ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
สำหรับสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
dot
dot
bulletหลักโหรโดนใจ
bulletหลักโหร-ศิวเมษ
bulletโหรา-ประวัติศาสตร์
bulletโหรา-ไอที
bulletโหรา-โปรแกรม
bulletDemo/Freeware
bulletโปรแกรม Virgo07
bulletDelphi กับ Swiss Ephemeris
bulletผูกดวงออนไลน์กับ Astrotheme.com
bulletพิกัดภูมิศาสตร์ ประเทศไทย
bulletwebboard ผลัดกันเขียนเวียนกันอ่าน
dot
dot
bulletกำพล ภาระโภชน์ (Astroman) - ยูเรเนียน
bulletโรงเรียนโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน
bulletอดิเทพ ศรีรัตนไพฑูรย์ - ยูเรเนียน
bulletอาคม ชูจันทร์ - ยูเรเนียน, ลายมือ
bulletชาญชัย เดชะเสฏฐดี (ผู้ร่วมเขียนบทความ)
bulletอาจารย์ ธนกร ตันติถาวร - ยูเรเนียน
dot
dot
bulletประวัติ
bulletการติดต่อ
bulletภาพยนตร์ประวัติศาสตร์
bulletRojnChin's Channel (YouTube)
bulletRojnChin's Blog
bulletร้านค้าออนไลน์
dot
dot
bulletโรงเรียน โหราศาสตร์ ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน
bulletAstro.com
bulletพยากรณ์ดอทคอม
bulletมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยฯ
bulletโหราศาสตร์แนวอาจารย์จรัญ พิกุล
bulletโหรายูเรเนียนดอทคอม
bulletบ้านฮวงจุ้ย
bulletวารสารโหราเวสม์
bulletUranianSoft.com
bulletดูดวงกับ GooSiam.com
bulletMyHora.com: ดูดวงยูเรเนียนออนไลน์
bulletAstro-Seek.com: Full Moons & New Moons
bulletAstro-Seek.com: Aspect Search Engine
bulletLatitude&Longitude เมืองต่างๆ ทั่วโลก
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC
bulletรวม Link เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
bulletแผนผังเว็บไซต์ (Site Map)






ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์


CURRENT MOON


dot
มิติของเวลาในประวัติศาสตร์ (แปลโดย ดร.ชัยวัฒน์ บุนนาค) article

บทนำจากเรื่อง "On History" โดย Fernand Braudel
(แปลโดย ดร.ชัยวัฒน์ บุนนาค - จากเอกสารประกอบการเรียนประวัติศาสตร์สมัยผมเรียนปริญญาโท ราวๆ ปี 2527)

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน แต่ละส่วนคือ บทเรียงความเสนอที่พยายามอธิบายประวัติศาสตร์ในแง่มุมและมิติที่ต่างกัน

มิติที่หนึ่งหรือส่วนที่หนึ่ง มองประวัติศาสตร์ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติ ธรรมชาติซึ่งดูเกือบจะไม่เคลื่อนไหวเสียเลย ในแง่นี้ ถ้าเราจะเปรียบวิถีประวัติศาสตร์กับกระแสร์ธาร  ก็ดูเหมือนว่ากระแสร์ธารอันนี้จะไหลและเปลี่ยนแปลงช้ามาก  ถ้าไม่ไหลทวนกระแสร์กลับไปกลับมาก็ไหลเป็นวัฏฏะจักร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามิรู้ สิ้น  ข้าพเจ้าไม่ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงในการมองประวัติศาสตร์ด้วยทัศนะดังกล่าว  ซึ่งเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ  เมื่อเทียบกับมนุษย์ซึ่งอายุสั้นและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากอายุของธรรมชาติ ย่อมยาวยืนมาก  และความเปลี่ยนแปลงซึ่งแม้จะเกิดขึ้นก็ตาม  แต่ตามสายตาของมนุษย์แล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ดูราวกับว่าอยู่นิ่งคงที่ไม่ยอมเคลื่อนไหว  ต่อธรรมชาติแล้วไซร้เวลาในฐานะของผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงดูจะมี อิทธิพลสำคัญน้อยลงมาก

