ก็จะมีคำแปลของคำศัพท์นั้นเป็นภาษาอังกฤษที่ง่ายขึ้น  ซึ่งน่าจะช่วยให้ภาษาอังกฤษของท่านแข็งแรงขึ้นมาบ้าง

 

ตัวอย่างรายการหนังสือโหราศาสตร์ใน Kindle Store

 ว่าจะพยายามเน้นที่การใช้คินเดิลเพื่อประโยชน์ทางด้านคลังหนังสือความรู้โหราศาสตร์  ดูเหมือนยังพูดเรื่องคุณสมบัติทั่วไปของคินเดิลซะยาว  ลองมาดูตัวอย่างรายชื่อหนังสือด้านโหราศาสตร์ที่ผมมีไฟล์ E-book ไว้ครอบครองในเครื่อง Amazon Kindle แล้ว  กับบางรายการที่ขอ Sample เขามาดูแล้วเห็นท่าทางน่าสนใจ  ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องตรงกับความสนใจหรือความจำเป็นของท่านอื่นๆ  และเล่มที่ผมซื้อแล้วส่วนใหญ่ก็ยังอ่านไม่จบหรอกนะครับ  ขอให้คิดซะว่าเป็นการยกตัวอย่างพอเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าจะใช้คินเดิลในการสร้างคลังความรู้ด้านโหราศาสตร์เฉพาะบุคคลของท่านได้อย่างไรก็แล้วกันครับ

 

หนังสือเกี่ยวกับโหราศาสตร์ยูเรเนียน

ณ เวลานี้ต้องพูดความจริงกันก่อนครับว่า E-book สำหรับ Amazon Kindle ที่เป็นตำราโหราศาสตร์ยูเรเนียนโดยเฉพาะนั้นยังไม่มีครับ  มีแต่หนังสือที่เกี่ยวกับหลักการในโหราศาสตร์ยูเรเนียนเพียง 2 เล่มดังรายชื่อข้างล่างนี้ครับ  หากทราบว่ามีเพิ่มเติมเมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบครับ  แถมอีกหน่อยว่าหากใครคิดว่าตนเองมีความรู้ทั้งทางโหราศาสตร์ยูเรเนียนและภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีพอที่จะเขียนตำราโหราศาสตร์ยูเรเนียนขายชาวโลกได้ละก็  ช่องทางการทำตลาดกับ Amazon Kindle รอท่านอยู่ครับ

  • Midpoints: Unleashing the Power of the Planets โดย Michael Munkasey
  • Solar Arcs: Astrology's Most Successful Predictive System โดย Noel Tyl

 

หนังสือโหราศาสตร์พื้นฐาน

หนังสือเกี่ยวกับความรู้ทางโหราศาสตร์สากลที่ควรมีไว้เพื่อการศึกษาเป็นพื้นฐานเบื้องต้นครับ

  • AN INTRODUCTION TO ASTROLOGY โดย William Lilly เป็นตำราโหราศาสตร์คลาสสิคเก๋ากึ๊กตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1647 แน่นอนว่าตำราอื่นที่ใหม่กว่าทันสมัยกว่ามีถมไป  จะซื้อเล่มนี้เพื่อเก็บไว้อ้างอิงเฉยๆ หรือจะไว้ศึกษาในแง่ประวัติแนวคิดโหราศาสตร์ก็แล้วแต่ครับ
  • Everything Astrology Book โดย Jenni Kosarin  ตำราพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการของโหราศาสตร์สากล  พื้นฐานการผสมความหมายของดาวพระเคราะห์ จักรราศี เรือนชะตา ฯลฯ
  • The Basics of Astrology: How It Can Impact Your Life (Beginner's Basics) โดย LittleWhiteEbook.com     เล่มนี้ต้องบอกตามตรงครับว่า “Basics” ในที่นี้ไม่ใช่หลักการพื้นฐานประเภทวิธีผูกดวง หรือความหมายดาวเคราะห์ จักรราศี เรือนชะตา ฯลฯ อย่างในเล่มอื่นๆ  แต่เป็นเหมือนการปรับความคิดการนำโหราศาสตร์มาใช้ในทางที่ถูกต้องเป็นวิทยาศาสตร์แทนที่จะมาสะเดาะเคราะห์แก้กรรมอะไรพรรค์นั้นครับ

 

หนังสือโหราศาสตร์อื่นๆ

เป็นหนังสือโหราศาสตร์ประเภทที่เกินกว่าระดับพื้นฐานทั่วไป  ซึ่งอาจจะเป็นหลักวิชาแบบวิเคราะห์เจาะลึกในบางประเด็น  หรือโหราศาสตร์แนวแปลกๆ ครับ

