ReadyPlanet.com


คัมภีร์เททราบีบลอส กับ การสมพงศ์ดวงชะตา (4)
avatar
ชาญชัย


user image

 การตีความประเด็นที่ 3  คำว่า "สัมพันธ์ดี" หมายความอย่างไร  ถ้าจะเขียนให้ยาวเป็นบทความหลายตอนก็ยังจบได้ยากสำหรับประเด็นนี้ คงสรุปสั้นๆว่าผมมีความเห็นดังนี้

1.  ถ้าว่ากันตามโหราศาสตร์คลาสสิคและแผนใหม่ทั้งหลายที่ต่อยอดมาจากคลาสสิค ก็ต้องบอกว่า ตำแหน่งสัมพันธ์ อ่อน (จำนวนเท่าของ 30 องศา) เป็นสัมพันธ์ดี  ตำแหน่งสัมพันธ์แข็ง (จำนวนเท่าของ 45 องศา) เป็นสัมพันธ์ร้าย  ปัญหาก็คือว่าสถิติในมือของนักโหราศาสตร์กลุ่มนี้ในยุคหลังโดยเฉพาะเกี่ยวกับการสมพงศ์ดวงชะตาคงไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ยึดมั่นถือมั่นกันมานมนานดังกล่าว  จึงเกิดความเห็นแย้งในภายหลังค่อนข้างมากในวงการเดียวกัน โดยเฉพาะในประเด็นว่า  ถ้าเป็นตำแหน่งสัมพันธ์ระหว่างศูภเคราะห์ หรือจุดเจ้าชะตาแล้วแม้จะเป็นมุมแข็งก็ไม่ร้าย  บางโครงสร้างถึงกับบอกว่าต้องมุมแข็งถึงจะดี ดีกว่ามุมอ่อนอย่างมุมตรีโกณซึ่งเป็นตำแหน่งสัมพันธ์ทองของโบราณเสียอีก  เช่นกรณี อาทิตย์เล็งจันทร์  หรือจันทร์เล็งจันทร์ เป็นต้น  

2.  ในมุมมองของยูเรเนี่ยน  คอสโมไบโอโลยี่ และระบบนิรายะนะ ชัดเจนมาโดยตลอดว่า ตำแหน่งสัมพันธ์มุมแข็ง่มุมอ่อนไม่มีส่วนกับความดีร้ายเลย  คุณภาพของปัจจัยที่มาผสมกันต่างหากที่เป็นตัวแปรกำหนดความดีร้าย  ตรงกันข้ามยูเรเนี่ยนมองว่า มุมแข็งจึงจะมีกำล้งทำให้การผสมปัจจัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นได้  ในขณะที่มุมอ่อนนั้นยูเรเนี่ยนไม่นำมาพิจารณาเลย  ส่วนระบบนิรายะนะนั้นแล้วแต่ปัจจัยที่มาผสมอิทธิพล  เพราะบางปัจจัยก็ให้ผลแรงในมุมแ็ข็ง  บางปัจจัยก็ให้ผลแรงในมุมอ่อน เช่นพฤหัสให้แสงเต็มที่ในราศีที่ 5 และ 9 (ตรีโกณ 120 องศา มุมอ่อน)  เสาร์ให้แสงเต็มที่ในราศีที่ 10 (มุมจตุโกณ 90 องศา มุมแข็ง) เป็นต้น  ปัญหาก็คือทั้ง 3 ระบบนี้เน้นผลที่่จะเกิดเหตุการณ์ในชีวิตมากกว่าการอ่านเรื่องราวภายในจิตใจของเจ้าชะตาทีก่อให้กิดพฤติกรรมต่างๆ  ในขณะที่โหราศาสตร์คลาสสิคแน้นเรื่องของการวิเคราะ์พฤติกรรมและสภาพจิตใจ  ซึ่งสอดคล้องกับการพิจารณาสมพงศ์ดวงชะตามากกว่าซึ่งเป็นเรื่องของการอ่านความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายในเป็นสำคัญ อีกทั้งเนื้อหาเรื่องการสมพงศ์ดวงชะตา  ทั้งหลักเฏณฑ์โบราณ และหลักเกณฑ์ใหม่ๆที่พัฒนากันขึ้นมาล้วนเกิดขึ้นจากวงการคลาสสิคและแผนใหม่เกือบทั้งหมด ยูเรเนี่ยน และคอสโมไบโอโลยี่พูดถึงเรื่องการสมพงศ์ดวงชะตาน้อยมากๆ  ส่วนระบบนิรายะนะก็มีกล่าวถึงบ้างแต่ไม่ละเอียดครอบคลุมเหมือนในโหราศาสตร์สากลคลาสสิคและแผนใหม่

3.   โดยสรุปสำหรับโครงสร้าง อาทิตย์/ จันทร์ และ อังคาร/ศุกร์  ที่อ้างถึงคัมภีร์เททราบีบลอส ตามกระทู้ชุดนี้ ผมมีความเห็นดังนี้