แต่ในขณะเดียวกัน  ข้าพเจ้าก็มิได้พอใจทัศนะทางประวัติศาสตร์แบบนี้ซึ่งยังทรงอิทธิพลใน ปัจจุบัน  นั่นคือถึงแม้จะเริ่มมีการให้ความเข้าใจกับปัจจัยทางภูมิศาสตร์มากขึ้นก็ตาม แต่นั่นก็ดูเป็นการผิวเผิน  งานเขียนของนักประวัติศาสตร์แนวนี้  ในภาคบทนำมักจะมีการเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงพอเป็นพิธีถึงปัจจัยสภาวะแวด ล้อมทางภูมิศาสตร์  โดยพูดอย่างลวกๆ ถึงภูมิศาสตร์โลหะธาตุ  ภูมิศาสตร์มนุษย์ หรือถึงภูมิศาสตร์มาลีชาติ (fleurs) หนเดียวในตอนต้น  แล้วในบทอื่นๆ ก็ไม่กล่าวถึงปัจจัยทางธรรมชาตินี้อีกเลย  สำหรับนักประวัติศาสตร์แนวนี้ถ้าพูดถึงดอกไม้  ก็พูดราวกับว่ามันบานหนเดียวแล้วสูญไปกับเวลา  ไม่กลับมาบานอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิครั้งหน้า  ถ้าเป็นฝูงสัตว์ถ้าหยุดกินหญ้าที่ไหนแล้วก็ติดอยู่กับทุ่งนั้นไม่เคลื่อนไหว ไปทุ่งอื่น  หรือถ้าพูดเรือ เรือของเขาก็เป็นเรือที่ไหลวนในน้ำนิ่ง  ไม่ต้องเผชิญกับสภาพความเป็นจริง  คือคลื่นและพายุที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล

มิติที่สองของประวัติศาสตร์อยู่เหนือประวัติศาสตร์แนวมนุษย์ - ธรรมชาติที่เคลื่อนไหวช้าในแบบที่หนึ่ง ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ในมิติที่สองนี้ ประวัติศาสตร์คือเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม

กล่าวโดยสิ้นประวัติศาสตร์ก็คือประวัติศาสตร์ของสังคมนั่นเอง  จึงมีความเคลื่อนไหวมีชีวิตและโลดเต้นเป็นจังหวะ  แต่ก็ยังเป็นจังหวะช้าๆ  เพราะฉะนั้นในภาคที่สองของหนังสือเล่มนี้จึงเป็นการศึกษาความเคลื่อนไหว คลื่นสังคมลูกต่างๆ ที่มีส่วนกำหนดวิถีประวัติศาสตร์ของดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนแถบนี้  เราจะทำการศึกษาระบบเศรษฐกิจ นครรัฐต่างๆ ในสังคมใหญ่น้อยและอารยธรรมต่างๆ ของดินแดนแถบนี้  วิธีการศึกษาแบบนี้บ่งให้เห็นว่าข้าพเจ้ามีโลกทัศน์อย่างไรในการมองและการ ศึกษาประวัติศาสตร์  ข้าพเจ้าต้องการชี้ให้เห็นว่าปัจจัยใหญ่น้อยหรือต่างระดับ  ตั้งแต่ระดับหน่วยสังคมเล็กจนถึงหน่วยภูมิภาคที่ได้กล่าวมานี้  ล้วนเปรียบเสมือนพลังคลื่นใต้น้ำที่มีส่วนกำหนดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ สำคัญๆ เช่น การเกิดสงครามระหว่างรัฐต่างๆ ในภูมิภาคนี้  ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า สาเหตุของสงครามย่อมมีความซับซ้อนมากกว่าการพูดง่ายๆ ว่าเกิดขึ้นจากคนคนเดียวหรือกลุ่มคนกลุ่มเดียว