  • The Complete Guide to Crystal Astrology: 360 Crystals and Sabian Symbols for Personal Health, Astrology and Numerology โดย Marina Costelloe เล่มนี้ผมซื้อมาด้วยอิทธิลของโหราศาสตร์แนวสัญลักษณ์ซาเบียนที่บางสำนักกำลังโปรโมทกันอยู่เพื่อการอ้างอิงเปรียบเทียบครับ  ซึ่งเป็นการนำเรื่องซาเบียนมารวมกับเรื่องอัญมณีนำโชค  ขณะที่ซื้อมีตำราเกี่ยวกับซาเบียนเพียง 2 เล่ม หรือ 2 ชื่อเรื่อง  โดยอีกเรื่องหนึ่งนั้นมีคนวิจารณ์ว่าแทนที่จะอธิบายเป็นรายองศากลับไปอธิบายจับคู่กับองศาตรงกันข้ามอันจะทำให้สับสนเปล่าๆ
  • Astrology of the Moon: An Illuminating Journey Through the Signs and Houses โดย Amy Herring เป็นเรื่องของจันทร์ในราศีต่างๆ และในเรือนชะตาต่างๆ ครับ
  • Solar Returns: A Study โดย Mary Fortier Shea  ตำราเกี่ยวกับดวงทินวรรษหรือดวงวันเกิดครับ
  • Planets In Solar Returns: Yearly Cycles of Transformation & Growth โดย Mary Fortier Shea  เกี่ยวกับดวงทินวรรษหรือดวงวันเกิดเช่นกันครับ

 

หนังสือพยากรณ์ศาสตร์อื่นๆ

สำหรับผมอยู่ในวงการพยากรณ์ทั้งที  ก็ต้องมีตำราพยากรณ์ศาสตร์อื่นๆ  เก็บๆ ไว้เพื่อการอ้างอิงกันบ้าง  ซึ่งแต่ละศาสตร์ก็มีรายชื่อตำราที่เป็น E-book มากกว่านี้  ในขั้นต้นก็เลือกมาเป็นตัวอย่างศาสตร์ละเล่มเท่านั้นครับ  มีเงินมีเวลาอาจจะซื้อเพิ่มบ้างตามความจำเป็น

  • Tarot Made Easy โดย Nancy Garen การพยากรณ์ไพ่ทาโรท์ครับ  ซื้อไว้เพื่อการอ้างอิงตามกระแสไปอย่างนั้นเอง
  • Fortune Telling with Cards โดย P. R. S. Foli  พยากรณ์ไพ่ป๊อกครับ  เสียดายว่าในเล่มไม่มีภาพประกอบ
  • Palmistry Quick & Easy โดย Peter Hazel ตำราการดูลายมือ
  • Feng Shui For Dummies โดย David Daniel  Kennedy ตำราฮวงจุ้ย
  • The Complete Book of Auras: Learn to See, Read, Strengthen & Heal Auras โดย Richard Webster การพยากรณ์แสงออร่าจากร่างกายมนุษย์ครับ  เป็นอีกเล่มที่ยังอ่านไม่จบด้วยเหตุผลสำคัญว่า  เราจะเห็นแสงออร่าได้เพียง 2 วิธีเท่านั้น  คือ การฝึกจิต กับ การถ่ายภาพด้วยกล้องชนิดพิเศษที่ทั้งแพงและหาซื้อยาก  แล้ววิชามันจะแพร่หลายได้ยังไง?
  • The Wisdom of Your Face โดย Jean Haner  ตำราโหงวเฮ้ง

 

หมายเหตุ แล้วจะทยอยเพิ่มเติมรายชื่อหนังสือและรายละเอียดต่างๆ ไปเรื่อยๆ  หรือใครจะแนะนำหนังสือ เชิญที่ webmaster@rojn-info.com ครับ

Update 30 กันยายน 2554 เมื่อวันสองวันนี้ ทาง Amazon ได้วางจำหน่ายเครื่อง Kindle รุ่นใหม่อีก 4 รุ่นดังภาพข้างล่างครับ โดย เจ้า 3 ตัวทางขวาเป็นระบบ Touch Screen ครับ  ส่วนตัวขวามือสุด แทบจะเรียกได้ว่าเป็น Tablet Multimedia ได้เลยครับ  แต่เจ้า Touch Screen ทั้ง 3 ตัวนี้  ยังขายเฉพาะในสหรัฐอเมริกาครับ  รายละเอียดและความคืบหน้าติดตามได้ตามเว็บไอทีทั่วไปหรือตรงไปที่ www.amazon.com  ครับ