     1)   มุม 0 องศา ดี   และน่าจะไม่มีข้อเสียเลย

      2)  มุม 60 องศา ดี  แต่ขาดกำลังส่ืง  อาจให้ผลไม่แรงพอในความสัมพันธ์

     3)   มุม   90  องศา  อาจมีข้อเสียบ้าง (เสมือนหนึ่งมีอังคารเ้ข้ามาร่วมอิทธิพลด้วย  กลายเป็น อาทิตย์ผสมจันทร์ผสมอังคาร)  ข้อดีจาการที่อาทิตย์ผสมจันทร์ ( มีผู้หญิงต้องมีผู้ชาย  มีพระอาทิตย์ต้องมีพระจันทร์ มีกลางวันก็ต้องมีกลางคืน) มีกำล้งแรงพอที่จะทำให้เกิดความประทับใจในความสัมพันธ์

     4)   มุม   120 องศา  ตำแหน่งสัมพันธ์ทอง (ศักดิ์สิทธิ์) ของโบราณ  ดีที่สุด (เสมือนหนึ่งมีพฤหัสเข้ามาร่วมอิทธิพลด้วย)  แม้ความแรงอาจน้อยกว่า มุม 90 องศา แต่น่าจะเพียงพอให้เกิดความประทับใจในการสมพงศ์ดวงชะตา

      5)   มุม   180 องศา   อาจมีข้อเสียบ้าง (เสมือนหนึ่งมีเสาร์เข้ามาร่วมอิทธิพลด้วย)  แต่มีกำลังแรงมาก อาจน้อยกว่าก็เพียงมุม 0 องศาเท่านั้น

 การใช้ดาวบาปเคราะห์เข้ามาร่วมพิจารณากับตำแหน่งสัมพันธ์นี้ อ้างอิงมาจากบทความของอาจารย์ประยูร พลอารีย์  ซึงท่านเคยเขียนไว้ว้า  ความดีร้ายของตำแหน่งสัมพันธ์นั้น เสมือนหนึ่ง นำดาวเคราะห์เข้าไปร่วมในความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้งสองด้วย  ถ้าจำไม่ผิด ท่านเขียนไว้ดังนี้   มุม 0 องศา คือ ดาวพุธ  ซึ่งเป็นกลาง  การกุมกันของดาวเคราะห์จึงเป็นการให้ผลเต็มทีั่่ ดีร้ายเกิดจากคุณสมบัติของดาวเคราะห์ทั้งสองล้วนๆ   มุม 60 องศา คือดาวศุกร์  ซึงให้ผลดีแม้จะ่ไม่มากเท่าพฤหัสก็ตาม  มุม 90องศา  คือดาวอังคาร ซึงมีส่วนให้ผลร้าย  มุม 120 องศา คือ ดาวพฤหัส  ซึ่งให้ผลดีมาก โบราณจึงถือว่าตำแหน่งสัมพันธ์ 120 องศา เป็นตำแหน่งสัมพันธ์ทอง (ศํกดิืสิทธิ์)  ส่วนมุม 180 องศา  คือ เสาร์   ซึ่งมีส่วนให้ผลร้าย

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับ คู่ดาว  อาทิตย์/จันทร์  และ อังคาร/ศุกร์ นี้ผมเชื่อว่าผลดีจากความหมายทางปรัชญาของ คู่ดาวมีมากกว่าความร้ายจากตำแหน่งสัมพันธ์มาก และผลรวมยังคงเป็นผลดีมากกว่าผลร้าย เช่นแม้ในโครงสร้างอังคาร/ศุกร์ที่ทำมุม 180 องศากัน  การผสมดาวจึงเสมือนหนึ่ง อังคาร+เสาร์+ศุกร์  ซึงเมื่อดูรูปดาวแล้วน่าจะเป็นโครงสร้างร้ายมาก  เพราะเสาร์/อังคาร ถือว่าเป็นศูนย์รังสีที่ร้ายที่สุดในบรรดาศูนย์รังสีร้ายๆทั้งหลายในยูเรเนี่ยน แต่จากบทความที่อ้างถึง  อาจารย์ประยูรท่านบอกว่าเสมือนหนึ่งมีบาปเคราะห์ดังกล่าวเข้าไปร่วมผสมอิทธิพลบ้างเท่านั้นไม่ได้รุนแรงเหมือนดาวบาปเคราะห์เข้าไปอยู่ในโครงสร้างจริงๆ  และปรัชญาการเติมเต็มซึ่งกันและกันระหว่างดาวอังคาร กับ ดาวศุกร์  น่าจะมีอิทธิพลแรงกว่าผลร้ายบางส่วนดังกล่าวมาก พอที่จะทำให้โครงสร้างนียังคงให้ผลดีในภาพรวมได้

หมายเหตุ:  สำหรับมุม 45 องศานั้น  ผมคิดว่าน่าจะมีกำลังแรงกว่ามุม 60 องศา อาจจะพอเพียงสำหรับการทำให้เกิดความประทับใจในความสัมพันธ์ได้บ้าง  แต่อาจมีข้อเสียเพราะแม้จะเป็นมุมเล็กแต่ก็เป็นมุมแข็ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ชาญชัย (chanchai-dot-d-at-chaiyo-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2013-06-16 18:03:39 IP : 115.87.160.233


1

ความคิดเห็นที่ 1 (4034356)
avatar
natee

     ดีงามมากๆเลยครับ    

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น natee ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2017-01-30 18:35:53 IP : 134.196.19.130



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.