มิติที่สาม คือประวัติศาสตร์แนวจารีตนิยม ที่เราถือเป็นแนวศึกษาในปัจจุบัน (หมายถึง ปี 1946) กล่าวโดยสรุปโลกทัศน์ประวัติศาสตร์แบบนี้ ประวัติศาสตร์คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในระดับปัจเจกบุคคลกับ ปัจเจกบุคคล (แทนที่จะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในระดับสังคมในแบบที่สอง  หรือระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติแบบที่หนึ่ง)  เป็นประวัติศาสตร์เหตุการณ์สไตล์ ฟรังซัวส์ ซีมีออง นั่นคือ การให้ความสำคัญต่อปรากฏการณ์เคลื่อนไหวในระดับผิวน้ำของกระแสร์ธารประวัติ ศาสตร์แทนที่จะสนใจปัจจัยโครงสร้างต่างๆ ซึ่งเป็นคลื่นใต้น้ำอันทรงพลังที่อยู่ในระดับลึก

ประวัติศาสตร์ในมิติที่สามนี้จึงมีลักษณะแกว่งไกว รวดเร็ว อ่อนไหวต่อการถูกกระทบราวกับอารมณ์มนุษย์  ปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวอันใดก็ตามที่เกิดขึ้น (ในระดับผิวน้ำ)  แม้จะเป็นเพียงน้อยนิด  ก็ทำให้นักประวัติศาสตร์แนวนี้ตื่นตระหนก  ประเมินผลคาดการณ์กันไปต่างๆนานา  เราไม่ปฏิเสธการศึกษาประวัติศาสตร์แนวเหตุการณ์  เพราะการศึกษาประสบการณ์และอารมณ์อันหลากหลายของมนุษยชาติ ย่อมเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นพิศวงที่สุด

แต่ขณะเดียวกันการศึกษาประวัติศาสตร์แนวนี้ก็เป็นสิ่งที่อันตรายและอาจทำ ให้เราห่างจากความจริงทางประวัติศาสตร์ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ได้  ข้าพเจ้าขอเตือนให้พวกเรานักประวัติศาสตร์ จงระมัดระวังประวัติศาสตร์แนวเหตุการณ์แบบที่ว่า  เพราะเรื่องที่เราศึกษามักจะเป็นเรื่องที่ "ร้อนคุกรุ่น" และเรามักจะเอาประสบการณ์ความรู้สึกส่วนตัวหรือคนร่วมสมัยเดียวกับเรา เข้าไปใส่ให้คนในอีกยุคประวัติศาสตร์หนึ่ง  เพราะฉะนั้นแทนที่เราจะศึกษาเรื่องราวของยุคอื่น ของคนอื่น จึงกลายเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ของยุคเราเอง  หรือเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ความโกรธ ความใฝ่ฝันปรารถนา หรือมายาคติของตัวเราที่มีต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นั้นๆ นั่นเอง

นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ภายหลังที่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่แท้จริงได้เกิดขึ้นแล้วกล่าวได้ว่ายุโรปได้เข้าสู่ยุค "ฟื้นฟูศิลปวิทยาการของคนจำนวนมาก"  คนซึ่งส่วนใหญ่ยากไร้ ถ่อมตัวแต่มีความขยันขันแข็งในการผลิตงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ขึ้นมากมาย  เอกสารประวัติศาสตร์เหล่านี้ค่อนข้างจะผิดข้อเท็จจริงและมีจำนวนเหลือคณะนับ แทบไม่น่าเชื่อ  ในขณะที่เราทำการค้นคว้าเรื่องของพระเจ้าฟิลลิปที่สอง เราต้องเผชิญกับเอกสารเหล่านี้จำนวนมากและมีความรู้สึกว่ากำลังเข้าไปในดิน แดนประหลาด  ดินแดนซึ่งแม้จะเต็มไปด้วยอารมณ์และสีสันอันน่าพิศวง  แต่ก็เป็นโลกที่มัวซัวซึ่งความจริงกับความเท็จทับกันอยู่ไม่แยกอกจากกัน อย่างกระจ่างชัด  เป็นโลกซึ่งนักประวัติศาสตร์ของยุคนั้นและยุคของเราก็เช่นกันสนใจแต่กระแสร์ เหตุการณ์ "ผิวน้ำ" แทนที่จะสนใจกระแสร์ธารของโครงสร้างความจริงซึ่งซ่อนเร้นอยู่ในระดับลึก  กระแสร์ธารระดับลึกที่ "นาวาประวัติศาสตร์ของมนุษย์" ต้องล่องลอยโต้คลื่นอย่างโดดเดี่ยวโดยที่นักประวัติศาสตร์เหล่านั้นไม่ให้ ความสนใจ