โหราศาสตร์-ไอที

"เว็บบอร์ด" ตามที่ผมเข้าใจ และกฎกติกามารยาทที่ควรจะเป็น วันที่ 23/08/2010   09:52:56
ทำแผนที่ไปบ้านตัวเองง่ายๆ ผ่าน Google Maps วันที่ 04/08/2010   20:49:39
Download: "ย้อนเวลาหาอดีต"กับภาษาคอมพิวเตอร์ BASIC วันที่ 22/06/2010   10:00:34
ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Open Source/Freeware แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ วันที่ 27/10/2009   22:00:38
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อโหราศาสตร์ กับชีวิตประจำวัน วันที่ 02/06/2012   11:57:59
แนะนำ WOT ผู้ช่วยเตือนเว็บอันตราย วันที่ 05/08/2012   10:48:22
แนะนำ filehippo.com วันที่ 06/07/2008   20:40:47
สอนโหราศาสตร์ด้วย YouTube! วันที่ 00/00/0000   00:00:00
Software as a Service กรณีโปรแกรมโหราศาสตร์ยูเรเนียน วันที่ 03/07/2008   22:26:26
บทบาทของตัววัดสถิติเว็บไซต์ (Counter) วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
ประสบการณ์ การโปรโมทเว็บ ทฤษฎี และ ปฏิบัติ วันที่ 00/00/0000   00:00:00
รวมวิธีการดู โทรทัศน์ ทางหน้าจอ คอมพิวเตอร์ วันที่ 05/08/2012   12:40:50
ทางเลือกของ การเปิดเว็บไซต์ ในปัจจุบัน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
เมื่อต้องเลือกใช้ เครื่องพิมพ์ แบบ Multi-Function วันที่ 06/01/2010   23:08:16
ทดลองเล่น Wireless LAN (Wi-Fi) ในบ้าน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
ประสบการณ์เริ่มเล่น Internet แบบ Hi Speed วันที่ 06/01/2010   23:12:03 article
ประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ กล้องถ่ายภาพดิจิตอล วันที่ 00/00/0000   00:00:00
จะสอน โหราศาสตร์ ด้วย คอมพิวเตอร์ อย่างไรดี? วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ต่อ คอมพิวเตอร์ ออก โทรทัศน์ วันที่ 05/08/2012   11:27:01
เลือกคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค (NoteBook) สำหรับงาน โหราศาสตร์ วันที่ 06/01/2010   23:05:19
คอมพิวเตอร์ กับ นักโหราศาสตร์ การแย่งงานหรือการแบ่งงาน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
พีดีเอ (PDA: Palm&Pocket PC) กับการจัดระเบียบชีวิต วันที่ 06/01/2010   23:06:07
การกำหนดและรักษา รหัสผ่าน (Password) วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
อาจารย์ Help วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
ศัพท์บัญญัติ เทคโนโลยีสารสนเทศ ของ ราชบัณฑิตยสถาน วันที่ 00/00/0000   00:00:00 article
เรียน โหราศาสตร์ อย่างประหยัด ในยุค ไอที วันที่ 02/06/2012   11:59:14 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| โหรา-ประวัติศาสตร์ | โหรา-ไอที | หลักโหรโดนใจ | บทความสมทบ | โหรา-โปรแกรม | ผู้จัดทำ/ผู้สนับสนุน | Site Map |

Custom Search


ติดต่อนายโรจน์ E-mail: webmaster@rojn-info.com
หรือ Mobile: 08-1697-3098
(อาจไม่สะดวกรับสายในบางเวลา)
ยังไม่เปิดสอนและไม่รับพยากรณ์เป็นส่วนตัว
กรุณาอย่าใช้โทรศัพท์หรือส่งอีเมล์มาขอดูดวง เพราะไม่มีเวลาตอบ



มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ โหราศาสตร์แนว อ.จรัญ พิกุล - AstroClassical.com HoraUranian.com ดูดวง
โหราศาสตร์กับเครื่องประดับ บ้านฮวงจุ้ย (fengshuihut.com) ตลาดวิชาฮวงจุ้ยและดวงจีน ผูกดวง/ยูเรเนียนออนไลน์ (MyHora.com)

รวมลิงค์ : เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
eXTReMe Tracker