เมื่อเราจำเป็นต้องแล่นนาวาแห่งความรู้บนมหาสมุทรแห่งกาลเวลา ซึ่งการแสวงหาความจริงกระทำได้ลำบากเช่นนี้  สิ่งที่เราพึงกระทำคือ  แทนที่จะพิจารณาแต่เพียงปรากฏการณ์ผิวน้ำและหยิบมาเป็น "หลักฐานอ้างอิง" ในการเขียนประวัติศาสตร์  เราควรจะสำรวจกระแสร์น้ำที่ไหลในระดับลึกเสียก่อน  นั่นคือการมองประวัติศาสตร์ในแง่มิติที่หนึ่งและมิติที่สองซึ่งได้กล่าวมา แล้ว  อีกประการหนึ่ง  ถ้ามองในแง่ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์  เราควรจะกำหนดช่วงระยะเวลาของยุคประวัติศาสตร์ที่เราสนใจจะศึกษา  ให้มีความยาวพอที่จะทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงคลี่คลายของปัจจัยต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ได้  วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบนี้ย่อมทำให้เราสามารถแทรก "เหตุการณ์ธรรมดาที่น่าตื่นเต้นเพียงชั่วครู่ และชวนให้คิดว่าเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์" ให้ออกจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในความหมายที่แท้จริง นั่นคือ เหตุการณ์ที่สามารถมีอิทธิพลกำหนดวิถีวิวัฒน์ของประวัติศาสตร์ให้ออกจากกัน ได้

การกำหนดช่วงยุคของประวัติศาสตร์ที่เราสนใจศึกษาให้กว้างในแง่ของเวลา ย่อมเปิดโอกาสให้ความจริงถอยตัวออกมาจากความเท็จ  และเปิดช่องให้กระแสร์ประวัติศาสตร์ในระดับลึก นั่นคือวิวัฒนาการของโครงสร้างของสังคมและของจิตใจมนุษย์  ซึ่งเป็นพลังตัวจริงในการกำหนดวิถีประวัติศาสตร์แทรกตัวออกจากเหตุการณ์ ผิวเผิน  เพื่อให้เราประจักษ์ความจริงได้

มีผู้กล่าวว่า ปรัชญาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์คือ การแยกขบวนการทางประวัติศาสตร์ทั้งมวลออกเป้น 3 ส่วนหรือ 3 มิติ  ซึ่งซ้อนกันเป็นชั้นๆ ประวัติศาสตร์ในมิติของเวลา 3 มิติซึ่งมีอิทธิพลกำหนดขอบเขตความสามารถของมนุษย์ในฐานะ "ตัวแสดงทางประวัติศาสตร์" (Social Actors หรือ Actors in History) นี้ได้แก่

ก. มิติของเวลาทางประวัติศาสตร์มองในแง่ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทาง ธรรมชาติหรือทางสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์หรือเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อ มนุษย์

ข. มิติของเวลาทางประวัติศาสตร์มองในแง่ของความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสังคม

ค. มิติของเวลาทางประวัติศาสตร์มองในแง่ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือ เจตจำนงค์ของปัจเจกบุคคล หรือกลุ่มปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอันหนึ่งที่มีส่วนกำหนดวิถีประวัติศาสตร์

ถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง  ปรัชญาการศึกษาประวัติศาสตร์ของเราคือ การแยกวิเคราะห์มนุษย์ มองทั้งในแง่กลุ่มหรือแง่ปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือตัวแสดงทางประวัติศาสตร์ออกเป็นหลายบุคคลิกหลายบทบาท เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม จิตวิทยา สังคมวิทยา ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ในฐานะการดำรงชีวิตทุกๆ ด้านของเขา  และเพื่อให้เราเข้าใจปัจจัยโครงสร้างต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ ทางสังคม หรือภายในความนึกคิดของมนุษย์เอง  ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นพลังสำคัญในการกำหนดวิถีประวัติศาสตร์ทั้ง สิ้น

ผู้ที่อาจจะไม่พอใจวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์โดยการแบ่งแยก วิเคราะห์โครงสร้างทางสังคมและโครงสร้างภายในตัวมนุษย์  ก็อาจจะเป็นพวกนักประวัติศาสตร์แนวจารีตนิยมนั่นเอง  นักประวัติศาสตร์แนวนี้พอใจที่จะศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในระดับผิวเผิน  โดยคุมมนุษย์ในฐานะผู้สร้างหรือผู้มีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หนึ่งๆ โดยไม่ใฝ่ใจที่จะศึกษาแยกวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยอันซับซ้อนทั้งภายในและ ภายนอกตัวมนุษย์  ซึ่งตามความคิดของข้าพเจ้ามีส่วนกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ - องค์รวม - ให้มีการแสดงออกแบบหนึ่งในสภาพการณ์แบบหนึ่ง

ข้าพเจ้าขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า  ถ้านักประวัติศาสตร์จารีตนิยมจะกล่าวหาว่าข้าพเจ้าศึกษาประวัติศาสตร์ และศึกษามนุษย์โดยแยกส่วนเป็นชิ้นๆ แล้ว  ก็น่าจะกล่าวว่าวิธีการเลือกหรือแบ่งยุคช่วงเวลาเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ ของพวกเขาเองนั่นแหละ  ที่ทำให้การศึกษาวิถีและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แตกแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้น น้อย  จนเราไม่สามารถเห็นภาพรวมของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทั้งหมดทั้งในแง่มิติของ เวลาและของสถานที่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่สามารถทำให้เราเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ในโครงสร้างระดับลึกของวิถีประวัติศาสตร์ได้

และเช่นเดียวกัน  ถึงแม้ว่าจะเป็นการต้องคัดค้านปรมาจารย์ทางประวัติศาสตร์นิพนธ์ เช่น Ranke หรือ Karl Brandi ก็ตาม  ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แนวพรรณนาเชิงตระหนักแน่นของเขา ก็มิได้มีความเป็น "สภาวะวิสัย" หรือ "สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์"  มากเท่าที่พวกเขาคิดว่ามันควรจะเป็น  ข้าพเจ้าคิดว่าวิธีการศึกษาของเขานั้นจำกัดตัวอยู่แค่ในระดับปรัชญาประวัติศาสตร์เท่านั้น

อนึ่ง ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า วิธีการที่ข้าพเจ้าศึกษาประวัติศาสตร์โดยแบ่งอกเป็น 3 มิตินั้น ก็มิได้มีลักษณะตายตัวแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง  การนำเสนอเรื่องซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน 3 มิตินั้น ก็เพื่อความสะดวกในความเข้าใจปรัชญาการศึกษาประวัติศาสตร์ของข้าพเจ้า  เพราะในสภาพความเป็นจริงแล้ว  มิติทั้งสามย่อมเป็นองค์ประกอบของกันและกันและแบ่งแยกออกมิได้

ข้าพเจ้าหวังเช่นกันด้วยว่า ผู้อ่านคงจะไม่ตำหนิในความทะเยอทะยาน ความปรารถนา และความจำเป็นของข้าพเจ้าในการกำหนดขอบเขตในการศึกษาประวัติศาสตร์ไว้ให้ กว้างและสูง  โดยไม่จำกัดตัวอยู่แค่ในดินแดนของวิชาประวัติศาสตร์ (ตามความหมายเดิม) เท่านั้น ประวัติศาสตร์ในความหมายของข้าพเจ้าน่าจะเป็นศาสตร์ที่ขังตัวเองอยู่ในสวน สี่เหลี่ยมกำแพงสูงอย่างที่เป็นมา  วิชานี้โดยลักษณะเนื้อหาของตัวเองแล้วน่าจะต้องพึ่งพาเกี่ยวกันกับศาสตร์ แขนงอื่นๆ เป็นอย่างมากที่เพิ่งเริ่มก่อตัวและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางสาขามนุษย์ศาสตร์

ข้าพเจ้าอยากจะตั้งคำถามว่า ปัจจุบันเราอยู่ในปี 1946  ถ้าเรานักประวัติศาสตร์ไม่มีความทะเยอทะยาน ความตระหนักในภาระหน้าที่และพลังของเราแล้ว  เราจะสามารถสถาปนาลัทธิมนุษยนิยมขึ้นได้หรือไม่ Edmond Flaval ได้กล่าวไว้ในปี 1942 ว่า "เพราะเรากลัวที่จะ ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างในระดับกว้างและอย่างลึกซึ้งนี่เองที่งานประวัติ ศาสตร์นิพนธ์ชิ้นใหญ่และมีค่าจึงไม่ยอมเกิดขึ้นเสียที"

ประโยคนี้ยังคงเป็นความจริงอยู่เสมอ!!




โหรา-ประวัติศาสตร์

จอมพลเพาลุส ขุนศึกนาซีผู้ยอมจำนนต่อกองทัพแดงที่สตาลินกราด article
ดวงฮิตเลอร์ ตอนที่ 5 แผนสังหารที่ล้มเหลวกับการฆ่าตัวตายเมื่อล้มเหลว
ดวงฮิตเลอร์ ตอนที่ 4 ทำสงคราม
ดวงฮิตเลอร์ ตอนที่ 3 ชิงอำนาจ-ได้อำนาจ
ดวงฮิตเลอร์ ตอนที่ 2 เบราเนา-เวียนนา-มิวนิค-เบอร์ลิน
ดวงจอมพลรอมเมล ตอนที่ 1 ดวงชะตาแบบต่างๆ
ดวงฮิตเลอร์ ตอนที่ 1 ดวงชะตาแบบต่างๆ
ดาวหางฮัลเล่ย์กับการสวรรคตของ ร.๕ (โดย อ.มานิตย์ฯ) article
ดาวหาง พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2529 (โดย อ.มานิตย์ฯ) article
FIRST KNIGHT (สุภาพบุรุษยอดอัศวิน) (โดย ชาญชัยฯ-iseehistory.com)
ชีวประวัติกับประวัติศาสตร์
พระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ฐานข้อมูลดวงชะตาบุคคลในประวัติศาสตร์ของ Astrotheme.com article article
หลักฐานประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| โหรา-ประวัติศาสตร์ | โหรา-ไอที | หลักโหรโดนใจ | บทความสมทบ | โหรา-โปรแกรม | ผู้จัดทำ/ผู้สนับสนุน | Site Map |

Custom Search


ติดต่อนายโรจน์ E-mail: webmaster@rojn-info.com
หรือ Mobile: 08-1697-3098
(อาจไม่สะดวกรับสายในบางเวลา)
ยังไม่เปิดสอนและไม่รับพยากรณ์เป็นส่วนตัว
กรุณาอย่าใช้โทรศัพท์หรือส่งอีเมล์มาขอดูดวง เพราะไม่มีเวลาตอบ



มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ โหราศาสตร์แนว อ.จรัญ พิกุล - AstroClassical.com HoraUranian.com ดูดวง
โหราศาสตร์กับเครื่องประดับ บ้านฮวงจุ้ย (fengshuihut.com) ตลาดวิชาฮวงจุ้ยและดวงจีน ผูกดวง/ยูเรเนียนออนไลน์ (MyHora.com)

รวมลิงค์ : เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
eXTReMe Tracker